svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ท่องเที่ยว

ประเพณีโบราณสืบทอดหลายร้อยปี แห่ช้างเผือกดอกฝ้าย ต้นผึ้ง ต้นทาน

18 เมษายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประเพณีโบราณสืบทอดหลายร้อยปี แห่ช้างเผือกดอกฝ้าย ต้นผึ้ง ต้นทาน สิ้นสุดสงกรานต์เข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก ขอน้ำท่าบริบูรณ์ ทำมาหากินได้ผลดี อยู่เย็นเป็นสุข

เมื่อวันที่ 18 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานที่บริเวณซุ้มประตูทางเข้า-ออก หมู่บ้านน้ำหมีใหญ่ หมู่ 1 ต.ผักขวง อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ ชาวบ้านน้ำหมีใหญ่ต่างสนุกสนานร้องรำนำขบวนแห่ "ช้างเผือก ต้นผึ้ง ต้นทาน" ออกจากหมู่บ้านไปยังหมู่บ้าน ตำบลต่างๆ ในเขต อ.ทองแสนขันอย่างช้าๆ ตั้งแต่เช้าจนถึงมืดค่ำท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าว ระยะทางเส้นทางหลักรอบอำเภอทองแสนขันกว่า 50 กิโลเมตร ก่อนจะนำถวายพระสงฆ์ที่วัด ซึ่งเป็นประเพณีสืบทอดมาแต่โบราณ หลายช่วงอายุคน หลังสิ้นสุดเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย เข้าสู่ฤดูกาลเพะปลูก ทำมาหากิน เป็นการเพื่อขอขมาต่อธรรมชาติ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขอให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข น้ำท่าบริบูรณ์ ทำมาหากินได้ผลดี เป็น


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตลอดระยะทาง มีชาวอำเภอทองแสนขันต่างออกมารอชม และร่วมทำบุญ ตั้งจิตอธิฐานขอความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว แต่สิ่งที่ท่าทึ่งอันเกิดจากความรักสามัคคี ความตั้งใจในการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของชาวบ้านน้ำหมีใหญ่ คือ ทั้งขบวนช้างเผือก ต้นผึ้ง ต้นทาน เกิดจากความร่วมมือร่วมใจและภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษอย่างแท้จริง วัสดุที่ใช้นำพืชผลจากการเกษตรและที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ตามความเชื่อ


ประเพณีโบราณสืบทอดหลายร้อยปี แห่ช้างเผือกดอกฝ้าย ต้นผึ้ง ต้นทาน




นายสิงห์ชัย จันดี อดีตผู้ใหญ่บ้าน-ภูมิปัญญาชาวบ้านน้ำหมีใหญ่ กล่าวว่า ประเพณีแห่ช้างเผือก ต้นผึ้ง ต้นทาน ของบ้านน้ำหมีใหญ่ มีมาหลายช่วงอายุคนแล้ว ในช่วงสงกรานต์ลูกหลานเดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก จะพร้อมใจกันช่วยจัดเตรียมเสาะหาวัสดุและร่วมแรงร่วมใจกันประดิษฐ์ ช้างเผือก ตามความเชื่อเป็นสัตว์ใหญ่หายาก ด้วยการนำไม้ไผ่สานตัวช้างใช้ดอกฝ้ายที่ปลูกทำเป็นผิวหนัง และเพื่อให้ช้างมีชีวิต ใช้เชือกผูกใบหู ให้ชาวบ้านดึงตลอดทางแต่ขบวน ส่วนต้นผึ้ง ชาวบ้านทุกครอบครัวนำแผ่นขี้ผึ้งสีขาวบรรจงประดิษฐ์เป็นดอกไม้ นับ 1,000 ดอก สร้างเป็นต้นผึ้งที่สวยงาม และต้นทาน เป็นพุ่มดอกไม้สีสันสดใสมีในหมู่บ้าน ทั้งดอกคูณ ตะแบก ดอกเข้ม และไม้มงคลประดับตกแต่ง


หลังสิ้นสุดสงกรานต์ และเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก ทำมาหากิน ชาวบ้านจำร่วมแห่ สมัยโบราณแต่ละขบวนชาวบ้านใช้คานหาบ ทั้งช้างเผือก ต้นผึ่ง ต้นทาน ออกจากหมู่บ้านเช้ามืดกลับก็มืดค่ำ ปัจจุบันใช้รถไทยแลนด์ หรือรถใช้งานการเกษตรกร แห่ไปทุกหมู่บ้านทุกตำบลของ อ.ทองแสนขัน เป็นการขอขมาต่อธรรมชาติ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ บรรพบุรุษที่ล่วงลับที่ได้ล่วงเกิน ขอให้คุ้มครองดูแลลูกหลานให้อยู่เย็นไปสุข น้ำท่าบริบูรณ์ ทำมาหากิน เมื่อสิ้นสุดการแห่ ชาวบ้านก็จะน้ำช้างเผือก ต้นผึ้ง ต้นทาน และปัจจัยสิ่งของที่ชาวบ้านถวายตลอดเส้นทางถวายพระสงฆ์ ที่วัดในหมู่บ้านเพื่อให้เป็นสิริมงคลด้วย ประเพณีดังกล่าวเป็นหนึ่งเดียวของ จ.อุตรดิตถ์ มีที่บ้านน้ำหมีใหญ่ ที่ยังอนุรักษ์สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน


ประเพณีโบราณสืบทอดหลายร้อยปี แห่ช้างเผือกดอกฝ้าย ต้นผึ้ง ต้นทาน

ประเพณีโบราณสืบทอดหลายร้อยปี แห่ช้างเผือกดอกฝ้าย ต้นผึ้ง ต้นทาน

ประเพณีโบราณสืบทอดหลายร้อยปี แห่ช้างเผือกดอกฝ้าย ต้นผึ้ง ต้นทาน

ประเพณีโบราณสืบทอดหลายร้อยปี แห่ช้างเผือกดอกฝ้าย ต้นผึ้ง ต้นทาน

ประเพณีโบราณสืบทอดหลายร้อยปี แห่ช้างเผือกดอกฝ้าย ต้นผึ้ง ต้นทาน

ประเพณีโบราณสืบทอดหลายร้อยปี แห่ช้างเผือกดอกฝ้าย ต้นผึ้ง ต้นทาน

logoline