svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รักโลก by วชิรวิทย์ | ปิดตำนานสำเพ็ง ?

14 มีนาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรุงเทพมหานครกำลังจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระแห่งใหม่ จากฝั่งท่าน้ำราชวงศ์ ไปยังท่าน้ำท่าดินแดง ซึ่งทั้งสองฝั่งมีชุมชนดั่งเดิมอาศัยอยู่ อย่างที่ท่าน้ำราชวงศ์ ก็มีตลาดสำเพ็งที่เก่าแก่ค้าขายกันมากว่า 100 ปีแล้ว โครงการก่อสร้าง สะพานดังกล่าวอาจกระทบกับการวิถีชีวิตของตลาดแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านที่นั่นถึงกับบอกว่าหารสะพานสร้างเสร็จ ก็ถึงคราวต้องปิดตำนานตลาดสำเพ็ง



นี่คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2561 ผู้ค้าและชาวชุมชนตลาดสำเพ็งรวมตัวคัดค้านโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งท่าเรือราชวงศ์ไปยังท่าเรือท่าดินแดง หลังทราบข่าวว่าโครงการยังคงเดินหน้า จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 วันนั้น ผู้ค้าตลาดสำเพ็งคนหนึ่ง ใช้ตลับเมตรวัดความกว้างของถนนราชวงศ์ให้ ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ได้ดู พบว่าถนนมีความกว้างเพียง 15 เมตร 30 เซนติเมตร ซึ่งมีขนาดแคบเกินกว่าที่จะสามารถสร้างสะพานซ้อนทับได้ และที่สำคัญ มัน จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การค้าขายและวิถีชุมชน ของทั้งตลาดสำเพ็งฝั่งราชวงศ์ และชุมชนท่าดินแดงที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง ไปอย่างสิ้นเชิง

ทีมข่าวชั่วโมงสืบสวนจึงย้อนกลับไปดูวิถีชีวิตของชาวชุมชนทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำ เพื่อทำความเข้าใจ ปัญหา และให้เห็นภาพของผลกระทบที่อาจจะเกิด หากมีการก่อสร้างสะพานนี้

ที่นี่คือตลาดฝั่งท่าดินแดง เมื่อเดินถามตามแฝงค้าต่างๆ ว่าเห็นด้วยหรือไม่ หากมีการก่อสร้างสะพานขึ้นเหล่านี้คือคำตอบที่ได้รับ"ทุกวันนี้ก็ดีอยู่แล้ว" "ไม่ต้องการสะพาน" "เสียฮวงจุ้ย"

ศาลเจ้าซำไนเกง เป็นหนึ่งในราณสถานกว่า 200 แห่ง ในรัศมีการก่อสร้างโครงการ 2 กิโลเมตร และอยู่ไกลกับจุดที่ก่อสร้างโครงการมากที่สุด

รักโลก by วชิรวิทย์ | ปิดตำนานสำเพ็ง ?



ศาลเจ้าแห่งนี้ตามหลักฐานที่ปรากฎสร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 4 โดยชาวจีนเชื้อสายฮักกา ซำไนคือเทพเจ้าที่เป็นผู้หญิง 3 องค์ ประทานพรทั้งเรื่องของการค้าขาย ศิลปะการศึกษา และสุขภาพ

หญิงคนนี้มีความผูกพันกับศาลเจ้าแห่งนี้มาตั้งแต่เด็ก เธอเล่าให้ฟังว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีชาวไทยเชื้อสายจีนมาสักการะจำนวนมาก บางคนเคยตั้งถิ่นฐานที่นี่ หลังค้าขายจนสร้างตัวได้ ย้ายไปอยู่ที่อื่น ก้กลับมาไหว้ซำไนเกงเป็นประจำทุกปี

เสาวลักษณ์ บอกว่าโครงการก่อสร้างสะพานก็ต้องกระทบกับพื้นที่หน้าศาลเจ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นหมายถึงว่ากระทบกระเทือนจิตใจของคนในชุมชนแห่งนี้ด้วย

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาถนนราชวงศ์-ถนนท่าดินแดง เป็นโครงการที่ถูกอนุมัติมาตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ปี 2547 โดยคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก มีมติให้กรุงเทพมหานคร สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 4 แห่ง แต่เดิมโครงการสะพานที่จะสร้างผ่านชุมชนตลาดสำเพ็งข้ามไปท่าดินแดงนี้ เป็นสะพานขนาดใหญ่ 6 ช่องจราจร ต้องมีการเวนคืนพื้นที่ เพื่อก่อสร้าง และถูกชาวบ้านคัดค้านอย่างหนัก จนยกเลิกโครงการไปเมื่อปี 2554

รักโลก by วชิรวิทย์ | ปิดตำนานสำเพ็ง ?



ต่อมา ปี 2560 กรุงเทพมหานคร ว่าจ้าง บริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนท์ จํากัด แก้ไขแบบสะพานให้เล็กลงมีขนาด 2 ช่องจราจร ความยาว 480 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากแยกถนนทรงวาด ตัดผ่านถนนราชวงศ์ ท่าเรือราชวงศ์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มายังท่าเรือท่าดินแดง ถึงถนนท่าดินแดน เพื่อช่วยแบ่งเบาการจราจรจากสะพานพระปกเกล้า และสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการทำรายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม และนี่เป็นบรรยากาศเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในรัศมี 500 เมตร 2 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชาวบ้านที่เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นส่วนมาก ยังคงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับวิถีตลาดดั่งเดิม อีกทั้งพวกเขาไม่วางใจว่า การทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งก่อนหน้านี้ ไม่ปรากฎข้อมูลการคัดค้านของชาวชุมชนในพื้นที่ ไม่มีความรอบด้านในแง่การพิสูจน์ผลกระทบ

ตลาดสำเพ็งเป็นตลาดชาวจีนที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดเจ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงย้ายชุมชนชาวจีนที่เดิมอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง มาที่บริเวณวัดสามปลืม กลายเป็นแหล่งขายค้าของชาวจีนมาจนถึงทุกวันนี้ วิถีชีวิตการค้าขายยังคึกไม่เปลี่ยนแปลง

การเสด็จเยือนชาวสำเพ็งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี 2498 ยังคงเป็นภาพจำของชาวสำเพ็งมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์ทั้งหมด แต่เปลี่ยนไปหากมีการสร้างสะพานขึ้น

รักโลก by วชิรวิทย์ | ปิดตำนานสำเพ็ง ?



หญิงชราวัย 81 ปีคนนี้ยังคงมานั้งเฝ้าร้านขายเครื่องเขียน เหมือนอย่างที่เคยทำมาเกือบทั้งชีวิต แม้วันนี้ ร้านค้าของเธอ จะจดทะเบียนเป็นบริษัท และมีลูกสาวคอยดูแลกิจการแล้ว แต่อาจเป็นเพราะว่า สำเพ็งเป็นสถานที่ที่เธอมีความผูกพัน อดีตที่เคยลำบาก และปัจจุบันที่มีพร้อมทุกอย่าง ทุกความทรงจำล้วนเกิดขึ้นที่นี่

เช่นเดียวกับครอบครัวนี้ที่สร้างตัวจากการฝึกฝนเริ่มจากเป็นลูกจ้างในตลาดสำเพ็จ จนกลายเป็นเจ้าของกิจการอย่างทุกวันนี้ พวกเขาเล่าว่า สำเพ็งเปรียบเหมือนท้องมังกรตามความเชื่อของชาวจีน หากมีการสร้างสะพาน ก็เหมือนเป็นการเปลี่ยนฮวงจุ้ย อาจทำการการค้าขายซบเซาไป

รักโลก by วชิรวิทย์ | ปิดตำนานสำเพ็ง ?



โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าราชวงศ์ ท่าดินแดง อยู่ระหว่างการทำรายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในส่วนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียง หรือเวทีประชาพิจารณ์ครั้งที่ 2 ซึ่งมีชาวบ้านออกมาค้านคัดจำนวนมาก โครงการนี้จึงน่าจับตาว่าจะถูกหน่วยงานภาครัฐผลักดันต่อไปหรือไม่

logoline