svasdssvasds
เนชั่นทีวี

กีฬา

"หมอเก่ง"นำร่องใช้เทคโนโลยีการแพทย์ พัฒนาทีมฟุตบอล "เชียงใหม่ เอฟซี"

07 มิถุนายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เมื่อนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูก และข้อ ฝีมือดีของประเทศไทย ก้าวเข้าสู่วงการฟุตบอลที่อยู่ในยุคฟีเว่อร์ หลายคนจะรู้จักในบทบาทของ" ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์" หรือหมอเก่ง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจ้าของคลินิกสันป่าข่อย จังหวัดเชียงใหม่ แต่ที่มาที่ไปของการสวมหมวกผู้จัดการทีม "พยัคฆ์ล้านนา" สโมสรเชียงใหม่เอฟซี แม้กระทั่งคนในแวดวงการฟุตบอลเองและบรรดาเหล่ากองเชียร์ชาวเชียงใหม่ ก็อยากทำรู้จักมากกว่านี้ โดยเฉพาะในวันที่ "พยัคฆ์ล้านนา" อยู่ในช่วงที่มีโอกาสเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดครั้งแรก

"จริงๆ แล้วผมสนใจกีฬามาตั้งแต่เล็กจนโต ไม่ได้ห่างเหินแม้แต่น้อย แม้จะเติบโตมาจะอยู่ในศาสตร์ของวงการแพทย์ แต่ด้วยเป็นแพทย์ที่รักษาโรคกระดูกและข้อ ที่มักจะมีนักกีฬาแวะเวียนเข้ามาทำการรักษา กระทั่งได้รับการทาบทามให้เข้าไปดูแลด้านการแพทย์นักเตะของสโมสรเจแอลเชียงใหม่ ยูไนเต็ด ภายใต้การบริหารของ "บิ๊กก๊อง" ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ประธานสโมสรในขณะนั้น ถือเป็นก้าวย่างแรกที่เข้ามาร่วมงานในแวดวงฟุตบอล ก่อนที่จะยกทีมมาดูแล "พยัคฆ์ล้านนา สโมสรเชียงใหม่เอฟซี" พร้อมกับสวมหมวกผู้จัดการทีม หากถามว่าในวงการฟุตบอลมีหมอมาโลดแล่นในบทบาทเดียวกับผมหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ"


ด้วยความโชคดีที่ผมมีโอกาสเรียนรู้ทั้งศาสตร์การแพทย์ และศาสตร์ของการบริหาร เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะมาสวมหมวกใบไหน บนพื้นฐานก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานให้มีความเหมาะสมแตกต่างกันไป แต่การจะบริหารจัดการทีมฟุตบอลนั้นไม่ใช้เรื่องง่าย เพราะผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับผลงานที่ดี และคำว่า "ชัยชนะ"ไมได้มาจากตัวเลขของลูกกลมที่เตะเเข้าประตูเพียงอย่างเดียว แต่มันต้องมากจาก ตัวนักเตะที่ใช้หัวใจเล่นเป็นทีม จนเอาสามารถชนะใจกองเชียร์ในทุกมิติ และภารกิจที่สำคัญนั่นคือ ช่วยกันสร้างผลงานให้ดีขึ้น เพื่อฟื้นฟูศรัทธาของกองเชียร์เก่า และสร้างศรัทธากองเชียร์ใหม่ รวมถึงการสร้างรายได้ใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาทีม


"หมอเก่ง"นำร่องใช้เทคโนโลยีการแพทย์ พัฒนาทีมฟุตบอล "เชียงใหม่ เอฟซี"



"หมอเก่ง" บอกว่า ทุกนาทีมีค่าสำหรับเขา ปกติจะเป็นคนนอน 5 ทุ่ม ตื่นตี 3 และวางระบบการทำงานประจำ, งานส่วนตัว และงานอดิเรก อย่างเป็นระบบ อาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำงานด้วย และในวันที่ต้องเข้ามาคลุกคลีกับกีฬาฟุตบอล ต้องมีหลักคิดทั้งการบริหารจัดการนักเตะ, กองเชียร์และสปอนเซอร์ ทิ้งไม่ได้แม้แต่จังหวะเดียว ยอมรับว่า คนเชียงใหม่ค่อนข้างจะมีความคาดหวังว่า "พยัคฆ์ล้านนา สโมสรเชียงใหม่เอฟซี" จะมีโอกาสได้เลื่อนชั้นขึ้นไทยลีกเฉกเช่นเดียวกับสโมสรอื่นๆ ทำให้ทางทีมบริหารสโมสรฯไม่ได้มองข้ามความหวังนี้ ได้มีการเสริมทัพนักเตะดีกรีทีมชาติ และนักเตะต่างชาติ และวางแผนการทำงานกันอย่างแข็งขัน ซึ่งแม้ว่าจะกดดัันอยู่กับคำว่า "ผลการแข่งขัน" เป็นเข็มทิศว่าจะไปต่อได้อย่างสง่างามหรือไม่



"ผมยอมรับว่าตั้งแต่ที่ได้มีโอกาสเข้ามาคลุกคลีกับเกมฟุตบอล มีความรู้สึกว่า สนุกที่ได้สัมผัสกับอีกมิติหนึ่งของเสน่ห์ฟุตบอล มากไปว่านั้นผมเชื่อว่า เสน่ห์ของกีฬา ไม่ใช่ฟุตบอล ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของครอบครัว และเพื่อนไปในตัว ทุกวันนี้ทุกสนามการแข่งขันในบ้าน ผมจะมีโอกาสพาคุณพ่อ และคุณแม่ที่มีอายุมากแล้วได้เข้าไปสัมผัสกับการดูฟุตบอลในสนามอย่างใกล้ชิด และเชื่อว่ายังมีอีกหลายครอบครัวชาวเชียงใหม่ ที่มีลูกหลานเป็นเยาวชนมาใช้เวลาว่างร่วมส่งแรงใจเชียร์นักเตะของ "พยัคฆ์ล้านนา" สโมสรเชียงใหม่เอฟซี นั่นหมายถึงว่า จะมีผลให้เกิดกระแสของการเล่นกีฬา เพื่อสุขภาพกันมากขึ้น หากเปรียบได้ กีฬาก็เหมือนเทรนด์แฟชั่นอย่างหนึ่ง" หมอเก่ง กล่าว


"หมอเก่ง"นำร่องใช้เทคโนโลยีการแพทย์ พัฒนาทีมฟุตบอล "เชียงใหม่ เอฟซี"




บนพื้นฐานของการทำทีมฟุตบอล เชื่อว่าทุกสโมสรหลีกเลี่ยงการทำธุรกิจไม่ได้ เพราะรายรับของฟุตบอลล้วนแต่มาจากสปอนเซอร์ต่างๆ ที่มองเห็นว่า การกีฬาช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และได้โอกาสเคลื่อนไหวกับการแข่งขันทุกสนามการแข่งขัน ส่วนการตลาดจะคึกคักมากน้อยขนาดไหนก็ยังต้องขึ้นกับปัจจัยสำคัญ คือ "ผลงานดี" และเมื่อต่อยอดได้แล้ว ก็ต้องมีการพัฒนาแบบยั่งยืนได้ นั่นคือ การสร้างนักเตะที่มีคุณภาพตั้งแต่เยาวชนจนถึงมืออาชีพก็จะอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับสโมสร และเมื่อการทำทีมในอนาคต เปิดกว้างให้เยาวชนมีโอกาสก้าวสู่เวทีแบบอาชีพ ก็จะทำให้มีโอกาสป้อนของดีเข้าสู่ภาคสนามได้มากยิ่งขึ้น


"หมอเก่ง" ยังบอกว่า นักเตะเปรียบเป็นหัวใจสำคัญ สิ่งหนึ่งที่ "พยัคฆ์ล้านนา สโมสรเชียงใหม่เอฟซี" ขณะนี้กำลังสร้างโมเดลใหม่ๆในวงการกีฬาฟุตบอล คือ นักกีฬามีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บเข่า และข้อเท้า ในอดีตจะใช้สเตรอยด์บรรเทาการเจ็บปวด แต่ปัจจุบันนี้การรักษาได้รับการพัฒนาการ และตอบโจทย์นักกีฬา ด้วยการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ด้วยการนำเอาเลือดของคนไข้เองมารักษาแบบ Platelet-Rich Plasma(PRP)ที่ใช้อยู่แล้วในทางทันตกรรม และศัลยกรรมกระดูก โดยจะใช้เครื่องอุลตร้าซาวด์มาช่วยเป็นเครื่องชี้นำความแม่นยำบริเวณตำแหน่งที่ทำการรักษา ซึ่งจะทำให้นักกีฬาฟื้นตัวได้เร็วขึ้นกว่าปกติ และเล่นกีฬาได้นานมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำเอาความรู้ทางการแพทย์มาเพิ่มศักยภาพในการดูแลร่างกายให้กับนักแตะอย่างถูกวิธี โดยตอนนี้ได้นำมาใช้กับนักเตะในทีมฯแล้ว ซึ่งในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และเชื่อว่าจะมีโอกาสขยายไปยังสโมสรอื่นๆ ในอนาคต


ทุกย่างก้าวของ "หมอเก่ง"ที่ี่ตัดสินใจแบ่งเวลาของครอบครัวมาโลดแล่นใน "ทุ่งหญ้าแห่งความฝัน" โดยใช้ความรู้ในฐานะนายแพทย์หนุ่ม ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ มาช่วยพัฒนาวงการกีฬาบ้านเกิด แม้ว่าจะเป็นเพียงฟันเฟืองเล็กๆ แต่กระนั้นเชื่อว่าเป็นประโยชน์ให้นักกีฬา และทีม "พยัคฆ์ล้านนา" สโมสรเชียงใหม่เอฟซี" ไม่มากก็น้อย


"หมอเก่ง"นำร่องใช้เทคโนโลยีการแพทย์ พัฒนาทีมฟุตบอล "เชียงใหม่ เอฟซี"

logoline