svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"เน้นไอเดีย - อีคอมเมิร์ซ" ทางรอดอุตสาหกรรมเซรามิกไทย

23 ตุลาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์อุตสาหกรรมเซรามิกไทยเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น หลังจากผู้ประกอบการปรับตัวเข้าสู่ระบบอีคอมเมอร์ซ และสร้างสรรค์ชิ้นงานให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างแบรนด์ให้มีเรื่องราว


ชามตราไก่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางและเป็นต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยในเวลาต่อมา ที่นี่คือโรงงานชามตราไก่แห่งแรกของไทย  ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบริษัท ธนบดีเดคอร์เซรามิค จำกัด ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิครายใหญ่ที่สุดในจังหวัดลำปาง และยังเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าความเป็นมาของตระกูลธนบดี ตอกย้ำความแข็งแกร่งของแบรนด์ชามตราไก่เจ้าแรก ตลอดเวลาที่ผ่านมาสิ่งที่ทำให้ธุรกิจยังอยู่รอดและเติบโตคือการปรับตัว "กฤษฎิ์ฐิตา ประทิศ" เป็นหัวหน้าแผนกตลาดในประเทศ บอกว่าทุกวันนี้ธุรกิจเซรามิค พึ่งพารายได้จากการส่งออกเป็นหลักถึง 70% ในประเทศโซนตะวันตก ส่วนอีก 30% เป็นการจำหน่ายภายในประเทศ ซึ่งการขายปลีกผ่านระบบอีคอมเมอร์ซ ผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ของบริษัทธนาบดีมีแนวโม้นการขยายตัวดีมาก โดยภาพรวมรายได้ของบริษัทอยู่ 5 ล้านบาทต่อเดือน ปัจจุบันจังหวัดลำปางมีโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผา 200-300 โรง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก หรืออุตสาหกรรมครัวเรือน ส่วนโรงงานขนาดใหญ่มีเพียง 20 กว่าโรงเท่านั้น "อุดมสิน หาญเมธี" เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการ โรงงานเซรามิกขนาดเล็กภายใต้แบรนด์เคลช็อป เขายอมรับว่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเซรามิกไทยอยู่ในช่วงขาลงเพราะสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาขายตัดราคา จึงต้องปรับตัวด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานเซรามิกใหม่ๆ เช่นของตกแต่งบ้านรูปร่างแปลกตา เครื่องประดับสวยงาม หรือแม้แต่ลวดรายเซรามิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมกับทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รายงานว่า สถานการณ์ การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศช่วงไตรมาส 3 ของปี 2561 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจไทย ประกอบกับการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน เป็นต้น

logoline