svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ส่งออกไทย ต.ค.61 โต 8.7%

21 พฤศจิกายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2561 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 หรือคิดเป็นมูลค่า 21,758 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกขยายตัวเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย และCLMV ที่ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ตลาดสหรัฐฯ และจีนที่กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวเล็กน้อยในเดือนก่อนหน้า

 การส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 โดยสินค้าเกษตรสำคัญขยายตัวเกือบทุกรายการ สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ น้ำตาล ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่สด แช่แข็งและแปรรูปและผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป การส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.8 สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันทองคำ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) และเครื่องโทรสารโทรศัพท์ และส่วนประกอบ  ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์คาดว่าการส่งออกในปี 2561 จะยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 8ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยได้เตรียมกลยุทธ์และแนวทางการส่งเสริมการส่งออกการค้าและการลงทุนของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2561 และปี 2562 อีกทั้งยังเชื่อมั่นว่าสินค้าส่งออกของไทยที่มีความหลากหลายและความสามารถทางการแข่งขันในระดับสูง จะเป็นโอกาสในการเร่งผลักดันการส่งออกและสนับสนุนให้การส่งออกไทยมีความยืดหยุ่นและรับมือความผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกได้ดีขึ้นรวมทั้งผลักดันให้การส่งออกไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมาย สร้างความเข้มแข็งและรายได้ไปจนถึงเศรษฐกิจฐานราก




มูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท เดือนตุลาคม 2561 การส่งออกมีมูลค่า 702,057 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน(YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 720,678 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.4 ส่งผลให้การค้าขาดดุล18,621 ล้านบาท รวม 10 เดือนของปี 2561การส่งออกมีมูลค่า 6,759,577 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ1.51) การนำเข้ามีมูลค่า 6,769,008  ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8)และการค้าขาดดุล 9,431 ล้านบาท




มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนตุลาคม 2561 การส่งออกมีมูลค่า 21,758 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน(YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 22,038 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.2 ส่งผลให้การค้าขาดดุล 280ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวม 10 เดือนของปี2561 การส่งออกมีมูลค่า 211,488 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2)การนำเข้ามีมูลค่า 208,929 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8) และการค้าเกินดุล 2,559 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ12.2 (YoY)โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดีได้แก่ น้ำตาลทราย ขยายตัวที่ร้อยละ 77.8 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์มาเลเซีย เกาหลีใต้ และจีน ) ข้าว ขยายตัวทั้งด้านราคาและปริมาณที่ร้อยละ 28.2 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯแอฟริกาใต้ กานา มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวด้านราคาเป็นหลักขยายตัวร้อยละ 18.5 (ขยายตัวในตลาดจีนญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน มาเลเซีย และสหรัฐฯ) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ15.6 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์เกาหลีใต้ และสิงค์โปร์) ผัก ผลไม้สด แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 10.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง และแคนาดา) สินค้าเกษตรสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัวต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและราคาหดตัวร้อยละ 19.1 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯเกาหลีใต้ และอินเดีย) ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี2561 กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวร้อยละ4.3




การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ6.8  (YoY) โดยสินค้าสำคัญที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวเกือบทุกตลาด ขยายตัวร้อยละ29.1 (ขยายตัวในตลาดจีน เวียดนามสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) ทองคำ ขยายตัวร้อยละ 240.8 (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา สิงคโปร์เกาหลีใต้ และฮ่องกง) อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ ขยายตัวร้อยละ 21.1 (ขยายตัวในตลาดกัมพูชาสิงคโปร์ สหรัฐฯสวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนี) เครื่องโทรสารโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวดีเกือบทุกตลาดขยายตัวร้อยละ 33.7 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ ฮ่องกงอินเดีย และเม็กซิโก) สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ หดตัวเกือบทุกตลาดร้อยละ 8.9 (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโกแต่ยังขยายตัวในตลาดเวียดนาม และญี่ปุ่น) เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวที่ร้อยละ 4.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง และมาเลเซียแต่ยังขยายตัวในตลาดเนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) แผงวงจรไฟฟ้าหดตัวร้อยละ 8.8 (หดตัวในตลาดฮ่องกงจีน เยอรมนี และไต้หวัน แต่ยังขยายตัวได้ดีในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 40.2 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ และมาเลเซียแต่ยังขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม และเกาหลีใต้) ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2561 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมยังขยายตัวร้อยละ 7.9

ตลาดส่งออกสำคัญ                                        
การส่งออกไปตลาดสำคัญๆส่วนมากปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกไปยังตลาดหลักขยายตัวร้อยละ 7.1ซึ่งการส่งออกไปญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยขยายตัวร้อยละ  18.7 และ 7.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกไปสหภาพยุโรปหดตัวจากปัจจัยชั่วคราวที่ร้อยละ4.1 ขณะที่การส่งออกไปตลาดศักยภาพสูงขยายตัวในอัตราสูงที่ร้อยละ 13.2 ซึ่งตลาดส่วนใหญ่ขยายตัวในระดับ2 หลัก โดยเฉพาะการส่งออกอินเดีย CLMV และอาเซียน 5ขยายตัวร้อยละ 12.0 18.2 และ 24.4 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปจีนกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ3.0 ด้านตลาดศักยภาพระดับรองหดตัวที่ร้อยละ 3.7 เนื่องจากการส่งออกไปทวีปออสเตรเลียลาตินอเมริกา ตะวันออกกลางและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 2.06.0 7.4 และ 38.8 ตามลำดับ นอกจากนี้การส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวสูงในเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงผลกระทบทางลบของราคาทองคำได้หมดไปแล้ว




ตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 7.2 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องนุ่งห่มและอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสินค้าที่สหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าจากทุกประเทศ อย่าง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.2




ตลาดสหภาพยุโรป (15) หดตัวร้อยละ 4.1เนื่องจากปัจจัยชั่วคราวตามการหดตัวของสินค้าอากาศยาน ซึ่งในปีก่อนหน้ามีฐานสูงอย่างไรก็ตามสินค้าสำคัญอื่นๆ ยังขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ คอมพิวเตอร์และไก่แปรรูป ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 6.6




ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 18.7 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ โทรศัพท์และอุปกรณ์ฯซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับที่ 1 ไปตลาดญี่ปุ่นในเดือนนี้ รวมทั้ง เม็ดพลาสติกรถยนต์และส่วนประกอบ โทรทัศน์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลฯ เป็นต้น ขณะที่10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 15.2

ตลาดจีน กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.0หลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์เม็ดพลาสติก ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันที่ยังขยายตัวในระดับสูงรวมทั้งการขยายตัวของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ข้าว และผลไม้สดแช่แข็งและแห้งฯ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.8




ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 18.2 เป็นการขยายตัวในระดับ2 หลัก ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ(โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดเวียดนามขยายตัวสูงถึงร้อยละ 173)น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก และ เครื่องจักรกลฯ เป็นต้น ขณะที่10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 19.3




ตลาดอาเซียน-5 ขยายตัวร้อยละ 24.4 สินค้าสำคัญที่ขยายตัวโดยเฉพาะการส่งออกไปสิงคโปร์ขยายตัวสูงถึง 72.8โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวสูงในตลาดอาเซียน-5 ได้แก่ น้ำตาลทราย (+ร้อยละ 643) น้ำมันสำเร็จรูป(+ร้อยละ 50)  อัญมณีและเครื่องประดับ (+ร้อยละ339) และ ข้าว (+ร้อยละ 159)  เป็นต้น ขณะที่10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 15.5


ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 17.1 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องเทศและสมุนไพร (+ร้อยละ 1,124)เคมีภัณฑ์ปูนซีเมนต์ โทรศัพท์และอุปกรณ์ฯ และ น้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น ขณะที่ 10เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 17.6 


ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 38.8 เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยสินค้าสำคัญที่หดตัวได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลฯ  อัญมณีและเครื่องประดับผลิตภัณฑ์ยาง และเม็ดพลาสติก ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ11.4


ตลาดลาตินอเมริกา หดตัวร้อยละ 6.0 โดยเฉพาะการส่งออกไปอาร์เจนตินาที่หดตัวร้อยละ 22.9จากผลกระทบของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการอ่อนค่าอย่างรุนแรงของอัตราแลกเปลี่ยนโดยสินค้าที่หดตัวในตลาดลาตินอเมริกา ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปและเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ และแผงวงจรไฟฟ้าขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.0


ตลาดทวีปออสเตรเลียหดตัวร้อยละ 2.0สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศฯ และผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ และ น้ำมันสำเร็จรูป ขณะที่10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.5


ตลาดตะวันออกกลาง15 หดตัวร้อยละ 7.4สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ และโทรศัพท์และอุปกรณ์ฯ ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ขณะที่10 เดือนแรกของปี 2561 หดตัวร้อยละ 2.6


แนวโน้มการส่งออกปี2561
กระทรวงพาณิชย์คาดว่าการส่งออกในปี 2561จะยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 8 ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญที่ยังเติบโตต่อเนื่องในไตรมาส3/2561 อาทิ สหรัฐฯ ที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวแข็งแกร่งจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงานเป็นผลดีต่อการส่งออกไทยในกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคและการเติบโตของภาคธุรกิจที่ยังได้รับอานิสงฆ์จากมาตรการลดภาษีสหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น เศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่ามีแนวโน้มชะลอลงบ้างจากปัจจัยภายในประเทศ ตลาดอาเซียนที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงและเป็นอีกหนึ่งตลาดศักยภาพที่มีบทบาทสูงต่อภาพรวมการส่งออกไทยในระยะหลังเศรษฐกิจและการค้าโลกเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวในปี2562 อาจส่งผลต่อการส่งออกไทยในระยะข้างหน้าผู้ประกอบการและนักลงทุนยังอยู่ในระยะปรับตัวต่อความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโดยมีสัญญาณการชะลอตัวของการลงทุน สะท้อนจากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(ManufacturingPurchasing Managers Indices) ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศเกิดใหม่ นอกจากนี้ การตอบโต้ทางการค้าของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลงจะส่งผลบวกต่อสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันน้อยกว่าระยะที่ผ่านมา




อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์พร้อมผลักดันการส่งออกในช่วงเวลาที่เหลือของปี2561 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขยายตัวของการส่งออกในประเทศกลุ่มอาเซียนและ CLMV มากขึ้นและอาจทดแทนการส่งออกที่หดตัวลงในภูมิภาคอื่นๆได้ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการขยายความร่วมมือทางการค้าในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องและพยายามเพิ่มบทบาททางการค้าของประเทศไทยในฐานะที่ประเทศไทยที่จะได้รับเกียรติเป็นประธานอาเซียนในปี2562 เพื่อรองรับการเติบโตในภูมิภาคต่อไปพร้อมทั้งเตรียมรับมือผลกระทบจากสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบันเพื่อให้การส่งออกของไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่องต่อไปในปี 2562

logoline