svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไอที

อะไรๆก็ดิจิทัลแบงกิ้ง

11 พฤษภาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เมื่อออนไลน์ไทยถูกจีนยึดเบ็ดเสร็จธุรกิจ ธนาคารจึงเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Disruption) โดยในช่วงเวลา 3 ปี หากไม่มีการปรับตัวโอกาสอยู่รอดได้ลำบาก

ในโอกาสที่ผู้บริหารธนาคาร SCB เดินสายเข้าพบผู้บริหารเครือเนชั่น และได้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นในวงการ Financial Technology มาเล่าให้ฟัง ประเด็นที่น่าสนใจ เช่น บิทคอยน์ คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ต้องผ่านการเข้ารหัส (Cryptocurrency) เทคโนโลยีบล็อคเชน เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในหลายประเทศ ทั้งในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย โดยในช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศได้แก้กฎหมายเพื่อรองรับการใช้เงินสกุลดังกล่าว ในขณะที่ประเทศไทย แม้ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันมาตลอดว่า สกุลเงินเช่นบิทคอยน์  ยังไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ล่าสุด  ธปท. ยอมรับว่า อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ที่จะให้เป็นสกุลเงินถูกต้องตามกฎหมาย


คุณอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนาฟินเทคในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ เคยเป็นเอ็มดีไมโครซอฟต์และแอคเซนเจอร์ประเทศไทย เล่าว่า แผนดำเนินงานเกี่ยวกับด้านฟินเทคของ SCB มี 3 ส่วนที่สำคัญ ทั้งด้านการร่วมลงทุน (การบ่มเพาะสตาร์ทอัพ และงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาบริษัทได้เดินทางไปดูงานมา 32 เมือง 27 ประเทศ มีบริษัทด้านฟินเทคกว่า 500 บริษัท ส่วนหนึ่งนำไปทดสอบในแซนด์บ็อกของแบงก์ชาติ 


แถมยังให้มุมมองถึงสิ่งประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ บอกว่าคู่แข่งที่น่ากลัวของธนาคารไม่ใช่ผู้ให้บริการอี-เพย์เมนต์ แต่เป็นบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป ผู้ให้บริการการเงินดิจิทับในเครือบริษัทอาลีบาบา กรุ๊ปฯ  ที่เข้ามาปักหมุดในไทยแล้ว โดยมีการจัดตั้งสำนักงานสาขาในไทย   มีการจับมือเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการเพย์เมนต์เกตเวย์ และเข้ามาลงทุนในบริษัทแอคเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการอี-เพย์เมนต์


อะไรๆก็ดิจิทัลแบงกิ้ง

นอกจากนี้ยังเห็นว่าด้วยการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ  การซื้อขายออนไลน์ จะส่งผลกระทบกับธุรกิจค้าปลีกของไทยแน่ และในระยะยาวจะส่งผลกระทบกับธุรกิจทางด้านการเงินการธนาคารของไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้  เนื่องจากยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 ราย มีบริษัทลูกที่ทำธุรกิจชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดย อาลีบาบา มีแอ๊นท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ให้บริการอี-เพย์เมนต์ ภายใต้ชื่อ"อาลีเพย์" ส่วนเจดีดอทคอม มีเจดี ไฟแนนซ์ ที่ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์และมีระบบบิ๊ก ดาต้า ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า อนาคตจะเปิดกว้างมากขึ้น บริการรับชำระเงิน (Payment) รายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันเต็มตัว ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิลเพย์ (Apple Pay) ซัมซุงเพย์ (Samsung Pay) อาลีเพย์ (Alipay) หรือวีแชทเพย์ (We Chat Pay) พร้อมแบไต๋พาดพิงถึงกลยุทธ์ธุรกิจที่คนเมืองนิยมใช้ให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นด้วย


อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนสงสัยถึงบริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส ตกลงทำหน้าที่อะไรกันแน่ จริงๆแล้วเป็นบริษัทในเครือพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล 2 รูปแบบคือแอปพลิเคชั่นสำหรับร้านค้า ที่เหมือนเป็นระบบช่วยในการขายครบวงจรให้ร้านค้า ที่ผู้ขายสามารถบริหารจัดการสต็อกสินค้า เช็ครายงานการขายรายวัน และรับชำระเงินด้วยพร้อมเพย์ คิวอาร์โค้ดได้นั่นเอง 



ถึงตอนนั้น ต้องจับตาว่าหากอยู่ภายใต้กฎระเบียบเดียวกัน เอสซีบีจะไม่มีทางเอาชนะได้ ถ้ายังแข่งขันในแง่มุมเดิมๆ เช่น แข่งลดค่าธรรมเนียม แข่งให้โปรโมชั่น เพราะคู่แข่งระดับโลกเหล่านี้มีเงินมากกว่าและพร้อมทุ่มสู้



อะไรๆก็ดิจิทัลแบงกิ้ง

อะไรๆก็ดิจิทัลแบงกิ้ง

อะไรๆก็ดิจิทัลแบงกิ้ง

อะไรๆก็ดิจิทัลแบงกิ้ง

อะไรๆก็ดิจิทัลแบงกิ้ง

logoline