svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

สื่ออาเซียนลงพื้นที่จ.อุดรธานี ทึ่ง! "วัฒนธรรมบ้านเชียง" แหล่งกำเนิดอารยธรรมภูมิภาค

20 มิถุนายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สื่อ 10 ประเทศอาเซียนร่วมทัศนศึกษาการท่องเที่ยวไทย-ลาว เข้าสู่วันที่ 3 เยือนจังหวัดอุดรธานี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมสร้างเมือง พร้อมศึกษาวัฒนธรรมบ้านเชียง พบเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ไขปริศนาแหล่งกำเนิดอารยธรรม

20 มิ.ย. 2561 - ตัวแทนสื่อมวลชน 10 ชาติอาเซียนที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติการเยี่ยมเยือนเพื่อเรียนรู้ระหว่างสื่ออาเซียน (การท่องเที่ยวไทย-ลาว) ทัศนศึกษาที่จังหวัดอุดรธานี โดยมีนายเสกสรร ศรีไพรวรรณ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยนายสุทัศน์ แพร่สุรินทร์ อุปนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจ.อุดรธานี ให้การต้อนรับ จากนั้นนั่งรถรางชมบรรยากาศเมืองอุดรธานี เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองผ่านพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด ระบุเดิมจังหวัดอุดรธานี ก็คือบ้านเดื่อหมากแข้ง ซึ่งมีมานานร่วมสมัยกับเมืองเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้าง สปป.ลาว  เมืองอุดรธานีได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองศูนย์บัญชาการการปกครองของมณฑลอุดรอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ. 2436 โดยพลตรี พระเจ้าบรมวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งทรงเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการแทนพระองค์ปกครอง มณฑลอุดร ในสมัยที่มีการปกครองในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล กรุงรัตนโกสินทร์ 


สื่ออาเซียนลงพื้นที่จ.อุดรธานี ทึ่ง! "วัฒนธรรมบ้านเชียง" แหล่งกำเนิดอารยธรรมภูมิภาค





ทึ่ง ! วัฒนธรรมบ้านเชียง 


ต่อจากนั้นช่วงบ่าย คณะสื่อมวลชนอาเซียนเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โดยชาวบ้าน ต.บ้านเชียง รำไทยพวน ต้อนรับ ซึ่งจุดนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอย่างมาก 


หลังจากนั้น นางสาวเบญจพร สารพรม หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงเป็นวิทยากรนำชม 




สื่ออาเซียนลงพื้นที่จ.อุดรธานี ทึ่ง! "วัฒนธรรมบ้านเชียง" แหล่งกำเนิดอารยธรรมภูมิภาค



นางสาวเบญจพร บอกว่า คณะกรรมการมาดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ได้ประกาศเมื่อ พ.ศ.2535 ให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกด้วยคุณสมบัติสำคัญที่แสดงถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ค้นพบร่องรอย และโบราณวัตถุประเภทเครื่องมือ เครื่องใช้มากมายทั้งในแหล่งโบราณตดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี และอีกหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงให้เห็นว่าเป็นแหล่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม และมีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สืบเนื่องยาวนาน เมื่อราว 5,000 ปีที่แล้ว 


สื่ออาเซียนลงพื้นที่จ.อุดรธานี ทึ่ง! "วัฒนธรรมบ้านเชียง" แหล่งกำเนิดอารยธรรมภูมิภาค

"อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีทั้งหลายต่างมีความเห็นว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่ไม่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง หากแต่ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย จีนและยุโรป ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าการทำเครื่องสำริดเริ่มขึ้นที่ตะวันออกกลาง เมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนนั้น ได้ถ่ายทอดไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราวๆ 2,500 ปีต่อมา จึงไม่มีใครคาดคิดว่าจะได้พบยุคสำริดที่มีอายุประมาณ 4,000 - 5,000 ปี ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดอารยธรรมดังกล่าวนับพันๆไมล์" หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ระบุ


สื่ออาเซียนลงพื้นที่จ.อุดรธานี ทึ่ง! "วัฒนธรรมบ้านเชียง" แหล่งกำเนิดอารยธรรมภูมิภาค

แม้ปัญหาที่ว่าชาวบ้านเชียงมาจากที่ใด? เรียนรู้เรื่องโลหะวิทยาได้อย่างไร? สถานที่ขุดและถลุงแร่ของพวกเขาอยู่ที่ไหน? เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด 


ต่อเรื่องนี้นางสาวเบญจพร บอกว่าจากข้อมูลการพบสำริดที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ปรากฎแหล่งแร่ทองแดงและดีบุกอันเป็นส่วนประกอบหลักของสำริดในบริเวณใกล้เคียง ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ช่างทำเครื่องสำริดบ้านเชียง อาจได้วันถุดิบเหล่านี้มาจากเครือข่ายการแลกเปลี่ยนค้าขาย ทองแดงอยชาจมาจากแหล่งเหมืองแร่ทองแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์บนภูโล้น อ.สังคม จ.หนองคาย หรือเขาวงพระจันทร์ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี ฯลฯ ส่วนแร่ดีบุกอาจมาจากแหล่งแร่แถบเมืองเวียนจันทน์ และหลวงพระบาง สปป.ลาว หรือบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย - พม่า แถบจังหวัดราชบุรี 




สื่ออาเซียนลงพื้นที่จ.อุดรธานี ทึ่ง! "วัฒนธรรมบ้านเชียง" แหล่งกำเนิดอารยธรรมภูมิภาค




"ถึงแม้ว่าชาวบ้านเชียงโบราณเมื่อ 5,000 ปีก่อนจะไม่มีตัวอักษร ไม่ได้วาดภาพตามผนังปูน และไม่ได้สร้างบ้านเมืองไว้ แต่ชาวบ้านเชียงก็เป็นพวกหนึ่งที่เริ่มประเพณีการเพาะปลูก รู้จักการถลุ่งแร่ และหล่อโลหะสำริดไว้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ การขุดค้นทางโบราณคดีที่ค้นพบวัฒนธรรมบ้านเชียง เมื่อ พ.ศ.2517 ที่จ.อุดรธานี จึงท้าทายทฤษฎีดั่งเดิมว่าด้วยแหล่งและการกำเนิดของอารยธรรมมนุษย์" เธอ กล่าว และว่า เรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนมากแล้วยังไม่เป็นที่รู้จัก ซึ่งหากไม่มีการขุดค้นตามหลักวิชาการจะไม่สามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการทางวัฒนธรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสมัยโบราณว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับเขมร พม่า ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้และพื้นที่อื่นๆ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างไร 



สื่ออาเซียนลงพื้นที่จ.อุดรธานี ทึ่ง! "วัฒนธรรมบ้านเชียง" แหล่งกำเนิดอารยธรรมภูมิภาค


logoline