svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

สดร. แนะเทคนิคถ่ายภาพ "ดวงจันทร์สีแดงอิฐ" ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ของปี 2561

23 กรกฎาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

(23 ก.ค. 61) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยเทคนิคถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง ยาวนานที่สุดในรอบศตวรรษ หลังเที่ยงคืน 27 กรกฎาคม 2561 แนะคุมความเร็วชัตเตอร์เหมาะสม ปรับรูรับแสงกว้าง ใช้ขาตั้งกล้อง เหตุความสว่างของดวงจันทร์ลดลงมาก


พร้อมเชิญชวนส่งภาพถ่ายร่วมประกวด หัวข้อ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์" ก่อนหมดเขตส่งผลงาน 3 สิงหาคม 2561 ชิงรางวัลรวม 160,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร.กล่าวว่า หลังเที่ยงคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ของปี 2561 



สดร. แนะเทคนิคถ่ายภาพ "ดวงจันทร์สีแดงอิฐ" ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ของปี 2561





ความน่าสนใจของปรากฏการณ์ครั้งนี้คือ เป็นจันทรุปราคาเต็มดวง ที่มีคราสเต็มดวงยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 เริ่มตั้งแต่เวลา 02.30-04.13 น. (ตามเวลาประเทศไทย) รวมเวลาถึง 1 ชั่วโมง 43 นาที และยังตรงกับช่วงดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 406,086 กิโลเมตร นอกจากนี้ คืนดังกล่าวดาวอังคารยังอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จึงเป็นโอกาสพิเศษที่ผู้ชื่นชอบถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าจะสามารถบันทึกภาพ "ดาวอังคารสีแดง เคียงดวงจันทร์สีแดง" รวมทั้งถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง ที่ตำแหน่งดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี เปรียบเทียบกับจันทรุปราคาเต็มดวง 



สดร. แนะเทคนิคถ่ายภาพ "ดวงจันทร์สีแดงอิฐ" ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ของปี 2561


ที่ตำแหน่งดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 ก็จะได้ภาพเปรียบเทียบ Super Full Moon กับ Micro Moon เป็นภาพดวงจันทร์เต็มดวงสีแดงอิฐที่สวยงาม แตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมาเทคนิคการถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง คล้ายกับการถ่ายภาพดวงจันทร์เต็มดวงทั่วไป แต่ต่างกันที่ช่วงที่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ความสว่างของดวงจันทร์จะลดลงมาก จึงต้องควบคุมความเร็วชัตเตอร์ และเร่งความไวแสงของกล้องถ่ายภาพให้เหมาะสมที่สุด ปรับรูรับแสงให้กว้าง ไม่ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไปเพื่อกันภาพสั่นไหวหรือไม่ทำให้ภาพดวงจันทร์เบลอ ใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคง และเลือกโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง นอกจากนี้ หากใช้เลนส์เทเลโฟโตจะสามารถเก็บรายละเอียดพื้นผิวดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจน


สดร. แนะเทคนิคถ่ายภาพ "ดวงจันทร์สีแดงอิฐ" ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ของปี 2561

สดร. แนะเทคนิคถ่ายภาพ "ดวงจันทร์สีแดงอิฐ" ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ของปี 2561

logoline