svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

อนาคต "ทีวีดิจิตอล" ตามรอย "ไทยทีวี " ?

20 มีนาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังจาก "เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล" ชนะคดีที่ฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง เกิดคำถามตามมาว่า...อนาคตกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล จะเดินตามรอย บอกเลิกสัญญาได้หรือไม่?

13 มี.ค.2561 นับเป็นวัน พลิกชะตาทีวีดิจิตอลทีเดียว เมื่อศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ผ่าทางตัน ให้เห็นทางออก เรื่องการใช้สิทธิบอกเลิกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ทีวีดิจิตอล ที่ปัจจุบัน คณะกรรมการ กสทช.สำนักงาน กสทช.'อนุญาตให้ประกอบการทีวีระบบดิจิตอล รวม 24 ช่อง


โดยศาลปกครองกลางตัดสินให้เจ้าแม่วงการบันเทิง อย่างเจ๊ติ๋ม ทีวีพูลนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ปธ.กก.บจก.ไทยทีวี ที่ทุบกระปุกควักเงินทุนร่วม 2,000 ล้านบาท ประมูลทำทีวีดิจิตอล 2 ช่อง คือช่องรายการเด็ก ชื่อMVTV FAMILYในราคาชนะประมูล 648 ล้านบาท และช่องข่าว ชื่อไทยทีวีราคาชนะประมูล 1,328 ล้านบาท ชนะคดี ที่ยื่นฟ้องคณะกรรมการ กสทช.สำนักงาน กสทช.สั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เมื่อวันที่ 4 ก.พ.59 ไม่ชอบ


คำพิพากษาศาลปกครองกลาง'ที่ได้ผ่าทางตัน ข้อพิพาทระหว่าง ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล กับ กสทช. องค์กรอิสระผู้มีอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่ มายาวนานนั้น แสดงให้เห็นว่าอะไรที่ทำได้ทำไม่ได้บ้าง?


แต่ก็เกิดคำถามตามมาว่า...อนาคตกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล จะตามรอยเจ๊ติ๋ม-ไทยทีวีบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่?


คำตอบ คือ'คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง'จริงๆ แล้วเป็นคำตัดสินที่่่ยังไม่ถึงที่สุดตามกระบวนการขั้นตอนกฎหมายฟ้องคดีปกครอง เพราะคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายยังยื่นอุทธรณ์ได้


แต่แม้ว่าคดียังไม่ถึงเป็นที่สุด แต่แนวทางที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาออกมานี้ ได้ชี้ชัดให้เห็นถึงประเด็นสำคัญ 6 ข้อ


1.ข้อพิพาทระหว่าง ไทยทีวี กับ กสทช เป็นเรื่องสัญญาทางปกครอง


2.ผู้ประกอบการ มีสิทธิโดยสุจริตที่จะบอกเลิกการประกอบกิจการหรือสัญญา ได้ก่อนสิ้นสุดระยะเวลา


3.เมื่อใช้สิทธิบอกเลิกการประกอบกิจการแล้ว ก็ต้องคืนคลื่นความถี่ที่เคยได้รับอนุญาต ให้กสทช.สนง.กสทช.ด้วย โดยผู้ประกอบการนั้น ไม่มีสิทธิเผยแพร่ออกอากาศทีวีดิจิตอลได้อีกต่อไป


4.เมื่อได้บอกเลิกการประกอบกิจการโดยชอบแล้ว ผู้ประกอบการก็ไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีในงวดหลังจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว


5.เมื่อได้บอกเลิกการประกอบกิจการโดยชอบแล้วกสทช.ก็ไม่มีสิทธิยึดแบงก์การันตี มาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี ยกเว้นในส่วนที่ค้างชำระตามงวดที่ต้องจ่ายระหว่างการประกอบกิจการ


และ 6.ในส่วนผู้ประกอบการ ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้กสทช.ต้องจ่ายค่าเสียหาย ที่จะอ้างเป็นรายได้จากโฆษณาได้


ดังนั้น ถ้าผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล เกิดประสบภาวะขาดทุน จากการทำธุรกิจทีวีที่มีการแข่งขันกันทั้งรายใหม่-รายเก่าแล้ว คิดว่าเดินมาสุดทาง ไม่มีทุน ทำต่อไปไม่ไหวแล้วจะทิ้งกลางคัน จะอ้างเหตุแผนแม่บท กสทช. ล่าช้า แล้วเดินตามรอยไทยทีวีมาบอกเลิกสัญญา ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องดูรายละเอียดกันเป็นรายคดีไป เพราะห้วงเวลา รวมทั้งการปฏิบัติของคู่สัญญาสัมปทานแต่ละเรื่อง อาจแตกต่างกัน


ซึ่งการใช้สิทธิบอกเลิกประกอบกิจการ ก็ต้องเน้นว่า เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหากมีนัยยะ เจตนาแอบแฝง จากการฉ้อฉล เพียงเพราะเจ้าของธุรกิจ ตัดสินใจผิดพลาดเองในการดำเนินกิจการต่อไป ผลการบอกเลิกสัญญา อาจจะไม่ได้มีผลเหมือนกรณีไทยทีวีทุกประการ


แต่ที่แน่นอน...ขณะนี้ข้อสังเกตจากคำพิพากษา 6 ข้อ ที่ว่าข้างต้น จะใช้นำทาง "ทีวีดิจิตอล" ให้เดินไปได้อย่างตรงทาง


อย่างไรก็ตาม ในส่วน กสทช. ไม่ยอมจำนนง่ายๆ เพราะในทางปฏิบัติเมื่อมีคำพิพากษาศาลปกครองจะนำมาสู่การสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐดังนั้นเมื่อกฎหมายยังให้อุทธรณ์คดีได้กสทช.ย่อมจะสู้สุดทางเพื่อแนวทางที่ชัดเจนที่สุด


โดยจะอุทธรณ์แน่ หนึ่งในนั้น คือ ประเด็นที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่า "ข้อพิพาทภาระผูกพันการออกใบอนุญาตระหว่าง ไทยทีวี กับ กสทช. เป็นสัญญาทางปกครองเรื่องบริการสาธารณะแทนรัฐในการใช้คลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติของชาติ ที่เมื่อบอกเลิกสัญญาระหว่างกันแล้ว สิทธิแต่ละฝ่ายกลับคืนดังเดิม


คือ การคืนคลื่นและค่าธรรมเนียมที่ยังไม่ได้ใช้บริการ"ว่าเป็นเรื่องการออกใบอนุญาตทั่วไปของหน่วยงานรัฐที่อนุญาตให้กับเอกชน เพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การขออนุญาตก่อสร้างตึก-อาคาร ที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้อนุญาตเพียงฝ่ายเดียว และเมื่อได้ออกใบอนุญาตแล้ว เอกชนต้องรับภาระเองในการดำเนินงานทั้งหมด


แต่ถ้าดูจากคำพิพากษาศาลปกครองกลางซึ่งเป็นศาลชั้นต้นเกือบเรียกได้ว่ากสทช.แพ้ทุกทางไปแล้ว... ส่วนเมื่ออุทธรณ์ต่อก็ต้องรอดูว่าผลจะออกมาเหมือนเดิมหรือไม่

logoline