svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

นักเรียน ม.ปลาย บ่นอุบ "หนังสือยืมเรียน" ล้มเหลว ของมันต้องมีของมันต้องใช้ จะให้ยืมทำไม?

17 กุมภาพันธ์ 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ล้มเหลวมากเลยนะ คิดว่าเรียนจบไปปีนึงแล้วเนื้อหาที่เรียนไปไม่ต้องไปทบทวนหรอ หรือไง ? ก็เห็นๆอยู่ว่าข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยใช้เนื้อหาตั้งแต่ ม.4-6 จะให้คืนหนังสือก็ออกข้อสอบแค่เนื้อหา ม.6 ปีเดียว

ใกล้สิ้นปีการศึกษา มีน้องๆ นักเรียนพูดถึงนโยบายหนังสือยืมเรียน ที่พวกเขาได้รับผลกระทบโดยตรง "ภัทร์ชัยรัตน์ นามวันสา" นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนxxxx กล้าหาญออกมาวิจารณ์เรื่องนี้ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว

"พูดถึงการคืนหนังสือเรียนในแง่ของการศึกษาจริงๆแล้ว ส่วนตัวคิดว่าล้มเหลวมากเลยนะ คิดว่าเรียนจบไปปีนึงแล้วเนื้อหาที่เรียนไปไม่ต้องไปทบทวนหรอ หรือไง ? ก็เห็นๆอยู่ว่าข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยใช้เนื้อหาตั้งแต่ ม.4-6 จะให้คืนหนังสือก็ออกข้อสอบแค่เนื้อหา ม.6 ปีเดียวดิ ไม่ก็จัดสอบเนื้อหาทีละปีไปเลย ม.4สอบที ม.5 สอบที คงไม่ใช่ที่ให้เรียนไปแล้วปีสองปีแล้วค่อยสอบแต่ไม่มีหนังสือให้ทบทวน ทำไงอะ เรียนพิเศษซื้อเองใหม่ เป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างฐานะไปเรื่อยๆ หรือเปล่า"

ภัทร์ชัยรัตน์ เสนอต่อไปว่า "อีกกรณีคือให้นักเรียนซื้อเรียนเองเลย 400-500 บาทก็เก็บกันไป ถ้ารัฐบาลจะประหยัดงบกับการศึกษาขนาดนั้น คืนหนังสือเรียน อยู่ในวงการการศึกษาไทยมาทั้งชีวิต ก็เพิ่งเคยเจอ ของมันต้องมี ของมันใช้ ต้องโน้ต ต้องเน้น ต้องพับ ต้องทบทวน อยากมีหนังสือใช้ก็ซื้อเอง ช่องว่างกว้างไม่พอ ขอกว้างกว่านี้ เนื้อหาสังคมงี้อ่ะออกรอบโลก ไม่มีหนังสือทวน เนื้อหา 3 ปี ใครจะไปทำข้อสอบคุณได้"

แต่นักเรียนม.ปลายคนนี้ ก็ยังกล่าวเป็นกำลังใจต่อน้องๆ รุ่นต่อไปว่า "แต่ก็นะรัฐบาลไม่พอใช้ อะไรประหยัดได้ก็ช่วยๆกัน คนไทยด้วยกัน ยินดีกับน้องรุ่นต่อๆไป ด้วยนะครับ"

ด้าน "แสงชัย แสงสีทอง" นักเรียนชั้น ม.6 อีกคนจากโรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปภัมภ์ฯ เห็นว่าแนวคิดหนังสือยืมเรียนมาจากนโยบายของกระทรวงศึกษาที่ไม่ต่อเนื่องและแสดงให้เห็นว่ามันกำลังมีปัญหา
"จริงอยู่ที่ในอดีตมีการให้ยืมเรียนในโรงเรียนหลายแห่งของรัฐ แต่ต่อมาทางกระทรวงศึกษาได้เปลี่ยนเป็นแจกฟรีตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ยกเว้นสมุดกับแบบฝึกหัดที่ต้องจดต้องเขียน แต่กระนั้นสภาพของหนังสือในระบบยืมเรียนนั้นก็ไม่ชวนหน้าดูสักเท่าไหร่ แม้ผ่านมือแค่หนึ่งรุ่น ไม่ใช่ว่าเด็กไม่รักษาของแต่มันคือโดยธรรมดาของหนังสือเรียนอัดกาวทั่วๆไป ที่ต้องใช้ตลอดระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ ทางกระทรวงได้กล่าวถึงการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้เด็กรู้จักรักษาของ ซึ่งถ้าสมมุติว่าจบหนึ่งภาคเรียนแล้วเด็กต้องไปศึกษาต่อในสถานศึกษาอื่น เด็กจะเอาหนังสือที่ไหนอ่าน" แสงชัย ระบุ

ถ้าเราลงย้อนกลับไปดู หลังจาก "หมอธี" นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับตำแหน่งได้ไม่นาน ก็ได้ประกาศนโยบาย "หนังสือยืมเรียน" เพื่อให้ใช้ทันเปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคม 2560 ซึ่งก่อนหน้านี้ "มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์" เลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช.) ได้ออกมาระบุว่า นโยบายหนังสือยืมเรียนขัดรัฐธรรมนูญ ปี 2560, คำสั่ง คสช. 28/2559 และ ขัดต่อ พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ.2560 (1 ตุลาคม 2559- 30 กันยายน 2560) เพราะในการอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2560 หมวดค่าหนังสือเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มิได้มีคำว่าหนังสือให้ยืมเรียนจะมีความผิดตามพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 157"

logoline