svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

กระทรวง พม. จัดทำแผนแม่บทความมั่นคง ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ระยะ 20 ปี

16 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหน่วยงานหลักในการบูรณาการจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2561 2580 ครั้งที่ 3 โดยมี นางสาวอุษณี กังวารจิตต์ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม

     
การประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 ซึ่งเป็นการจัดทำการทบทวนปัญหาการค้ามนุษย์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อนำมาประกอบการจัดทำแนวทางการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยแบ่งเป็นระยะ 5 ปี 10 ปี และ 20 ปี สำหรับการประชุมครั้งที่ 3 นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน จำนวนประมาณ ๖๐ คน กว่า ๒๕ หน่วยงาน ได้นำผลแนวทางการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์จากการประชุมครั้งก่อน มาหารือเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ รวมทั้งจัดทำ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) แผนงาน/โครงการ งบประมาณ และหน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อประกอบการจัดทำแผนแม่บทความมั่นคง ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2561 2580 ระยะ 20 ปี เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง: นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2561 2580 และสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี โดยมีกำหนดจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการฯ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2561 และนำเสนอคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงต่อไป     

กระทรวง พม. จัดทำแผนแม่บทความมั่นคง ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ระยะ 20 ปี

กระทรวง พม. จัดทำแผนแม่บทความมั่นคง ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ระยะ 20 ปี

โดยสรุป การประชุมในวันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการปราบปรามและดำเนินคดี 2) ด้านการป้องกัน 3) ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และ 4) ด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ เมื่อจัดทำแผนแม่บทฯ และแผนปฏิบัติการฯ แล้วเสร็จ จะถูกนำไปใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และใช้เป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณ ประจำปี 2563 และปีต่อ ๆ ไปด้วย


     

ไทย-เมียนมาร์ ประชุมทบทวนบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์ ครั้งที่ 2     

กระทรวง พม. จัดทำแผนแม่บทความมั่นคง ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ระยะ 20 ปี

กระทรวง พม. จัดทำแผนแม่บทความมั่นคง ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ระยะ 20 ปี

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมตำรวจสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์  กระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดประชุมทวิภาคีไทย เมียนมาร์ เพื่อทบทวนบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาว่าด้วยความร่วมมือ ในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ครั้งที่ 2  (9 ส.ค.61) นางสาวอุษณี กังวารจิตต์ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และพลตำรวจจัตวา Myint Htoo (หมินท์ ฮทู) ผู้กำกับกองต่อต้านการค้ามนุษย์ กรมตำรวจสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะจากรัฐบาลทั้งสองประเทศ หลังร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับแรกเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2552 โดยภายหลังสถานการณ์การค้ามนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงไปทั้งสองประเทศจึงเห็นพ้องให้ทบทวนบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว ให้สอดรับกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในปัจจุบัน โดยมีการจัดประชุมเพื่อทบทวนบันทึกความเข้าใจฯ มาแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ณ จังหวัดเชียงราย  มีข้อสรุปในประเด็นเรื่องการกำหนดขอบเขตของร่างบันทึกความเข้าใจฯ คำนิยามคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานการต่อต้านการค้ามนุษย์ ด้านการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ความร่วมมือในการปราบปรามการค้ามนุษย์ การส่งกลับ การคืนสู่สังคม การปฏิบัติการร่วม การรักษาความลับของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และข้อตกลงท้ายบันทึกความเข้าใจฯ เรียบร้อยแล้วสำหรับการเจรจาบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับที่ 2 นี้ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของทั้งสองประเทศที่จะให้มีกลไกความร่วมมือกันในการป้องกัน ปราบปราม และขจัดการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป และหากการเจรจาในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงทั้งสองประเทศจะได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ร่วมกัน ซึ่งถือเป็นการยืนยันว่าทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันอย่างแข็งขันเพื่อเอาชนะปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดไป ทั้งนี้ สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ แบ่งออกเป็น 5 ด้านหลัก คือ ด้านการป้องกัน การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ความร่วมมือในการปราบปรามการค้ามนุษย์ การส่งกลับ และการคืนสู่สังคม ปัญหาการค้ามนุษย์ ไม่สามารถแก้ไขได้เพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง ประเทศไทยและประเทศเมียนมาเล็งเห็นความสำคัญของการมีความร่วมมือร่วมกันในการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อช่วยให้การดำเนินงานด้านการป้องกัน การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ การปราบปรามการค้ามนุษย์  และการส่งกลับและกาคืนสู่สังคม มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนของทั้งสองประเทศ


logoline