svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

ลดโศกนาฏกรรม.....เลี้ยง "สุนัข" อย่างไรให้ไม่ไปกัดคนอื่น

19 กันยายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เรื่องสุดเศร้าเมื่อเร็วๆนี้ คงหนีไม่พ้น เด็กน้อยวัย 4 ขวบ ที่ถูกสุนัข 3 ตัวรุมกัดจนเสียชีวิต ขณะที่เด็กกำลังปั่นจักรยานอยู่ แม้เจ้าของสุนัขจะออกมาะพร้อมที่จะรับผิดชอบช่วยเหลือทุกอย่าง กระนั้นก็ไม่สามารถเอาชีวิตของน้องที่เสียชีวิตกลับคืนมาได้ จึงขอหยิบยกบทความจากเวปไซด์เกี่ยวกับการเลี้ยงสุนัข dogilike.com ของประเด็กการเลี้ยงสุนัขไม่ให้ดุร้าย

ไม่ว่าสุนัขสายพันธุ์ไหนก็ "ดุ" ได้ถ้าเลี้ยงผิดวิธี

ไม่ว่าจะเป็นหมาไทย หรือหมาเทศ ตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก หูตั้ง หรือหูตูบ ก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นสุนัขที่จะดุได้ ไม่จำเป็นเลยที่สุนัขดุ จะต้องเป็นสุนัขตัวใหญ่หน้าโหดเท่านั้น ... เพราะส่วนใหญ่แล้วพฤติกรรมดุร้าย ก้าวร้าว ของสุนัข มักจะเกิดมาจากลักษณะการเลี้ยงดูของผู้เลี้ยง ที่มีความเข้าใจผิดๆ ในการเลี้ยงสุนัข


ลดโศกนาฏกรรม.....เลี้ยง "สุนัข" อย่างไรให้ไม่ไปกัดคนอื่น




อย่างในผู้เลี้ยงสุนัขตัวใหญ่สายพันธุ์ดุหลายคน มักจะคิดว่าสุนัขของตัวเองไม่เหมาะกับการพาออกไปเข้าสังคม เนื่องจากยากต่อการควบคุม กลัวจะเกิดอันตรายต่อคนอื่น ดังนั้นจึงเลือกที่จะขัง หรือกักบริเวณสุนัขเอาไว้เพื่อความปลอดภัยและไม่ต้องเสี่ยงต่อการรับผิดชอบต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้น แต่แท้จริงแล้ว พฤติกรรมการเลี้ยงสุนัขแบบนี้เป็นสิ่งที่ส่งผลให้สุนัขมีนิสัยดุและก้าวร้าว เนื่องจาก สุนัขนั้นเป็นสัตว์สังคม การที่สุนัขไม่ได้พบปะผู้คน หรือสุนัขตัวอื่นๆ บวกกับการที่ถูกกักขัง หรือล่ามไว้ตลอดเวลา จะทำให้สุนัขเกิดความระแวงต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความกดดัน ทำให้สุนัขเกิดความเครียด เมื่อได้รับอิสระสุนัขอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวและดุร้ายได้



นอกจากนี้ การเลี้ยงสุนัขโดยไม่ให้เขารู้จักเข้าสังคม ยังทำให้สุนัขขาดการเรียนรู้และการใช้สัญชาตญาณต่างๆ เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันสุนัขตัวอื่นๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆ ที่อยู่ในครอบครัว (หรือบริเวณใกล้บ้าน) สุนัขอาจจะไม่สามารถแยกได้ว่าใครเป็นมิตรหรือศัตรู ... ด้วยเหตุผลเหล่านี้ การเข้าสังคมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสุนัข ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนก็ตาม หรือในกรณีที่ผู้เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์เล็ก ที่ชอบเลี้ยงสุนัขของตัวเองเหมือนเลี้ยงเด็กตัวเล็กๆ ชอบโอ๋ ชอบตามใจ เวลาสุนัขเห่า ส่งเสียงดังโวยวาย หรือมีท่าทีที่จะทำร้ายคนแปลกหน้า ก็มักจะไม่ดุหรือห้าม เพราะคิดว่าเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก คงไม่สามารถทำอันตรายต่อใครได้ .... การปล่อยให้สุนัขมีนิสัยแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยที่ผู้เลี้ยงไม่ดุ ไม่เตือน ไม่หาวิธีควบคุมจะเป็นการที่ทำให้สุนัขเคยตัว และคิดว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้อง ซึ่งในระยะยาวก็จะส่งผลให้เขากลายเป็นสุนัขตัวเล็กๆ ที่มีนิสัยความก้าวร้าวได้


ลดโศกนาฏกรรม.....เลี้ยง "สุนัข" อย่างไรให้ไม่ไปกัดคนอื่น



ผู้เลี้ยงที่ดีต้องรู้จักสุนัขของตัวเอง และใช้จิตวิทยาในการเลี้ยงสุนัข
การเล่นกับสุนัขด้วยวิธีการผิดๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สุนัขมีนิสัยก้าวร้าวได้ โดยที่ผู้เลี้ยงเองอาจไม่รู้ตัว เช่น ผู้เลี้ยงบางคนชอบแกล้งยั่วยุสุนัขให้โกรธ ด้วยการเขย่าหัวแรงๆ , ล่อให้สุนัขกัดสิ่งของต่างๆ หรือยั่วยุให้โกรธด้วยท่าทาง ใช้มือล่อให้สุนัขกัด ฯ การเล่นในลักษณะนี้จะเป็นการกระตุ้นให้สุนัขใช้ความรุนแรง โดยขาดการควบคุม และถ้าหากผู้เลี้ยงเล่นกับสุนัขด้วยวิธีการในลักษณะนี้เป็นประจำ สุนัขก็จะมีนิสัยที่ก้าวร้ายรุนแรงติดตัวไป และยิ่งปล่อยไว้นานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งยากต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม


สำหรับหลักจิตวิทยาง่ายๆ ที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาพลังงานอันล้นเหลือของสุนัขได้นั้น ผู้เลี้ยงอาจใช้วิธีชวนสุนัขทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการออกกำลังกาย เช่น เล่นโยนรับลูกบอล , เล่นซ่อนหาของ หรืออาจพาสุนัขไปวิ่งทุกเย็น ฯลฯ การให้สุนัขทำกิจกรรมเหล่านี้เป็นประจำจะช่วยให้สุนัขสามารถควบคุมพลังงานของตัวเองได้ดีขึ้น

หรือในกรณีที่สุนัขไม่ได้มีพลังงานมากมายนัก แต่บังเอิญว่าในบ้านของผู้เลี้ยงไม่มีใครทำหน้าที่เป็น "จ่าฝูง" (อาจจะเลี้ยงสุนัขตัวเดียว และผู้เลี้ยงตามใจไม่ควบคุม ห้าม ดุ หรือฝึกเพื่อให้อยู่ภายใต้คำสั่ง) สุนัขเลยวางตำแหน่งของตัวเองให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุดของบ้าน นั่นคือการเป็นจ่าฝูง ทำให้สุนัขรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้นำ ไม่ฟังคำสั่งใคร และยังแสดงอำนาจข่มสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว


ลดโศกนาฏกรรม.....เลี้ยง "สุนัข" อย่างไรให้ไม่ไปกัดคนอื่น


ปัจจัยที่สำคัญที่จะมีผลต่อสุนัขของเราว่าจะดุหรือไม่ดุนั้น จริงๆ แล้วอยู่ที่การเลี้ยงดูและพฤติกรรมของผู้เลี้ยงเองเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องของสายพันธุ์นั้นถึงแม้จะมีผลบ้าง แต่ก็ไม่สำคัญเท่ากับเรื่องของวิธีการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง ... เพราะถ้าหากเรารู้จักวิธีการเลี้ยงสุนัขที่ถูกต้องแล้ว ไม่ว่าเราจะเลี้ยงสุนัขที่ขึ้นชื่อว่าดุแค่ไหน เราก็สามารถปรับและควบคุมเขาให้เป็นสุนัขที่เป็นมิตรและปลอดภัยต่อคนรอบข้างได้


บทความโดยwww.dogilike.com

logoline