svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

เราเลือกอะไรให้ตัวเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตบ้าง?

14 มีนาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เราเตรียมพร้อมฉลองวันเกิด วันรับปริญญา วันแต่งงาน ลูกคนแรก วันเกษียณอายุ ฯลฯ แต่เราเคยได้เตรียมพร้อทมอะไรให้กับช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตบ้าง?

"อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข" เป็นโครงการอบรมที่กิ๊ฟท์ได้เข้าร่วมและทำให้เราได้ตระหนักอะไรหลายๆอย่างของชีวิต ... ช่วงเวลาสุดท้ายที่เราควรได้มีสิทธิเลือก ตัดสินใจ และเตรียมตัวให้พร้อม ... เพราะวันสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องเจอ

เราเลือกอะไรให้ตัวเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตบ้าง?


เราเลือกอะไรให้ตัวเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตบ้าง?


สารคดี Extremist ที่เปิดฉายก่อนการอบรวมจะเริ่มขึ้น ทำให้เราเกิดการตระหนักรู้ถึงวินาทีวิกฤตของชีวิต


สารคดีเรื่องนี้ถ่ายทอดเรื่องจริงของชีวิตหมอ คนไข้ ญาติ หน้าห้องไอซียู ช่วงเวลาวิกฤตชีวิตที่มีทั้งคนรอดและคนที่จากไป การทำงานของหมอ อาการความรู้สึกของคนไข้ ญาติคนไข้ที่ต้องเตรียมใจ ตัดสินใจในสิ่งที่เขาไม่ได้อยากทำ เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั่นหมายถึง "ชีวิต"


ตอนดูสารคดีเรื่องนี้จบคำถามเกิดขึ้นในหัวเรามากมาย ทั้งในมุมที่เราเป็นคนไข้ ที่เป็นได้ทั้งคนที่ยังมีสติสติสัมปชัญญะ และไม่มี เราจะเลือกอะไรได้บ้าง แล้วมองในมุมของครอบครัว ถ้าคนในครอบครัวเจอเผชิญภาวะวิกฤตนี้ เราจะตัดสินใจอย่างไร ณ ตอนนั้นเรายังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน


แต่มีตัวช่วยเมื่อเข้าสู่การบรรยายของ ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ "living will" หรือความต้องการครั้งสุดท้ายของชีวิต ...นั่นสิเรามีความต้องการอะไรมากมายในหลากหลายช่วงชีวิต แต่ความต้องการครั้งสุดท้ายของชีวิต เรากลับมีโอกาสน้อยมากที่จะได้เลือก ส่วนใหญ่คนที่ต้องแบกรับภาระใหญ่คือครอบครัวเรา ซึ่งเป็นเรื่องยากของคนที่เรารักมากที่จะตัดสินใจถึงชีวิตของอีกคน ในบางครอบครัวใหญ่อาจจะมีลูกกตัญญูจากดินแดนอันไกลโพ้นที่โผล่มาตัดสินใจจากไหนก็ได้ ใครจะรู้?

เราเลือกอะไรให้ตัวเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตบ้าง?

(ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์)


พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ระบุว่า
"บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนา ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง"


จากพ.ร.บ.นี้หมายความว่าเราสามารถเขียนหนังสือแสดงถึงความต้องการในการรับการรักษาในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตได้ โดยเมื่อหมอทำตามไม่ถือว่ามีความผิด เช่น หากมีการปั๊มหัวใจขึ้นมาแล้วไม่สามารถมีชีวิตทีมีคุณภาพดีได้ จะขอไม่ปั๊มหัวใจ หรือการไม่ขอรับการรักษาใดๆที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อเวลา หนังสือแสดงเจตนาหรือ Living will เป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศฝั่งตะวันตกและสหรัฐอเมริกา หนังสือ "living will" ไม่ได้มีแบบฟอร์ม แต่มีตัวอย่างที่คุณผู้อ่านสามารถไปหามาดูไว้เพื่อเขียนตามได้


นี่เป็นตัวอย่างหนังสือแสดงเจนตาของ นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ ที่มีการเผยแพร่ไว้

เราเลือกอะไรให้ตัวเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตบ้าง?

เราเลือกอะไรให้ตัวเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตบ้าง?

(ที่มา http://www.thailivingwill.in.th/sites/default/files/livingwill_jum.pdf )


ศ.แสวง ยังอธิบายถึง Living will เพิ่มเติมว่า "เป็นการปฏิเสธการรักษาพยาบาลที่เป็นเพียงเพื่อยืดการตายโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ แต่ผู้ป่วยยังคงได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care)"


พอเราได้ฟังก็ฉุกคิดได้ว่า นั่นสิเพราะเราไม่รู้ว่าวันสุดท้ายของชีวิตเราจะมาถึงเมือ่ไหร่ แล้วเราอยากได้รับการรักษาแบบไหน นี่สิ่งที่เราควรจะเลือกให้กับตัวเองไม่ใช่หรือ ในเมืองกฎหมายบอกว่าเรามีสิทธิเลือกได้ แล้วเราก็คิดว่าตัดสินใจเขียนไว้ตั้งแต่ตอนนี้ในขณะที่เรายังมีสติรู้ตัวอยู่ ก็จะดีกว่ารอช่วงเวลาสุดท้าย(ที่อาจจะมาถึงในอีก 1 นาที 1 ปี หรือ 10, 20, 30 ปี ที่เราไม่เคยรู้)


กิ๊ฟท์มีเพื่อนที่เขียน Living will นอกจากจะพูดถึงการรักษาที่เธอต้องการแล้ว ยังเขียนไปถึงการจัดการงานศพว่าต้องการงานศพรูปแบบใด เงินที่ได้จากงานศพจะไปทำบุญต่อที่ไหนบ้าง ... ซึ่งเราออกแบบมาหลายงานสำคัญๆชีวิต น้อยคนนักที่จะได้ออกแบบงานศพของตัวเอง ให้เป็นไปตามที่เราต้องการเมื่อเรามีหนังสือ Living will แล้วก็ควรเก็บหนังสือไว้ที่ตัวเอง 1 ฉบับแล้วก็มีสำเนาที่เขียนสำเนาถูกต้องไว้ให้คนในครอบครัว คนใกล้ชิดที่เราไว้ใจ เผื่อไว้ที่วันนึงหนังสือฉบับนี้ที่เราต้องมอบให้แพทย์ผู้ให้การรักษา


เมื่อรู้แล้วว่าเราเขียนหนังสือแสดงความต้องการในการรับการรักษาได้ ก็มาต่อที่รู้จักกับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ สาขาวิชาระบบทางเดินทาง สาขาวิชาโรคระบบทางเดินหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เราเลือกอะไรให้ตัวเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตบ้าง?

(รศ.นพ. ฉันชายสิทธิพันธุ์)


เปิดมาด้วยสิ่งใกล้ตัวที่เราไม่เคยนึกมากก่อนว่าชีวิตเรามีค่าใช้จ่ายสูงมากในช่วง 6 เดือนสุดท้ายของชีวิต เราฟังแล้วได้แต่คิดในใจ โหหห... ทำงานเก็บเงินมาทั้งชีวิต ต้องมาใช้มากมายในช่วงสุดท้ายหรอเนี่ย

แล้วเราเลือกอะไรได้บ้างหล่ะ ในการดูและรักษาช่วงสุดท้ายของชีวิต? หากวันใดวันนึงเราเป็นโรคร้ายแรง เราอยากได้รับการรักษาแค่ไหน?


เราสามารถคิดเลือกได้ตั้งแต่วันนี้ เป็นการวางแผนเพื่อตัวเองกับอนาคตที่ไม่ใครรู้ ว่าถ้าไม่เลือกตั้งแต่ตอนนี้ ในอนาคตคนอื่นจะเลือกอะไรให้เราPalliative Care หรือ การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลที่ครอบคลุมทุกด้านโดยองค์การอนามัยโลกรับรองการรักษารูปแบบนี้Palliative Care เป็นการดูแลผู้ป่วยที่เน้นคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ดูแลความเจ็บปวดทางร่างกายผสมกับการดูและด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ยอมรับว่าการตายเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่เร่งและไม่ยืดความตาย โดยเป็นการรักษารูปแบบที่มีทั้งการดูแลและระบบช่วยเหลือผู้ป่วยให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนตาย และยังมีการดูแลญาติของผู้ป่วยก่อนและหลังผู้ป่วยเสียชีวิต


รศ.นพ. ฉันชาย บอกว่าความเชื่อและแนวคิดที่มีผลต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยรูปแบบนี้ คือ Autonomy หรือการยอมรับสิทธิผู้ป่วยที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตัวเองในทางเลือกในการรักษา ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วยถูกต้อง มีความสามารถในการตัดสินใจ แพทย์และญาติสามารถให้ความเห็นได้


ถ้าคุณผู้อ่านอยากรู้เรื่องราวของการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมากขึ้น สามารถเข้าไปดาว์นโหลดเอกสารเผยแพร่ได้ที่นี่ค่ะ http://www.thailivingwill.in.th/e_book/Palliative_care/files/assets/basic-html/page1.html

"อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข" ทำให้กิ๊ฟท์ได้รู้ถึงสิทธิของตัวเองในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตมากขึ้น รู้ว่าเราจะสามารถเตรียมตัวอะไรได้บ้าง และรู้ว่าถ้าวันนึงเราป่วยด้วยโรคร้ายแรง โรคเรื้อรัง เรามีสิทธิเลือกการรักษาที่คิดว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะกับเราได้


มากไปกว่านั้นจากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่สูญเสียคนที่รักสิ่งที่สำคัญที่เราควรรีบทำตั้งแต่ตอนนี้อีกอย่าง คือ พินัยกรรมทรัพย์สมบัติต่างๆ หากวาระสุดท้ายของชีวิตเราเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน พินัยกรรมก็จะเป็นประโยชน์ต่อคนที่อยู่ข้างหลัง เอกสารส่วนตัว บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านโฉนด รายละเอียดทรัพย์สิน เก็บไว้ด้วยกัน แจ้งให้คนในครอบครัว คนที่ไว้ใจทราบ

เตรียมตัวอยู่เสมอ..วินาทีสุดท้ายของเราคือเมื่อไหร่ก็ไม่รู้..แต่ที่รู้คือมันมาถึงเราแน่ๆ


ใครอยากอ่านเรื่องราวของ "อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข" เพิ่มเติม ไปได้ที่เว็บนี้ค่ะ http://www.cheevamitr.com/blog/21

นักข่าวจอมจุ้นธรรญฐ์ฌนก ศรีธเนศชัยTwitter: @ThanchyS

logoline