svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จับตา 3 ธนาคารกลางซีกโลกตะวันตกประชุมวันพุธนี้ ปรับขึ้นดอกเบี้ยที่พลิกจากอัตราติดลบเป็นบวก

23 ตุลาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จับตา 3 ธนาคารกลางซีกโลกตะวันตกประชุมวันพุธนี้ปรับขึ้นดอกเบี้ยที่พลิกจากอัตราติดลบเป็นบวก ขานรับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น ท่ามกลางวิกฤติการเงินอิตาลีกลับมาปะทุเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่อีก ที่ส้งผลกระทบเศรษฐกิจในกลุ่ม EU อ่อนแอลง


ขณะที่อิตาลีถูกกดดันในนโยบายรัดเข็มขัดทางด้านการคลัง พร้อมหารือกับ EU ที่แสดงความไม่พอใจตัวเลขขาดดุลงบประมาณปี 2019
ทางด้านจีนอาจมีการลดภาษีในสัดส่วน 1% ของ GDP ในปี 2019 ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหว หลังจากที่จีนได้เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ขณะที่สี จิ้นผิง ให้คำมั่นว่า รัฐบาลจีนจะให้การสนับสนุนภาคเอกชนอย่างจริงจัง



1. ตลาดการเงินทั่วโลกจับตามองการประชุมของ 3 ธนาคารกลางทางซีกโลกตะวันตก คือ ธนาคารกลางแตนาดา ธนาคารกลางสวีเดน หรือ Riksbank Of Sweden และธนาคารนอรเวย์ ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0;25% เพื่อเป็นการบ่งชี้ทิศทางดอกเบี้ยโลกที่จะก้าวเข้าสู่ภาวะที่เป็นปกติ หรือ Normalization ตามแบบอย่างของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ดำเนินมาก่อนหน้านี้แล้ว

โดยเฉพาะ Riksbank ของสวีเดนที่ดำเนินนโยบายดอกเบี้ยติดลบมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา นับจากเกิดวิกฤติการเงินสหรัฐและวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป จะกลับมาใช้นโยบายดอกเบี้ยเป็นบวก เนื่องจากเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นถึง 0.5% ในเดือนกันยายน ที่ส่งผลให้ทิศทางเงินเฟ้แของสวีเดนในปีนี้อาจจะทะลุถึง 2.3% ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ที่ 2.2% และสูงกว่าอัตราเป้าหมายของธนาคารกลางสวีเดนที่ 2.0%



2. ขณะที่วิกฤติการเงินอิตาลีก็ถูกจับตามองมากขึ้น หลังจากที่มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ ออกลดระดับความน่าเชื่อถือของบอนด์อิตาลีอยู่เหนือระดับ Junk Bonds เพียง 1 ขั้น (notch) เท่านั้น นอกจากนี้อิตาลียังถูกกดดันในเรื่องการจัดทำงบประมาณปีหน้า ที่ถูกกำหนดให้ต้องมีวินัยทางการคลังมากขึ้น

โดยที่รองนายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวว่า รัฐบาลอิตาลีมีความพร้อมที่จะหารือกับสหภาพยุโรป (EU) และไม่มีแผนที่จะถอนตัวจาก EU อย่างใด ในขณะที่ EU เรียกร้องให้อิตาลีชี้แจงเรื่องการตั้งงบประมาณขาดดุล 2.4% ของ GDP ในปีหน้า จากเดิมที่ 1.8% เนื่องจากขัดต่อกฎหมายทางการเงินของ EU



3. ทั้งนี้ อิตาลีได้เปิดเผยแผนการเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายภาคสาธารณะที่สูงขึ้นมากนั้น จะไม่สั่นคลอนเสถียรภาพด้านการเงินของ EU โดยที่รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของอิตาลี ชี้ว่า งบประมาณดังกล่าวเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจอิตาลี หลังจากที่ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงันมาเป็นเวลานาน โดยที่รัฐบาลอิตาลีได้พิจารณาเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจและสังคมในมหภาคแล้ว

อย่างไรก็ตาม อิตาลีอาจจะมีการปรับเปลี่ยนแผนการณ์นี้ หากว่าเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเดินหน้าสู่เป้าหมายที่กำหนดอย่างเคร่งครัด



4. สำหรับการเลื่อนไหวของตลาดหุ้นโตเกียวในวันนี้ Nikkei 225 ปิดดิ่งลง 604 จุดหรือ 2.67% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน โดยได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับกฤติการเงินในอิตาลี รวมทั้งความผันผวนของตลาดหุ้นจีน

หลังจากที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต พุ่งขึ้น 104 จุด หรือ 4.09% ปิดที่ 2,654 ในวันจันทร์ รวมทั้งดัชนีหั่งเส็ง ฮ่องกง พุ่งขึ้น 591 จุด ขานรับการที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประกาศหนุนภาคเอกชนให้ผ่อนคลายความกังวลต่อการที่เศรษฐกิจขีนมีการเติบโตอย่างเชื่องช้าในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ท่ามกลางผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้ากับสหรัฐ

ทั้งนี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ย้ำว่า ภาคเอกชนมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ นวัตกรรม การจ้างงาน และการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีน พร้อมกับให้คำมั่นว่า รัฐบาลจีนจะให้การสนับสนุนภาคเอกชนอย่างจริงจัง



5. จีนอาจมีการลดภาษีในสัดส่วน 1% ของ GDP ในปี 2019 ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหว หลังจากที่จีนได้เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ในไตรมาส 3 สู่ระดับ 6.5% ซึ่งชะลอตัวลงจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัว 6.7% และยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ 6.6% จากผลกระทบของสงครามการค้ากับสหรัฐที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

ขณะที่บรรยากาศซื้อขายหุ้นของจีนในวันอังคารมีการพักฐานลดลง หลังจากที่ปรับตัวขึ้นรงในวันจันทร์ถึง 4.09% โดยที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ปิดวันนี้ที่ 2,594 ลดลง 60.05 จุด หรือ 2.26%

logoline