svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ย้อนที่มา บ้านพักตุลาการ เชิงดอยสุเทพ

06 เมษายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บ้านพักตุลาการเชิงดอยสุเทพ ความเป็นมาเป็นยังไง แต่ละฝ่ายว่ายังไง ทำเป็นทามไลน์ ทำเป็นสกู๊ปออกข่าวข้น พอไหวไหมทัศน์

ครอบครัวขันแข็งเป็นชาวพื้นเมืองเชียงใหม่แต่กำเนิด ผืนป่าสีเขียวบนดอยสุเทพเป็นภาพจำที่เห็นมาทั้งชีวิต แต่วันนี้เปลี่ยนไปเมื่อมีการก่อสร้างบ้านพักที่เชิงดอย

นายจรัญบอวก่า เดิมทีที่ดินแปลงนี้เป็นของกรมป่าไม้ แต่ถูกอ้างว่า เป็นป่าเสื่อมโทรม กองทัพภาค 3 จึงขอใช้สถานที่เพื่อเป็นที่ฝึกกำลังพล

 

ปี 2500 กรมที่ดินได้ออกหนังสือสำคัญที่หลวง หรือ จำนวน 23,787 ไร่ เพื่อให้ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหม 


40 ปี ต่อมา สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ได้ทำเรื่องขอแบ่งใช้ประโยชน์ เป็นครั้งแรก เมื่อวัน 25 กรกฎาคม 2540 โดยขอใช้พื้นที่ด้านหลังของ หน่วยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 เชียงใหม่ เนื้อที่ 106 ไร่   เพื่อก่อสร้างบ้านพักและอาคารที่ทำการของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเลือกจากพื้นที่ ที่ยังไม่มีหน่วยงานใดๆ ยื่นขอใช้ และไม่ใช้ประโยชน์ 


แต่ขณะนั้น กองทัพภาค 3 ตอบ ปฏิเสธ 


ต่อมาปี 2547 สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ขอแบ่งใช้ประโยชน์พื้นที่บางส่วนตาม ผังแปลงฉบับนี้ จำนวน 147 ไร่  3 งาน 41 ตารางวา  จากกองทัพภาค 3 เป็นการยื่นขอใช้ที่ดิน ครั้งที่ 2 ซึ่งตรงกับช่วง ที่ พลเอก ชัยสิทธ์ ชินวัตร  เป็น ผบ.ทบ.  


กองทัพภาค 3 อนุมัติ ให้สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ใช้พื้นที่ดังกล่าว  


ปี 2548 สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ย้ายที่ทำการจากกรุงเทพฯ ไปที่ เชียงใหม่ ยังไม่มีบ้านพักข้าราชการตุลาการ และข้าราชการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม จึงต้องการ ใช้ที่ดินผืนนี้ เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5  ประกอบด้วย บ้านพัก 47 หลังและอาคารชุด 13 อาคาร



 8 ปีต่อมา ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้รับงบประมาณ 1 พันล้านบาท ในช่วงของ รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  จึงเริ่มเปิดพื้นที่ถากป่าก่อสร้างที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 และบ้านพัก อาคารชุด สำหรับข้าราชการตุลาการต่อมา ซึ่งขณะนี้คืบหน้าไปกว่า ร้อยละ 80 ปี  ท่ามกลางเสียงค้านของชาวเชียงใหม่ ตั้งแต่วันแรกที่เอาแมคโคเข้าไปถากดอย 


ผู้ประสานงานเครือข่ายขอคืนพื้นที่ดอยสุเทพ  บอกว่า แม้การก่อสร้างจะเป็นไปอย่าถูกกฎหมาย แต่ไม่เหมาะสม


สถานการณ์เริ่มร้อนแรงมากขึ้นเมื่อมีการนัดเจรจา 3 ฝ่ายเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา  แต่ตัวแทนศาลไม่เข้าร่วม อ้างว่าไม่ทราบการนัดหมาย นำมาสู่การเตรียมรวบรวมรายชื่อถวายฎีกาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย 

logoline