svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชาวสวนทุเรียนหลง-หลินลับแล เร่งทำแนวกันไฟป่า

19 มีนาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชาวสวนทุเรียนหลง-หลินลับแล จ.อุตรดิตถ์ ระดมทำแนวกันไฟ แหล่งต้นกำเนิดแหล่งปลูกทุเรียนลับแล หวั่นซ้ำรอยไฟป่าครั้งใหญ่ปี 59 คาดไม่เผชิญภัยแล้ง-ไฟป่า ปีนี้จะมีรายได้มากกว่า 2 พันล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ดอยม่อนน้ำชำ บ้านห้วยโป่ง หมู่ 10 ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดและแหล่งปลูกทุเรียนหลง-หลิน ของเกษตรกรชาวลับแล พืชเศรษฐกิจสำคัญของ จ.อุตรดิตถ์ นายธาตรี บุญมาก นายอำเภอลับแล พร้อมชาวสวนตำบลแม่พูล และกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมอุปกรณ์จาก สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์, สถานีคุมไฟป่า,และทหาร เริ่มปฏิบัติการทำแนวกันไฟป่าป้องกันสวนทุเรียนหลง-หลินลับแล พร้อมประกาศใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด หากพบเกษตรกรจุดไฟเผาวัชพืชหรือใบไม้แห้ง หลังเคยเกิดไฟป่าสวนทุเรียนและผลไม้ อ.ลับแล สร้างความเสียมาแล้วเมื่อปี 2559 มากกว่า 100 ล้านบาท

ชาวสวนทุเรียนหลง-หลินลับแล เร่งทำแนวกันไฟป่า


โดยปฏิบัติการทำแนวกันไฟป่าพื้นที่สวนทุเรียน ได้ทำพร้อมกันทุกพื้นที่ของอำเภอลับแล ทั้ง ต.แม่พูล ต.นานกกก และ ต.ฝายหลวง แหล่งปลูกทุเรียนหลง-หลิน หมอนทองลับแลมากที่สุดของภาคเหนือ กว่า 3 หมื่นไร่ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ผู้นำท้องถิ่น ทุกหมู่บ้าน นำเกษตรกรเข้าทำแนวกันไฟภายในสวนของตัวเอง เนื่องจากผลผลิตทุเรียนรุนแรกของปีนี้ จะเริ่มออกสู่ตลาดประมาณเดือนพฤษภาคม และหากไม่เกิดภัยแล้งและไฟป่า ผลผลิตจะมีมากถึง 4 รุ่น

ชาวสวนทุเรียนหลง-หลินลับแล เร่งทำแนวกันไฟป่า


นายธาตรี กล่าวว่า เน้นให้ชาวสวนทุเรียนมีส่วนร่วมและตระหนักถึงอันตรายจากไฟป่า ที่สาเหตุเกิดจากน้ำมือมนุษย์หรือเจ้าของสวนเอง ที่จุดไฟเผาวัชพืชหรือใบไม้แห้ง จนลุกลามไม่สามารถควบคุมได้ จุดที่เริ่มปฏิบัติการทำแนวกันไฟ คือ จุดที่เกิดไฟป่าครั้งใหญ่เดือนเมษายน ปี 2559 มูลค่าความเสียกว่า 100 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง และช่วงที่ทุเรียนกำลังออกดอก ติดผลอ่อน และติดผลอายุกว่า 1 เดือนซึ่งจะเป็นรุ่นแรกออกสู่ตลอดเดือนพฤษภาคม จำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันอย่างเข้มข้น

ชาวสวนทุเรียนหลง-หลินลับแล เร่งทำแนวกันไฟป่า


ทั้งนี้ ให้ชาวสวนทุกครอบครัวทำแนวกันไฟภายในสวนของตัวเอง ห้ามจุดไฟไม่ว่ากรณีใดๆ พร้อมทั้งประสานการตรวจสอบการลักลอบเผาป่า จากภาพถ่ายดาวเทียม หากพบจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด โดยมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยสภาพอากาศร้อนอบอ้าว และสวนทุเรียนลับแล ปลูกบนดอย ที่เป็นป่าผสมผสานจึงยากต่อการควบคุมหากเกิดไฟป่า ประกอบกับทุเรียนใช้ระยะเวลาปลูกกว่า 8 ปีถึงจะให้ผลผลิตได้ หากต้นถูกไฟไหม้ก็เท่ากับชาวสวนต้องเริ่มต้นใหม่ ประสบการณ์ดังกล่าวเคยมีมาแล้ว สำหรับผลผลิตทุเรียนลับแลปีนี้ หลังจากนี้หากไม่ประสบภัยแล้งหรือไฟป่า ทุเรียนจะติดผลมากถึง 4 รุ่น คาดสร้างรายได้ทั้งทุเรียนหลง-หลิน และหมอนทองลับแล มากกว่า 2,000 ล้านบาท

ชาวสวนทุเรียนหลง-หลินลับแล เร่งทำแนวกันไฟป่า

ชาวสวนทุเรียนหลง-หลินลับแล เร่งทำแนวกันไฟป่า

ชาวสวนทุเรียนหลง-หลินลับแล เร่งทำแนวกันไฟป่า

logoline