svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

กะเทยเกณฑ์ทหาร มากกว่าสีสัน คือความเท่าเทียม ไม่แปลกแยก

01 เมษายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในช่วงต้นเดือนเมษายน จะเป็นช่วงเวลาของการเกณฑ์ทหารประจำปี ซึ่งจะได้เห็นว่ามีสาวข้ามเพศ มาร่วมเกณฑ์ทหารด้วย สื่อมวลชนก็มักจะนำเสนอเป็นสีสัน แต่การนำเสนอเช่นนั้น กลับเป็นการตอกย้ำปมของการเป็นสาวข้ามเพศให้ดูต่างจากคนอื่น และไม่เท่าเทียมกับเพศชาย - หญิง



"หนุ่มๆเรดาห์พัง! สาวประเภทสองเกณฑ์ทหาร แทบไม่เชื่อเป็นผู้ชาย" "เกณฑ์ทหารเชียงใหม่คึกคัก สาวประเภทสองร่วมเกณฑ์ทหารเรียกเสียงฮือฮา" เหล่านี่คือตัวอย่างพาดหัวข่าวเมื่อที่ผ่านมา เมื่อถึงช่วงเกณฑ์ทหารที่มีขึ้นเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 1 12 เมษายน อาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ

ผู้หญิงข้ามเพศคนนี้ คือผู้อำนวยการมูลนิธิซิสเตอร์ และเป็นหนึ่งในเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ทำงานเรียกร้องสิทธิของกะเทย มาหลายปี ฐิติญานัน หนักป้อง บอกเล่าถึงประสบการณ์ของรุ่นน้องหญิงข้ามเพศ ที่ต้องเผชิญ กับสภาวะแวดล้อมของการถูกเรียกไปเกณฑ์ทหารด้วยความหวาดกลัว

ผลการศึกษาของมูลนิธิเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่าพาดหัวและเนื้อข่าวที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ ตอกย้ำว่าการเกณฑ์ทหารของกะเทยเป็นสิ่งแปลก ถูกมองว่าเป็นสีสัน ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ รวมถึงการเหยียดเพศ

ข่าวกะเทยเกณฑ์ทหารเกือบทั้งหมด ร้อยละ 91 นำเสนออัตลักษณ์ทางเพศ และความงามของกะเทยมากกว่ากระบวนการ และข้อเสนอแนะต่อการเกณฑ์ทหาร ส่งผลให้คนที่เป็นกะเทย ถูกจับจ้อง เปรียบเทียบ ล้อเลียน และเปิดเผยชีวิตทางเพศในที่สาธารณะ ถูกเลือกปฏิบัติ ละเมิดสิทธิในเนื้อตัวร่างกายและสิทธิความเป็นส่วนตัว จนรู้สึกเครียด กังวล และไม่อยากเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

เมื่อสังคมไทย ยังมองกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นอื่น นักวิชาการด้านสุขภาวะทางเพศ ดร.ชเนตตี ทินนาม มองว่า ต้องผลักดันสังคมไปสู่ความเท่าเทียมทางเพศ เปลี่ยนความคิดเดิมของสังคมว่าเพศไม่ได้มีเพียง หญิง หรอื ชาย เท่านั้น

ดร.ชเนตตี ทินนาม เห็นว่าสื่อมวลชนมีส่วนสำคัญที่เปลี่ยนความคิดของคนในสังคม โดยการเริ่มจากการใช้คำพาดหัวและเนื้อข่าวเมื่อกล่าวถึงกลุ่มเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดว่า ผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ หญิงข้ามเพศ และมองว่ากลุ่มคนเหล่านี้ประเด็นมากกว่าแค่สีสัน เท่านั้น

logoline