svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

ชะตากรรม "ธาริต" ในคำตัดสินศาลฎีกา

14 ธันวาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของ อดีตอธิบดีดีเอสไอ ธาริต เพ็งดิษฐ์ จำเลยในคดีที่อดีตรองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ ฟ้องร้องฐานหมิ่นประมาท เหตุเกิดเมื่อปี 2556 สมัยเป็นอธิบดีดีเอสไอ 'ธาริต'แถลงข่าวการสอบสวนก่อสร้าง396โรงพัก ปล่อยทิ้งร้างเพราะการสั่งรวมสัญญา โดยสุเทพ รองนายกฯ กำกับดูแลสตช.

คดีนี้ 'ธาริต' ทำไมจะต้องกังวล ถึงกับต้องขอพึ่งบารมีเจ้านายเก่า คือ คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ช่วยเป็นคนกลางเจรจาขอขมา"สุเทพ" หรือแม้แต่ให้ทนายเปิดแถลงข่าวขอขมา การชิงเปิดเอกสารทำข้อตกลงยอมความกับสุเทพ เท่านั้นยังไม่พอ ได้ไปยื่นขอให้การใหม่ต่อศาลฎีกาในคำให้การขอรับสารภาพผิด เพื่อให้สอดคล้องกับการขอขมาลาโทษ สุเทพ และนำเงิน 1 แสนบาทไปวางศาลเพื่อชดใช้ความผิด


ความจริงแล้วคดีนี้ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้อง'ธาริต'มาแล้ว เท่ากับว่า 'ธาริต' เป็น ฝ่ายชนะคดี 2 ศาล 'ธาริต'ชิงเคลื่อนไหวก่อนที่ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษา วันที่ 14 ธันวาคม 'ธาริต'ล่วงรู้อะไรมากก่อนหรือไม่ หรือว่ารู้สึกสำนึกผิดขึ้นมาจริงๆ


วันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ธาริต บอกว่า มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากศาลฎีกา ไม่ส่งไปอ่านที่ศาลอาญาเหมือนคดีอื่นๆ ทั่วไป


ชะตากรรมธาริต จะลงเอยแบบไหน รอลุ้นคำพิพากษาศาลฎีกา วันนี้



ชะตากรรม "ธาริต" ในคำตัดสินศาลฎีกา


มาทำความรู้จัก 'ธาริต' กันให้มากขึ้น ธาริต เริ่มทำงานเป็นผู้ช่วยอาจารย์สอนกฎหมาย ได้พบกับ คณิต ณ นคร ในฐานะอาจารย์พิเศษ จึงแนะนำให้ธาริต ไปสอบอัยการ และธาริตก็สอบได้เป็นอัยการ


2540 ทักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ได้ระดมนักกฎหมายหลายคน เช่น คณิต ณ นคร เรวัติ ฉ่ำเฉลิม พงษ์เทพ เทพกาญจนา ร่วมก่อตั้งพรรค ใครจะรู้ใยจำนวนนั้นมี ธาริต รวมอยู่ด้วย หลังจากที่ไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้ง ธาริต ได้รับแต่งตั้งให้ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ทำงานกับ นพ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันยังเป็นเป็นคณะที่ปรึกษาของ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ อีกด้วย


ตามนัฐธรรมนูญใหม่ให้ตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) คือ เลขาธิการคนแรก และด้วยคนเนคชั่นพิเศษ ดีเอสไอ ซึ่งตั้งในยุค ทักษิณ และ ธาริต ได้โอนมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดี


ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เปลี่ยนตัวอธิบดีจาก พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง มาเป็น ธาริต และบทบาทสำคัญคือ มีการชุมนุมคนเสื้อแดงในปี 2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์ ตั้งธาริต เป็นคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ทำให้มีส่วนสำคัญในการดำเนินคดีทางการเมืองกับนปช. กลุ่มท่อน้ำเลี้ยงนปช. 83 ราย ซึ่งรวมถึง ทักษิณ ชินวัตร และคดีที่โด่งดังที่สุดคือ "ผังล้มเจ้า" หรือคดีเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นภัยของรัฐ โดยมุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ คดีล้มเจ้า


ครั้นเปลี่ยนรัฐบาล เป็นนายกฯ ที่ชื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คดีนปช.ในดีเอสไอ คดีล้มเจ้า กลับเก็บเงียบในกองสำนวนคดีดีเอสไอ ทั้งที่ตอนแรกขึงขังจริงจังเอาผิดให้ได้


กระทั่งเปลี่ยนจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยปี 2556 ธาริต รับคำร้องพรรคเพื่อไทยฟ้องให้ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยธาริต เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเพื่อเอาผิดต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


18 ธันวาคม 2556 ประกาศกรมสอบสวนฯ อ้างมติคณะกรรมการคดีพิเศษ รับกรณีสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก สลายการชุมนุมนปช. รวมถึงรับคดีก่อสร้างโรงพัก 396แห่ง เป็นคดีพิเศษ


ระหว่างการเมืองไทยกำลังวิกติ (25562557) เกิดการชุมนุม กปปส.ต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ฉบับลักหลับ ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตัวของ ธาริต ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในศูนย์รักษาความสงบเป็นที่ปรึกษาการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและผู้ช่วยเลขานุการ และเริ่มสอบท่อน้ำเลี้ยง กปปส. นั่นเป็นที่มาของฉายา "ธาริต เปลี่ยนสี" ซึ่งความจริง ธาริต ก็ทำแบบนี้กับทุกรัฐบาล


ยิ่งลักษณ์ ปูนบำเหน็จ ต่ออายุราชการให้ธาริต ส่วน ถวิล เปลี่ยนศรี โดนโยกเป็นที่ปรึกษานายกฯ เพราะไม่สนองรัฐบาล และให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิศรี มานั่งแทน เปิดทางเครือญาติชินวัตร เถลิงเก้าอี้ ผบ.ตร.


ส่วน'ธาริต'โดนเปิดโปงทั้งการทำงาน สนองการเมือง และการสร้างรีสอร์ทหรูเขาใหญ่ มีที่ดินลำตะคอง โดยให้นอมินีถือแทน


2557 หลังการยึดอำนาจ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ธาริต ยังได้รับความไว้วางใจ ให้นั่งในศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. ตรวจสอบ 136 ท่อน้ำเลี้ยง การชุมนุม กปปส. อย่างละเอียด


หลัง "กฎอัยการศึก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียกหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า มาประชุมกันพร้อมเพียง สปอร์ตไลท์จับไปที่ ธาริต มือไม้สำคัญของ "ศอ.รส." ทว่าอาการของ ธาริต กลับดูเงียบๆไป พร้อมกับข่าววงใน พล.อ.ประยุทธ์ สั่งให้ ธาริต หยุดการกระทำทุกอย่าง


ต่อมามีคำสั่งย้าย ธาริต ไปเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี 2558 ธาริตถูกป.ป.ช.สั่งอายัดทรัพย์ 90,260,687 บาท มีการแจ้งข้อกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติในเดือนพฤศจิกายน 2558 ทำให้โดนลงโทษไล่ออกจากราชการ เมื่อว 3 เมษายน 2560 ป.ป.ช.ชี้มูลควาทผิด ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ


นอกจากนั้น ธาริต ยังมีคดีความอีก 26 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดีอาญาฐาน หมิ่นประมาท และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

logoline