svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เผยสถิติปี 60 ส่งผู้ป่วยตั้งครรภ์ฉุกเฉินกว่า 8 พันราย

15 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สพฉ. เผยปี 2560 นำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินจากการตั้งครรภ์กว่า 8 พันราย ส่วนใหญ่จะมีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด พบนราธิวาสครองแชมป์ พร้อมแนะนำวิธีปฐมพยาบาล หากมีภาวะตกเลือด รีบโทรแจ้ง 1669 ระหว่างรอต้องให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ให้ศีรษะต่ำกว่าโดยยกปลายเท้าให้สูงเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองและป้องกันอาการช็อก

นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  (สพฉ.) กล่าวว่า   จากสถิติตลอดทั้งปี 2560  พบว่ามีการนำส่งผู้ป่วยเพศหญิงอายุระหว่าง 30-50 ปี  ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินจากการตั้งครรภ์ การคลอดและนรีเวช   8,410  คน คิดเป็นร้อยละ 0.53 จากผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งหมด  โดยจังหวัดที่มีผู้ป่วยฉุกเฉินมาก 5 อันดับแรก คือ  นราธิวาส 478  ราย,  สงขลา 471  ราย, อุบลราชธานี  338 ราย, ขอนแก่น 328  ราย และปัตตานี  289 ราย

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เผยสถิติปี 60 ส่งผู้ป่วยตั้งครรภ์ฉุกเฉินกว่า 8 พันราย


รองเลขาธิการสพฉ. กล่าวอีกว่า สำหรับอาการฉุกเฉินระหว่างการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุและจะมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไป อาทิ การตั้งครรภ์นอกมดลูก   ภาวะตกเลือด  และภาวะเลือดออกในช่องท้องจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งอาจทำให้แม่เสียเลือดมาก ถือเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ โดยอาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูกสามารถสังเกตได้ดังนี้ จะปวดท้องข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมาโดยฉับพลัน มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดคลำเจอก้อนที่ท้องและมีอาการอ่อนเพลียหรือหน้ามืดในขณะที่ลุกขึ้น

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เผยสถิติปี 60 ส่งผู้ป่วยตั้งครรภ์ฉุกเฉินกว่า 8 พันราย

"การตกเลือดหรืออาจเรียกว่า เลือดตกใน คือจะมีเลือดออกจากเส้นเลือดภายในร่างกาย แต่ไม่ไหลออกมาภายนอกให้เห็นชัดเจน ซึ่งสาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่นการฉีกขาดของอวัยวะและเส้นเลือดภายใน  หรือความดันในเส้นเลือดสูง ความดันเลือดในร่างกายสูงกว่าปกติอาจทำให้เส้นเลือดบางแห่งแตก  จะมีอาการ คือ ซึม ซีด   เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาและเร็ว หายใจเร็ว" นพ.ไพโรจน์กล่าว   

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เผยสถิติปี 60 ส่งผู้ป่วยตั้งครรภ์ฉุกเฉินกว่า 8 พันราย

       นพ.ไพโรจน์ กล่าวด้วยว่า ระดับความเสี่ยงของแม่ขึ้นอยู่กับอายุและการดูแลร่างกายของแม่ซึ่งตามปกติแม่ที่เริ่มมีอายุมากขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงต่อโรคฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะแม่ที่ตั้งครรภ์และมีอายุมาก ยิ่งต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษเพราะจะยิ่งมีความเสี่ยง ส่วนการปฐมพยาบาลผู้ที่มีภาวะตกเลือดจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ต้องรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด  และระหว่างนั้นต้องให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ   ให้ศีรษะต่ำกว่า  โดยยกปลายเท้าให้สูงเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองและป้องกันอาการช็อก ห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย คอยสังเกตชีพจร การหายใจตลอดเวลา ถ้าหยุดหายใจต้องรีบช่วยหายใจทันที   

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เผยสถิติปี 60 ส่งผู้ป่วยตั้งครรภ์ฉุกเฉินกว่า 8 พันราย




logoline