svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ที่ประชุมสุดยอดผู้นำสมาชิก EU อนุมัติปฏิญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างสหราชอาณาจักรและ EU

26 พฤศจิกายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ที่ประชุมสุดยอดผู้นำ 27 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ได้อนุมัติปฏิญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างสหราชอาณาจักรและ EU หลังจากที่สหราชอาณาจักรแยกตัวจาก EU อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มีนาคม 2019 ภายหลังจากที่ได้เจรจากันนานถึง 20 เดือน

ผู้นำ EU เตือนให้รัฐสภาอังกฤษผ่านข้อตกลง Brexit ขู่ไม่มีแผนสองหากได้รับการปฏิเสธ

ขณะที่เทเรซา เมย์ เดินหน้าเรียกร้องสภาชิกรัฐสภาอังกฤษสนับสนุนข้อตกลง Brexit ก่อนจะลงมติในวันที่ 17 ธันวาคมนี้ สื่ออังกฤษรายงานระบุว่า ผู้นำอังกฤษอาจต้องเดิมพันตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยการโน้มน้าวให้ ส.ส.หันมาสนับสนุนข้อตกลง Brexit ครี้งนี้


1. ที่ประชุมสุดยอดผู้นำ 27 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ได้อนุมัติปฏิญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างสหราชอาณาจักรและ EU หลังจากที่สหราชอาณาจักรแยกตัวจาก EU อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มีนาคม 2019 ภายหลังจากที่ได้เจรจากันนานถึง 20 เดือน ในที่สุดก็ได้ลงมติอนุมัติข้อตกลง Brexit ในการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันผู้นำจาก EU ได้กล่าวเตือนนักการเมืองของอังกฤษ ว่า จะไม่ได้รับข้อตกลงที่ดีกว่านี้ หากอังกฤษปฏิเสธข้อตกลงการแยกตัวออกตามที่ทาง EU ได้อนุมัติไปแล้ว เพราะทาง EU ไม่มีแผนสองไว้รองรับ

ฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กล่าวว่า EU ได้แสดงจุดยืนที่แข็งกร้าว โดยพุ่งเป้าหมายที่นักการเมืองอังกฤษ ซึ่งได้ขู่ที่จะปฏิเสธข้อตกลง Brexit ดังกล่าว

ฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ยังกล่าวว่า ใครที่คิดว่าการปฏิเสธข้อตกลง Brexit จะทำให้มีข้อตกลงที่ดีกว่า เพราะนี่เป็นข้อตกลงเดียวที่เป็นไปได้ โดยการที่อังกฤษตัดสินใจถอนตัวออกจาก EU นั้นเป็นช่วงเวลาอันน่าเศร้า โดยไม่คิดว่าอังกฤษจะกลายเป็นประเทศที่สามซึ่งไม่ใช่สมาชิก EU เหมือนกับประเทศที่สามประเทศอื่น ๆ



2. เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาสนับสนุนข้อตกลงว่าด้วยการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยได้กล่าวแถลงการณ์ต่อสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษย้ำหากรัฐสภาไม่อนุมัติข้อตกลง Brexit จะส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการแบ่งเป็นฝักฝ่าย และสร้างความไม่แน่นอนให้กับประเทศ รวมถึงความเสี่ยงในด้านอื่นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งที่ชาวอังกฤษต้องการให้เดินหน้าต่อไปพร้อมข้อตกลงที่เป็นไปตามความต้องการลงประชามติ

โดยเป็นที่คาดการณ์ว่า ผู้นำอังกฤษหวังที่จะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หลังจากที่ประชุม 27 ชาติของ EU ได้อนุมัติปฏิญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างสหราชอาณาจักรและ EU หลังจากที่การแยกตัวอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นในวันที่ 29 มีนาคมปีหน้า



3. ทั้งนี้ สื่ออังกฤษรายงานระบุว่า เทเรซา เมย์ เดิมพันตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยการโน้มน้าวให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหันมาสนับสนุนข้อตกลง Brexit ซึ่งจะมีการลงมติในวันที่ 17 ธันวาคม โดยเทเรซา เมย์ อาจต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรี หากไม่สามารถผ่านร่างข้อตกลง Brexit ได้

นอกจากนี้ อาจเกิดความเสี่ยงในด้านอื่นๆ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ชาวอังกฤษนั้นต้องกกฤศลงมติให้ารที่จะเดินหน้าต่อไป พร้อมกับข้อตกลงที่เป็นไปตามเจตนารมย์การลงประชามติ ซึ่งหากว่ารัฐสภาอังกฤษให้การรับรองในข้องตกลง Brexit แล้ว ก็จะมีระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านจนถึงเดือนธันวาคม 2020 จึงจะเป็นการแยกตัวตัวของอังกฤษออกจาก EU อย่างสมบูรณ์แบบ โดยที่ช่วงเวลาดังกล่าวนั้น อังกฤษยังคงมีสถานภาพเป็นสมาชิกของ EU เพียงแต่ไม่มีสิทธิ์ในการโหวตลงมติ




4. รัสเซียข่มขวัญกองทัพเรือยูเครน ขัดขวางไม่ให้เรือ 3 ลำแล่นเข้าทะเลอาซอฟโดยผ่านทางช่องแคบเคอร์ช เพื่อออกสู่ทะเลดำได้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลเคียฟระบุว่าเรือของมอสโกลำหนึ่งได้แล่นชนเรือของยูเครนได้รับความเสียหาย

ตามสนธิสัญญาทวิภาคีที่มีการลงนามกันไว้ อนุญาตให้รัสเซียและยูเครนต่างมีสิทธิใช้ทะเลอาซอฟ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างประเทศทั้งสอง และเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลดำได้ โดยผ่านช่องแคบเคอร์ชแห่งนี้ แต่ความตึงเครียดบริเวณทะเลอาซอฟได้เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่ที่รัสเซียเข้าผนวกไครเมียซึ่งอยู่ติดกับช่องแคบเคอร์ช โดยเป็นการยึดเอามาจากยูเครนเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซียเมื่อปี 2014

ทำให้ทางการมอสโกสามารถควบคุมการเข้าออกระหว่างทะเลอาซอฟและทะเลดำได้อย่างมั่นคง หลังจากได้ก่อสร้างสะพานคร่อมช่องแคบเคอร์ช เพื่อเชื่อมไครเมียกับพื้นที่ทางตอoใต้ของรัสเซีย
โดยกองทัพเรือยูเครนแถลงว่า เรือดอนของกองกำลังรักษาชายแดนของรัสเซียลำหนึ่ง ได้แล่นชนเรือลากจูงของยูเครน จนทำให้ทั้งเครื่องยนต์และด้านนอกของตัวเรือได้รับความเสียหาย เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่ารัสเซียใช้กำลังที่แข็งกร้าวและทำผิดกฎหมาย เนื่องจากเรือของยูเครนมีสิทธิทุกประการที่จะอยู่ในบริเวณนี้ ส่วนกระทรวงต่างประเทศยูเครนออกคำแถลงระบุว่า ต้องการให้ประชาคมระหว่างประเทศออกมาตอบโต้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้



5. ความตึงเครียดดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ขณะที่กองกำลังรักษาชายแดนของรัสเซียกล่าวหายูเครนไม่ได้แจ้งล่วงหน้าเกี่ยวกับการเดินทางของเรือทั้ง 3 ลำ รวมทั้งระบุว่า เรือของยูเครนเคลื่อนที่ไปโดยเพิกเฉยไม่รับฟังคำแนะนำของรัสเซียโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะก่อกวนให้เกิดความตึงเครียด

นอกจากนี้ บรรดานักการเมืองของรัสเซียได้ออกมาประณามทางการเคียฟ โดยกล่าวว่าเป็นความพยายามของประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก ของยูเครน ที่จะเพิ่มคะแนนนิยมก่อนการเลือกตั้งของยูเครนในปีหน้า


logoline