svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ปรากฏการณ์ถ้ำหลวง!!! "สื่อไทย" สอบตก ??

06 กรกฎาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หัวหน้าคณะนิเทศ จุฬาฯ ชี้ปรากฏการณ์ถ้ำหลวง"สื่อไทย"สอบตก เน้นรวดเร็วแต่ขาดข้อมูลรอบด้าน นำเสนอมุ่งหาฮีโร่ แต่สืบค้นหาแพะ ด้านอาจารย์เจษฏาระบุเหตุการณ์นี้ต้องถอดบทเรียน การเอาชีวิตรอดของเด็กๆทั้ง 13 คน และต้องชื่นชมผู้ปฏิบัติงานจนถึงวันนี้ที่พบทั้ง 13 คนปลอดภัย

หัวหน้าภาควิชาสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ วิเคราะห์ปรากฏการณ์ถ้ำหลวงในมิติการสื่อสารมวลชนว่า ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าการออกมาพูดเป็นการติเพื่อก่อ ปรากฏการณ์ถ้ำหลวงมีจุดเด่นตรงเหตุการณ์นี้เป็นข่าวในประเทศไทยแต่มีต่างประเทศหยิบยกไปนำเสนอตามแต่รูปแบบจริตและวัฒนธรรมการเสพข่าวของในประเทศตนเอว ซึ่งนำมาสู่การเปรียบเทียบการทำข่าวในเหตุการณ์เดียวกันแต่ร้อยเรียงเรื่องและเนื้อหาที่แตกต่างกันไปของแต่ละสำนักข่าว ทำให้พบว่าหลายๆครั้งที่การทำข่าวของไทยซึ่งควรได้เปรียบในฐานะที่อยู่ใกล้ชิดพื้นที่และแหล่งข่าวมากที่สุด กลับไม่สามารถคลี่คลายเนื้อหาและร้อยเรื่องราวทั้งหมดให้ผู้รับสารชาวไทยเข้าใจได้ การรายงานส่วนใหญ่เน้นความสดความเร็ว รายงานสถานการณ์เป็นช่วงๆ และมีแหล่งข่าวเป็นบุคคลซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสำนักข่าวญี่ปุ่น ซึ่งไม่ได้เน้นการทำข่าวร้อนกับมีการเล่าเรื่องและที่ขายภาพของสถานการณ์การเก็บประเด็นครบถ้วนกว่า อีกทั้งยังสามารถเรียกยอดการโต้ตอบได้สูงจากผู้ชมไทยในโลกออนไลน์อีกด้วย อันสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างของงานข่าวที่สังคมไทยยังขาด และมีความต้องการมากในแง่ของการทำข่าวเชิงข้อมูลที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลมากกว่าการถามความเห็นจากการสัมภาษณ์และเก็บเนื้อขาวปลีกย่อยตามบรรยากาศหน้างานเท่านั้น สื่อไทยทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ข่าว ซึ่งจะบอกว่าไม่ได้ข่าวไม่วิกฤตเท่าเด็กกำลังจะเสียชีวิต ดังนั้นจึงเป็นบทเรียนว่าการนำเสนอข่าวต้องรอบด้านไม่จำเป็นต้องด่วน ต้องเร็ว ข่าวที่เร็วไม่ใช่ผู้ชนะ


ปรากฏการณ์ถ้ำหลวง!!! "สื่อไทย" สอบตก ??




จากการวิเคราะห์ตามหลักนิเทศศาสตร์การนำเสนอข่าวในโลกออนไลน์พบว่า เนื้อหาสะท้อนวัฒนธรรมและฐานคติของคนไทย ว่าต้องการแสวงหาฮีโร่ สืบค้นหาแพะ มีการตั้งทีมเลือกข้าง มีการนำเสนอไสยศาสตร์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์เนื้อธรรมชาติ มีน้ำใจรวมถึงการนำเสนอข่าวเท็จและเรื่องตลกขบขัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการทำข่าวของประเทศญี่ปุ่น มีการร้อยเรียงเรื่องราวบนพื้นฐานข้อเท็จจริงมากกว่าความคิดเห็น เมื่อประมวลฐานคิดและวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านการร้อยเรียงข่าว จะเห็นถึงนัยยะของการให้กำลังใจและกรอบคิดผ่านการทำงานข่าวของญี่ปุ่นที่ต้องการสื่อถึงผู้ชม อย่างกรณีคลิปแรกที่มีการพบผู้ประสบภัย ญี่ปุ่นได้มีการตัดคลิป นำเสนอคลิปซ้ำไปซ้ำมาขณะที่ผู้ประสบภัยกล่าวคำขอบคุณ มีการนำเสนอความเข้มแข็งของผู้ประสบภัยในการรอดชีวิต การทำงานเป็นทีมของผู้ช่วยผู้ประสบภัย การหาทางเลือกเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดผ่านการทดลองและเรียนรู้ในอดีตการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ชิลีด้านรศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถนำไปถอดบทเรียนการเอาชีวิตรอดของเด็กๆทั้ง 13 คนได้เลย น้องๆ ทุกคนทำได้ดีมากต้องชื่นชมและภูมิใจ ถึงวันนี้จะพบตัวว่าทั้ง 13 คนปลอดภัยแล้ว แต่ยังไม่ถึงครึ่งทางอาจจะใช้เวลาอีก 3-4 เดือนในการนำตัวออกจากถ้ำก็เป็นได้
สำหรับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของร่างทรง ร่างทรงบางคนพูดไปในทางที่ดี แต่บางคนไม่มีประโยชน์อะไรเลย เป็นบทเรียนได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องปิดพื้นที่ทันทีไม่ให้คนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าโดยเด็ดขาด ส่วนกรณีที่มีป้ายเตือนว่าห้ามเข้าถ้ำ ตรงนี้เด็กทั้ง 13 คนไม่ผิดเพราะป้ายเตือนแจ้งว่า ห้ามเข้าถ้ำเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ถือว่าทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยวที่ประสบภัยพิบัติ กรณีนี้สามารถถอดบทเรียนได้โดยที่ทางผู้ดูแลพื้นที่จะต้องเปลี่ยนป้ายจากห้ามเข้าเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน เป็นห้ามเข้าเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน และยังมีกรณีโต้ตอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการให้อาหารผู้ประสบภัย ที่มีเสียงจากประชาชนบอกว่าทำไมไม่ให้อาหารที่ดีกว่านี้ คือจะอธิบายว่า ในสภาวะที่ร่างกายขาดอาหารมาเป็นเวลากว่า 10 วัน ในทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้อาหารหนักได้เลย เพราะจะเกิดอาการ refeeding Syndrome (รีฟิดดิ้ง ซินโดรม) การให้พาวเวอร์เจลถูกต้องแล้ว


ปรากฏการณ์ถ้ำหลวง!!! "สื่อไทย" สอบตก ??



logoline