svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เอสซีจี ประกาศผลการประกวดสุดยอด 4 ผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์

19 กรกฎาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังจากการเฟ้นหาผู้เข้ารอบในโครงการ "The Challenge - Packaging Design Contest 2018" เวทีสำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ นิสิต นักศึกษา ได้ร่วมประกวดผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามโจทย์ตอบใจลูกค้า ภายใต้แนวคิด "Design Plus Marketing" Where Packaging steps up its game ผ่านโจทย์การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 4 โจทย์ ที่มีความท้าทายแตกต่างกัน ให้ผู้เข้าแข่งขันได้เลือกตามความถนัด จากนับร้อยผลงานถูกคัดเลือกจนเหลือเพียง 24 ทีม เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมา และได้จบลงอย่างสวยงาม ด้วยสุดยอดผลงานจาก 4 โจทย์ที่ออกแบบชั้นแสดงสินค้าและบรรจุภัณฑ์จากวัสดุของธุรกิจแพคเกจจิ้ง ในเอสซีจี พร้อมรับเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 450,000 บาท ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้

โครงการ "TheChallenge - Packaging Design Contest 2018" ได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่3 โดยในปีนี้มาพร้อมแนวคิดที่ปลดล็อกให้นักศึกษาที่สนใจด้านการออกแบบให้มีความเข้าใจในด้านการตลาดซึ่งสำคัญ

ไม่แพ้งานดีไซน์ กับโจทย์การแข่งขันออกแบบบรรจุภัณฑ์ 4 โจทย์ อาทิ ชั้นแสดงสินค้าทำจากกระดาษสำหรับสินค้าประเภทเครื่องสำอาง ชั้นแสดงสินค้าทำจากกระดาษสำหรับสินค้าประเภทน้ำผลไม้ บรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารโดยตรงสำหรับบริการจัดส่ง และออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที (ReadyMeal)ซึ่งผู้เข้ารอบทั้ง 24 ทีมจากการคัดเลือกในเดือนพฤษภาคมได้เข้าร่วมเวิร์คช็อป Marketing Camp "Customer Excellence 4.0" โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตลาดจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับคำปรึกษา
ปรับแบบกับนักออกแบบจากธุรกิจแพคเกจจิ้ง ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาและเข้ามานำเสนอผลงานในเดือนนี้ พร้อมรอฟังการตัดสินอย่างลุ้นระทึก จากคณะกรรมการหลากหลายสาขาที่มาร่วมตัดสิน อาทิดร.เอกก์ ภทรธนกุล ประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาแบรนด์และการตลาด (ภาคภาษาอังกฤษ)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งและครีเอทีฟไดเรกเตอร์ Prompt Design และนายกสมาคม


การออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย (ThaiPDA) รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโตอาจารย์นักออกแบบชื่อดังจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  คุณปรินดาอัครภาพ ผู้จัดการ Design Solution Center,Packaging Business, SCG  คุณวรรณา สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้จัดการ Packaging Program, SPEC, Packaging Business, SCG

 

รวมทั้งคณะกรรมการจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในแต่ละโจทย์อาทิ คุณอัญชลี สุวัฒน์วงศ์ชัย ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตและซัพพลายเชน และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดฟารีส ผู้ผลิตเครื่องสำอางมิสทีน 
คุณโอภาส โลพันธ์ศรีรองกรรมการผู้จัดการอาวุโสฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)ผู้ผลิตน้ำผลไม้มาลี  คุณกำธร ศิลาอ่อนรองผู้จัดการใหญ่อาวุโสสายการผลิตและซัพพลายเชน บริษัท
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)  คุณคำนึง พฤกษวานิชผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรม
ทวีวงษ์ จำกัด ผู้ผลิตปูอัดเบนโตะ ซึ่งการพิจารณาผลงานจะเปิดให้ผู้เข้ารอบนำเสนอต่อเนื่อง 6 ทีมเรียงกันไปต่อ 1 โจทย์โดยมีเวลานำเสนอทีมละ 10 นาที และคณะกรรมการจะตั้งคำถามและให้ข้อคิดเห็นภายใน5 นาที ท่ามกลางความตื่นเต้นและตึงเครียดผู้เข้าประกวดต้องนำเสนอผลงานให้น่าสนใจ ซึ่งจะมีผลต่อคะแนน
การตัดสินด้วย

คำถามที่กรรมการมักดึงมาถามจะเกี่ยวกับเรื่องของการนำสิ่งที่ออกแบบไปใช้ได้จริงหรือไม่และชี้ถึงข้อจำกัดของตัวงานซึ่งท้าทายผู้เข้าประกวดให้ตอบเพิ่มเติมบนเวทีหรือหาทางแก้ไขผลงานในอนาคตหากนำไปผลิตจริง ตั้งแต่การวางตำแหน่งแบรนด์และสินค้าในตลาดพร้อมเทียบกับคู่แข่งไปจนถึงการมองพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคในแบบที่คาดไม่ถึง เช่นชั้นแสดงสินค้าจำพวกลิปสติก ถ้าเจอลูกค้าใส่สินค้าคืนแบบสลับสีกันหมดในช่องที่เปิดให้ใส่เฉพาะด้านบนจะทำอย่างไรหรืออาหารพร้อมบริโภคที่มาพร้อมน้ำจิ้มและไม้เสียบแหลมจะออกแบบอย่างไรให้อุ่นและรับประทานสะดวกที่สุด เป็นต้น

 

สำหรับรางวัลผู้ชนะเลิศในโจทย์ต่าง ๆซึ่งผู้ชนะเลิศแต่ละทีมจะได้รับเงินรางวัลทีมละ 50,000บาท
มีผลงานเด็ด ๆ ดังนี้

โจทย์ที่ 1 :Merchandising Display for Beauty Product - ชั้นแสดงสินค้าทำจากกระดาษสำหรับสินค้าประเภทเครื่องสำอาง ผู้ชนะเลิศได้แก่ผลงานTREAT x Thai Tone  โดย นางสาวนภัสสร เรืองศิริจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับผลงานชั้นวางเครื่องสำอางที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก "ไทยโทน" โทนสีเอกลักษณ์ไทย เรียบง่ายแต่มีสไตล์ที่ทั้งยกระดับสินค้าท้องถิ่นด้วยความออแกนิค ทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีและเข้าถึงง่ายตอบโจทย์คนเจนเนอเรชัน Z ที่มักอ่านรีวิวออนไลน์แต่จะเดินทางมาซื้อด้วยตัวเอง

โจทย์ที่ 2 :Merchandising Display for Juice Product ชั้นแสดงสินค้าทำจากกระดาษสำหรับสินค้าประเภทน้ำผลไม้ ผู้ชนะเลิศได้แก่ผลงาน Juicy Time  โดย นายพีรวิชญ์ เอื้อการรักษ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ชูเรื่องของน้ำผลไม้ที่ดื่มได้ตามเวลาที่เหมาะสมสะท้อนโจทย์คนปัจจุบันที่มักซื้อน้ำผลไม้ติดตู้เย็นไว้แต่ไม่กล้าดื่มตอนเย็นหรือตอนกลางคืนเพราะกลัวเรื่องความอ้วนจึงนำเสนอเรื่องของเวลาที่ควรดื่มด้วยการใช้สีตั้งแต่ย่ำรุ่ง กลางวัน และตอนค่ำพร้อมแบ่งประเภทของน้ำผลไม้ที่ออกแบบมาให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าตั้งแต่อายุ 25-50ปี

โจทย์ที่ 3 :Food Packaging for Delivery - บรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารโดยตรงสำหรับบริการจัดส่ง
ผู้ชนะเลิศได้แก่ผลงาน PULL2FULL  โดย นายพชร กังสดาลพิภพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
นายกาจบัณฑิต เหมือนโถม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่คิดไกลถึงขั้นทำกล่องอาหารไทยให้มีการซีลแยกข้าว แยกกับข้าวและแกะทุกอย่างออกได้ด้วยการดึงลิ้นจากปากกล่องเพียง
ครั้งเดียว ไม่มีการรั่วซึม แถมยังบริหารจัดการได้ง่ายเพราะมีการออกแบบแอพพลิเคชันให้ผู้ขายพิมพ์ฉลากแปะหน้าบรรจุภัณฑ์ได้ทันทีเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาตอบโจทย์ความสะดวกตั้งแต่ผู้ประกอบการไปจนถึงผู้บริโภคเลยทีเดียว

โจทย์ที่ 4 :Eat Anywhere Packaging - ออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที(Ready Meal) ผู้ชนะเลิศได้แก่ผลงาน ขยำเชค โดย นางสาวทิพรดา นฤนาทวานิช และนางสาวณิชกานต์ พิริยะพันธุ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่พลิกโฉมการรับประทานลูกชิ้นปลาด้วยการผสานน้ำจิ้มเข้าไป
จนออกมาเป็นลาบ ยำ และแจ่ว ที่สามารถอุ่นด้วยไมโครเวฟได้โดยไม่ต้องฉีกซองไม่ต้องใช้กรรไกร และไม่หกเลอะเทอะ ให้ผู้บริโภคเขย่าแทนการคลุกเคล้าก่อนรับประทาน

 

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมแข่งขันที่เข้ารอบทีมอื่น ๆ ทุกทีมจะได้รับรางวัลตามลำดับลงไปตั้งแต่ รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง (เงินรางวัล 30,000 บาท) รองชนะเลิศอันดับสอง (เงินรางวัล 15,000บาท) รางวัลชมเชย
(เงินรางวัล 5,000 บาท) และรางวัล PopularVote จากการนับยอดไลค์ของผลงานที่โพสต์ลงเพจเฟซบุ๊กของเอสซีจี(เงินรางวัล 10,000 บาท)เรียกได้ว่ามาถึงจุดนี้ไม่มีใครกลับบ้านมือเปล่าแน่นอน

 

นางสาวนภัสสร เรืองศิริ เจ้าของผลงาน TREAT x Thai Tone กล่าวหลังจากรับรางวัลว่า "ขอบคุณมากจริง ๆ ค่ะ ความจริงแล้วหนูไม่ได้เรียนสายออกแบบผลิตภัณฑ์มาโดยตรงแต่อยากจะบอกว่าถ้ามีความสนใจและใจรักที่อยากจะทำ ก็สามารถทำให้สำเร็จได้ถึงเหนื่อยแต่ก็สนุกมาก เพราะโจทย์น่ารักทำให้เราโตขึ้นไปอีกขั้นจากการเข้าร่วมการอบรมด้วยค่ะ"

 

ในขณะที่ นายพีรวิชญ์ เอื้อการรักษ์ เจ้าของผลงาน Juicy Time ที่ประสบความสำเร็จหลังจากส่งผลงานกับกิจกรรมนี้ต่อเนื่องมาเป็นปีที่สามกล่าวเสริมว่า "มันเป็นความผูกพันที่เรามาสองปีแล้ว
เราก็อยากจะมาอีกปีที่สาม ไม่ได้คาดหวังอะไร แค่อยากมาเจอทุก ๆ คน ดีใจมาก ๆ ครับขอบคุณครับ"

 

และเพราะความพยายามไม่เคยทำร้ายสักคนที่ตั้งใจไม่สำเร็จปีนี้ก็หมั่นฝึกฝนกันต่ออย่างไม่ย่อท้อ สำหรับปีหน้า น้อง ๆนิสิตนักศึกษาที่สนใจการออกแบบผลิตภัณฑ์ อยากทดลองสร้างผลงานมาประกวดประชันไอเดียกันอย่างสนุกสนานและได้ความรู้แบบนี้ อย่าลืมติดตามความคืบหน้าของกิจกรรมThe Challenge ของธุรกิจแพคเกจจิ้งในเอสซีจี ได้ในปีต่อไป

 

logoline