svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เวเนซูเอลาประกาศขายเงินดิจิตัลของตนเองเป็นครั้งแรก

22 กุมภาพันธ์ 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดาวโจนส์ผันผวนร่วง 500 จุดในช่วง 2 วันซื้อขายติดต่อกันสัปดาห์นี้ หลังบอนด์ยีลด์รัฐบาลสหรัฐพุ่งทะลุ 2.95% สูงสุดในรอเกือบ 5 ปี ท่ามกลางการประมูลขายบอนด์รอบล่าสุดวงเงิน 50,000 ล้านดอลลาร์ของกระทรวงการคลังสหรัฐเมื่อวันพุธ ส่งผลให้การก่อหนี้ด้วยการออกบอนด์ของรัฐบาลพุ่งขึ้นแตะ 20.76 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 105% ของจีดีพี


ขณะที่การขาดดุลงบประมาณรัฐบาลพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2018 นี้ หลังจากภาระขาดดุลงบประมาณดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างปี 1950-2017 โดยจะเพิ่มขึ้นอีกจนถึงปี 2025 เพิ่มขึ้นอีกปีละ 2.5% ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยที่จะปรับตัวขึ้นทะลุที่ระดับ 4% ในช่วงเวลาดังกล่าว


ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มผู้ที่เข้าซื้อบอนด์รัฐบาลสหรัฐประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ คือ กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นรัฐบาลต่างประเทศ ถัดมาเป็นธนาคารกลางสหรัฐ และกลุ่มนักลงทุนในสหรัฐ (pensions, banks, mutual funds, individuals)




1. ดาวโจนส์ผันผวนร่วง 500 จุดในช่วงระหว่างชั่วโมงซื้อขาย 2 วันติดต่อกันสัในวันอังคารและพุธ หลังบอนด์ยีลด์รัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งทะลุ 2.95% สูงสุดในรอเกือบ 5 ปี ท่ามกลางการประมูลขายบอนด์รอบล่าสุดวงเงิน 50,000 ล้านดอลลาร์ของกระทรวงการคลังสหรัฐเมื่อวันพุธ ส่งผลให้การก่อหนี้ด้วยการออกบอนด์ของรัฐบาลพุ่งขึ้นแตะ 20.76 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 105% ของจีดีพี
โดยที่ดัชนีรรมดาวโจนส์ปิดในวันพุธที่ 24,797 ลดลง 166.97 จุด หรือ 0.67% ต่อเนื่องจาดวันอังคารที่ร่วงลง 254 จุดหรือ 1.01% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,218 ลดลง 16.08 จุด หรือ 0.22% และ S&P500 ปิดที่ 2,701 ลดลง 14.93 จุด หรือ 0.55%

หลังจากเฟดเปิดเผยรายงานผลการประชุมเมื่อเดือนมกราคมระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะดีดตัวขึ้นในปีนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป นอกจากนี้ รายงานการประชุมของเฟดดังกล่าวังส่งผลให้บอนด์ยีลด์รัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้น และเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นงอลล์สตรีทร่วงลงอีกด้วย



2. ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มผู้ที่เข้าซื้อบอนด์รัฐบาลสหรัฐประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ คือ กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นรัฐบาลต่างประเทศซึ่งถือบอนด์มูลค่าถึง 6.3 ล้านล้านดอลลาร์ ถัดมาเป็นธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เข้ามาซื้อบอนด์รัฐบาลถึง 2.2 ล้านล้านดอลลาร์จากยอดภาระ QE ซึ่งอยู่ในบัญชีงบดุลของเฟด 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งพันธะถือครองจนถึงปี 2022 และกลุ่มนักลงทุนในสหรัฐ (pensions, banks, mutual funds, individuals)


โดยรัฐบาลต่างชาติที่เข้าลงทุนฝนบอนด์รัฐบาลสหรัฐกลุ่มใหญ่ที่ถือเกินกว่า 55% นั้นคือ จีนถือคอรงวงเงิน 1.2 ล้านลเานดอลลาร์ ญี่ปุ่นราว 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ และกลุ่มที่มีชื่อว่า BLICS ประกอบด้วย Belgium, Luxembourg, Ireland, Cayman Island และ Switzerland




3. ขณะที่การขาดดุลงบประมาณรัฐบาลพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2018 นี้ หลังจากภาระขาดดุลงบประมาณดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างปี 1950-2017 โดยจะเพิ่มขึ้นอีกจนถึงปี 2025 เพิ่มขึ้นอีกปีละ 2.5% ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยที่จะปรับตัวขึ้นทะลุที่ระดับ 4% ในช่วงเวลาดังกล่าว


ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดให้มีการประมูลล็อตใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปี 2000-2007 ปีละ 160,000 ล้านดอลลาร์ ถัดมาในช่วงปี 2008-2014 ปีละ 540,000 ล้านดอลลาร์ และช่วงปี 2015-2018 ปีละ 50,000 ล้านดอลลาร์




4. ขณะที่เวเนซูเอลาประกาศขายเงินดิจิตัลของตนเองที่เรียกส่า Crypetrocurrency ในราคาเนิ่มต้นที่ 60 ดอลลาร์ต่อ 1 Crypetrocurrency เพื่อต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ รวมทั้งต้องการความเป็นอิสระในการดำเนินนโยยายเศรษฐกิจ ในการบริหารหนี้ต้่งประเทศที่มีภาระมากกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์


รัฐบาลเวเนซูเอลาได้ออก Crypetrocurrency จำนวน 100 ล้านโทเคน โดยที่ทุกๆ โทเคนจะมีน้ำมันดิบของเวเนซูเอลาจำนวน 1 บาร์เรลให้การหนุนหลัง โดยวางเป้าการออกสกุลเงิน "petro" หรือ Crypetrocurrency เป็นมูลค่ารวมมากกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์



5. อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่า หลังจากที่เวเนซูเอลาออกสกุลเงินดิจิตัล petro จะปูทางให้ผู้นำระดับโลกคนอื่น รวมทั้งวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน โดยใช้น้ำมันและแก๊สเป็นปัจจัยหนุนหลังการออก Crypetrocurrency

โดยเฉพาะทั้งรัสเซียและเวเนซูเอลา ต้องรับมือกับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ ทั้งนี้ รัสเซียอยู้ระหว่างพิจารณาออกสกุลเงินดิจิตัลที่มีชื่อว่า CryptoRuble เพื่อหลีกเลี่ยงการค้าน้ำมันที่ต้องพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์

logoline