svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เปิดหมดเปลือกโกง IFEC เงินล่องหน 6.5พันล้าน

13 มีนาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บอร์ดตรวจสอบไอเฟค สุดทนพฤติกรรมฉาวอดีตผู้บริหาร ควงคู่แฉหมดเปลือกสารพัดข้อสงสัย ทั้ง "ปกปิดข้อมูล-ตั้งสำรองหนี้น่าสงสัย-ลงทุนต่างประเทศส่อทุจริต -เงินกู้กว่า 6.5 พันล้านบาทล่องหน" ระบุพยายามปรับหนี้ให้แล้ว แต่ถูกยกเลิก แถมถูกแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบทุกทาง


 นายฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ กรรมการตรวจสอบ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ร่วมแถลงข่าวเปิดโปงกระบวนการทุจริต ใน IFEC ร่วมกับ พลตรีบุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ ประธานกรรมการตรวจสอบ IFEC ดังข้อความต่อไปนี้


 นายฉัตรณรงค์  กล่าวว่า ตนในฐานะกรรมการตรวจสอบซึ่งได้รับการแต่งตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 พร้อมกับ พลตรี บุญเลิศ โดยตนนั้นมีประวัติการทำงานเป็นผู้บริหารมืออาชีพทั้งจากภาครัฐและเอกชน เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมาหลายแห่งซึ่งเคยบริหารกองทุนทางการเงินที่มีวงเงินลงทุนหลักล้านๆ บาทมาแล้ว และมีเชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการเชิงธรรมาภิบาลมามาก


ในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาตนพยายามใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่สะสมมาให้ความแนะนำแก่ฝ่ายบริหารของ  IFEC และชี้ให้เห็นถึงแนวทางแก้ปัญหาของบริษัทเพื่อหวังว่าจะนำพา IFEC ไปสู่บริษัทที่มีศักยภาพรุ่งเรืองประสบความสำเร็จทั้งในเชิงการบริหารจัดการ การบริหาร เชิงรายได้และลดต้นทุน ต้องการเห็น IFEC มีการบริหาร เชิงยุทธศาสตร์ การบริหารการเงินและบัญชี การปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดรับกับรายได้ของบริษัท 


แต่ก็ประจักษ์แก่ตัวเองแล้วว่า ภายใต้โครงสร้างขององค์กร และเงื่อนไขการบริหารจัดการในรูปแบบของ IFEC ที่ไม่พยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างให้โปร่งใสชัดเจนดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ไม่สมารถทำให้ความพยายามและความหวังของตัวเองเกิดผลเป็นรูปธรรมได้เลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง แต่ตนยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้ IFEC ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัดและเป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯมีผู้ถือหุ้น 30,000 กว่าคน ต้องได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ ตนและประธานกรรมการตรวจสอบจึงจำเป็นจะต้องมาเปิดเผยข้อมูลและปัญหาต่างๆ ให้ทราบ


  นายฉัตรณรงค์ ได้ชี้แจงรายละเอียดข้อสงสัยของคณะกรรมการตรวจสอบในการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร IFEC ที่เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำทุจริ ฉ้อฉลโดยสรุปเป็นประเด็นๆดังนี้


 1.การบริหารจัดการที่ผ่านมาอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจที่แท้จริงอยู่ที่คนๆเดียวทั้งหมดทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการบริหารจัดการ และแม้ว่า อดีตผู้บริหารดังกล่าวจะถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษจนต้องออกจากตำแหน่งไปแล้ว ก็ยังฝ่าฝืนข้อห้ามของก.ล.ต. เข้ามาบงการสั่งการฝ่ายบริหารอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา



  2. การสร้างอาณาจักรบุคคลล้อมรอบกายของอดีตผู้บริหารที่กุมอำนาจไว้ บุคคลต่างๆ เหล่านั้นเป็นผู้ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเชิงบริหารและได้ข้อมูลผิดๆรวมทั้งขาดความรู้ประสบการณ์และพื้นฐานทางการศึกษาที่เหมาะสมกับการทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 

 3.มีการปกปิดข้อมูลเชิงลึก ซึ่งควรรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. ผู้ถือหุ้นเจ้าหนี้สถาบันการเงิน  และเจ้าหนี้ตราสารหนี้ ได้รับทราบและตรวจสอบตรวจทาน 

 4. มีการทุจริต/ฉ้อโกงเกิดขึ้นในบริษัทฯตั้งแต่ปี 2557-2559 เป็นต้นมาและมีการต่อสู้ฟ้องร้องกันไปมาอยู่ในขณะนี้ยิ่งนานวันยิ่งเสียหายมากขึ้น

 5.การตรวจสอบและรับรองงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีอนุญาต คือ บริษัทกรินทน์ออดิท จำกัด ในปี 2559 มีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวนที่สูงมากราว 1,800 ล้านบาทเศษ

 6. สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการที่ผู้สอบบัญชีไม่ขอแสดงความคิดเห็นต่อการลงทุนในโครงการลงทุนในต่างประเทศได้แก่กัมพูชา เวียดนาม ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย รวมทั้งทุกโครงการมิได้มีการทำดิวแคร์ (Due Care) แต่อย่างใด ก่อให้เกิดคำถามในสังคมว่าเงินลงทุนจำนวนมหาศาลหายไปไหนหรือถูกใช้ไปอย่างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด ซึ่งผู้สอบบัญชีได้เพียงแต่บอกว่าในทุกโครงการไม่มีเอกสาร หรือไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการตรวจสอบซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควรเกิดขึ้นอย่างยิ่ง 

 7.การระดมเงินทุนจากการออกตราสารหนี้ซึ่งเป็น instrumental ทางการเงินประเภทต่างๆกว่า 6,500 ล้านบาท และยังไม่รวมส่วนเงินกู้จากสถาบันการเงิน ไม่สามารถตรวจสอบเชิงลึกว่าเงินหายไปไหน ถูกใช้ไปอย่างไรบ้าง เหมาะสมหรือไม่เพียงใด แม้จะมีการสอบทานด้วยวิธี bank reconcile ก็ยากลำบากเพราะมีการปิดบังข้อมูลตลอดเวลา แม้ว่าประธานกรรมการตรวจสอบจะร้องขอไปหลายครั้งแล้วก็ตาม ภาระหนี้สินดังกล่าวทำให้ IFEC มียอดหนี้รวมดอกเบี้ยถึงปัจจุบัน ประมาณ 8,500 ล้านบาทในขณะที่มีสินทรัพย์ราว 12,000 ล้านบาท ซึ่งหากถูกตั้งค่า  depreciation,impairment ,force sale  คุณภาพและราคาสินทรัพย์ก็อาจจะมีมูลค่าต่ำลงไปอีก

 8.การเข้าไปซื้อกิจการโรงแรมดาราเทวีราว 4,170 ล้านบาท ในลักษณะเร่งรีบทำให้ราคาซื้อสูงเกินกว่ามูลค่าความเป็นจริง ซึ่งเมื่อมีการคำนวณถึง income/cost approach ราคาที่ได้มาไม่น่าคุ้มค่าต่อการลงทุน อีกทั้งก่อนซื้อกิจการก็มิได้ทำ due diligence อย่างถูกต้องตามาตรฐานอีกทั้ง มีหนี้ที่น่าจะปลอมเกิดขึ้นในบัญชีอีกกว่าร้อยล้านบาท และมีการชำระเงินออกไปหลายล้านบาทก่อนเซ็นสัญญาซื้อขาย มีการเช่าหน้าบาน เช่าอุปกรณ์ตกแต่งนอกเหนือจากราคาซื้อ ปัญหาเรื่องโรงแรมตั้งอยู่คร่อมลำรางสาธารณะ ซึ่งจะมีปัญหาต่อใบอนุญาตกิจการและการขออนุมัติเรื่องรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIAในส่วนของห้องพักที่เกินจำนวน 80 ห้อง 


อีกทั้งมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการที่มีไม่โปร่งใส มีการไล่ผู้บริหารมืออาชีพออกรายได้ตกต่ำสุดขีดในขณะที่สภาพโรงแรมทรุดโทรมและมีการนำเงินออกมาเลี้ยง IFEC และจ่ายดอกเบี้ยให้ IFEC จนทำให้โรงแรมขาดสภาพคล่องอย่างหนักรายได้ตก พนักงานได้รับผลกระทบตามมามากมาย


 9..บริษัทฯมิได้วางรูปแบบบริหารตามหลัก Corporate Governance ไม่ว่าจะเป็น Vision , Mission, Strategy, Tactic , Planning, Project Grouping , BSC, KPI ,  Risk Man

logoline