svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สภาพัฒน์ประเมินข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงในปี 2018

19 กุมภาพันธ์ 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สภาพัฒน์ประเมินข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงในปี 2018 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยสำคัญ 3 ด้านที่ประกอบด้วย หนึ่ง ความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจโลก สอง ราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และสาม การลดลงของแรงขับเคลื่อนจากภาคเกษตร ส่งผลจีดีพีไทยปีนี้ขยายตัวเฉลี่ยที่ 4.1% เทียบกับปี 2017 ขยายตัวที่ 3.9% และปี 2016 ขยายตัวที่ 3.3%


ในส่วนที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนในปีนี้ คือการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน การปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงานและฐานรายได้ของประชาชนในระบบเศรษฐกิจ จะส่งผลให้แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่องของสาขาเศรษฐกิจสำคัญๆ รวมทั้ง การขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจโลกสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ดีและการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวชัดเจน อีกทั้งแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐบาลยังอยู่ในเกณฑ์ดีในขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้น


1. สภาพัฒน์ประเมินข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงในปี 2018 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยสำคัญ 3 ด้านที่ประกอบด้วย หนึ่ง ความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจโลก สอง ราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และสาม การลดลงของแรงขับเคลื่อนจากภาคเกษตร ส่งผล GDPไทยปีนี้ขยายตัวเฉลี่ยที่ 4.1% (ระหว่าง 3.6-4.6%) เทียบกับปี 2017 ขยายตัวที่ 3.9% และปี 2016 ขยายตัวที่ 3.3%

ขณะที่มีการประเมินเศรษฐกิจโลกว่าในปี 2018 จะขยายตัวที่ 3.8% เร่งตัวขึ้นเป็นปีที่ 2 และสูงสุดในรอบ 7 ปี การส่งออกขยายตัวดีต่อเนื่องทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งปีขยายตัวเร่งขึ้นและสนับสนุน GDP (Gross Domestic Products) ได้มากขึ้น

ในรายงานของสภาพัฒน์ยังชี้ถึงภาวะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 3 ปีที่มีอย่างต่อเนื่อง ในปี 2016 มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ 11.7% ในปี 2017 เกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ 10.8% และในปี 2018 จะยังคงมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ 7.8%

ส่วนเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 1.4% (ระหว่าง 0.91.9%) ในปี 2018 เทียบกับปี 2017 อยู่ที่ 0.7% และปี 2016 อยู่ที่ 0.2% ขณะที่เงินบาทยังทรงตัวแข็งค่าที่ระดับ 31.27 บาทต่อดอลลาร์ เป็นระดับการแข็งค่าเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2014



2. สำหรับในระบบเศรษฐกิจโลกและการเงินโลกยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวน ตามการปรับคาดการณ์ของนักลงทุนในช่วงเปลี่ยนผ่านของโลกเข้าสู่ช่วงขาขึ้นของวัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย

ส่วนการปรับคาดการณ์ของนักลงทุนเกี่ยวกับฐานะการคลังระยะยาว และอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐมีความเสี่ยงที่จะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า และกดดันเงินบาทอย่างต่อเนื่อง

นอกจากความเสี่ยงจากทิศทางนโยบายสหรัฐ และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจการเมืองในประเทศและภูมิภาคสำคัญๆ ทั้งในประเด็น NAFTA BREXIT เลือกตั้งอิตาลี การเมืองในสเปน ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี และตะวันออกกลาง



3. ทางด้านระดับราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปั 2017 นับจากผลผลิตหรือ Output Gap ของประเทศพัฒนาแล้วที่ปิดตัวลง เริ่มสัญญาณเงินเฟ้อชัดเจนมากขึ้น ธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักจะมีการปรับนโยบายการเงิน โดยเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายและลด QE

แต่ประเทศกำลังพัฒนาโดยรวมยังขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพปี 2018 จาก Output Gap ของประเทศกำลังพัฒนาปิดลงในครึ่งปีหลังปีก่อน ส่วนเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วขยายตัวสูงกว่าศักยภาพ ทำให้อัตราเงินเฟ้อ ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นชัดเจนมากขึ้น และธนาคารกลางประเทศต่างๆ ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย และปรับลดงบดุลเป็นวงกว้างมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเร็วกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

ขณะเดียวกันประชาชนและธุรกิจที่มีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อมีแนวโน้มได้รับผลกระทบมากขึ้นในระยะต่อไป



4. ทางด้านการลดลงของแรงขับเคลื่อนจากภาคเกษตร เนื่องจากในปี 2017 โดย GDP ภาคเกษตรขยายตัวสูงที่ 6.2% จากฐานที่ต่ำในช่วงภัยแล้งปี 2015-2016 และสนับสนุนการขยายตัว GDP ที่ 0.5% ในปี 2018 การขยายตัวภาคเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัวลงเข้าสู่การขยายตัวปกติตามฐานการขยายตัวที่สูงขึ้น และสนับสนุนการขยายตัวของ GDP ได้น้อยลง

ดังนั้น แรงขับเคลื่อน GDP จากภาคเกษตรมีความเสี่ยงที่จะลดลงเร็วกว่าคาดการณ์ หากได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานีญา


5. นอกจากนี้สภาพัฒน์ได้ชี้ถึงปัจจัยสนับสนุนในปี 2018 เช่น การฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน การปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงานและฐานรายได้ของประชาชนในระบบเศรษฐกิจ จะส่งผลให้แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่องของสาขาเศรษฐกิจสำคัญๆ

รวมทั้งการขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจโลกสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ดีและการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวชัดเจน อีกทั้งแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐบาลยังอยู่ในเกณฑ์ดีในขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นด้วย

logoline