svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ถึงเวลา..คนกรุงฯ รับมือ ฝุ่นควันพิษในอากาศ"

14 กุมภาพันธ์ 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ทำให้คนกรุงลืมความหนาวเย็นไปชั่วขณะเพราะแม้จะอากาศเย็น แต่มาพร้อมกับสภาวะอากาศที่นิ่ง ฝุ่นละอองลอย สู่ชั้นบรรยากาศไม่ได้ ก็จมตัวสะสมเป็นฝุ่นละองมลพิษกลางกรุง กระทบต่อสุขภาพของคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง โรคทางเดินหายใจ ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ นับเป็นปัญหาที่รุนแรงในรอบหลายปี

 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินเกณฑ์มาตราฐานติดต่อกันเป็นสัปดาห์ ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมทำให้หลายคนที่หายใจเข้าไปอาจเจ็บป่วยได้ง่าย ปัญหาฝุ่นละอองในฤดูหนาวนี้ ทำให้หลายคนตื่นตัว เป็นภัยเงียบที่คนกรุงจะเพิกเฉยไม่ได้อีกต่อไป ฝุ่นพิษมาจากไหน ?  สำรวจมลพิษจุดที่ไม่มีสถานีตรวจวัดPM 2.5    

"ถึงเวลา..คนกรุงฯ รับมือ ฝุ่นควันพิษในอากาศ"


ผู้อำนวยการกรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "ธารา บัวคำศรี " บอกว่า ฝุ่นพิษมาจากรถยนต์นับล้านคันในกรุง  การก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม  โรงไฟฟ้าถ่านหิน ฝั่งตะวันออก ที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถล่องลอยไปได้ไกลแสนไกล นี่คือปัจจัยที่ก่อมลพิษ ท่ามกลางมลพิษฝุ่น  ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานครยังไม่มีเครื่องมือตรวจวัด วันนี้เราได้ร่วมกับกรีนพีชฯ ออกไปวัดคุณภาพอากาศบนท้องถนน เขตปทุมวัน  พบว่า ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมโครอนอยู่ในระดับ ตั้งแต่ 60-80 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.  ซึ่งเกินเกณฑ์มาตราฐาน

   ล่าสุดได้เห็นการขับเคลื่อนจากภาครัฐ กำหนดมาตราการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาลดมลพิษฝุ่นละอองที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม 

"ถึงเวลา..คนกรุงฯ รับมือ ฝุ่นควันพิษในอากาศ"


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  นายแพทย์  ปิยะสกล สกลสัตยาทร ยืนยันว่า ยังไม่พบผู้เสียชีวิต  หรือ ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น รวมถึงกลุ่มเสี่ยงที่เจ็บป่วยรุนแรง ได้รับผลกระทบจากมลพิษ แม้จะมีปริมาณฝุ่นเพิ่มขึ้น ประชาชนยังดำเนินชีวิต ได้ตามปกติ ไม่ต้องตื่นตระหนก ยกเว้นกลุ่มคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยง ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ ให้หลีกเลี่ยงอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน

 
นายแพทย์ สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญ อธิบดีกรมควบคุมโรค บอกว่า ผู้ที่จะได้รับผลกระทบ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และ จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพ จะต้องอยู่ในพื้นที่ ที่มีมลพิษทางอากาศเป็นเวลานาน เช่น ตำรวจจราจร  วินจักรยานยนต์ สำหรับมาตราการในการป้องกันกรมควบคุมโรค แนะ 5 มาตราการ หลีกเลี่ยง ปิด เลี่ยง ลด เฝ้าระวัง 4 กลุ่มโรคสำคัญ จากฝุ่นพิษ PM 2.5 เลี่ยงสัมผัสฝุ่นละออง ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ใ ช้หน้ากากอนามัยกันฝุ่น เลี่ยงออกกำลังกายกลางแจ้ง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด เยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง เฝ้าระวังเป็นพิเศษ หากจำเป็นต้องออกจากอาคาร ควรใส่หน้ากากอนามัย หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ 

"ถึงเวลา..คนกรุงฯ รับมือ ฝุ่นควันพิษในอากาศ"


"ถึงเวลา..คนกรุงฯ รับมือ ฝุ่นควันพิษในอากาศ"


สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพ นางสุวรรณา จึงรุ่งเรือง รองปลัด กทม.  ชี้ว่า รถยนต์ที่มีในกรุงเทพมหานคร เกือบ10 ล้านคัน ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 25% ถนนไม่เพียงพอรองรับ รถจอดติดเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษมากขึ้น รวมถึงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ กว่า 100 โครงการ   ในภาพรวมกรุงเทพฯ ดำเนินการคุมเข้มตรวจวัดฝุ่นละออง เพิ่มอีก 23 จุด  คุ้มเข้มลดฝุ่นจากการก่อสร้าง ให้เป็นไปตามการควบคุมตามมาตราฐานสิ่งแวดล้อม EIA ทั้งการฉีดน้ำในพื้นที่ก่อสร้าง ห้ามก่อสร้างเวลากลางคืน  ไม่ให้เกิดการสะสมของฝุ่น การตรวจสอบร้านปิ้งย่าง 

"ถึงเวลา..คนกรุงฯ รับมือ ฝุ่นควันพิษในอากาศ"



ขณะที่มาตรการกรมควบคุมมลพิษ ให้ติดตามตรวจสอบ PM 2.5 แจ้งเตือนประชาชน ขอความร่วมมือจังหวัดปริมณฑล งดการเผา 30วัน หลังพบจุดที่เกิดการเผารอบกรุง 27 จุด ตั้งจุดตรวจจับรถควันดำ บังคับใช้กฎหมายร่วมกับ  บก.จร. 18 จุดตรวจวัด เข้มงวดการตรวจสภาพรถโดยสาร ตรวจสอบตรวจจับ (ขนส่ง) ขอความร่วมมือควบคุมฝุ่นกิจกรรมการก่อสร้าง  การระบายมลพิษจากอุตสหากรรม ดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดี  ลดนำยานพาหนะ ส่วนบุคคลเข้าในเขต กทม. (Carpool) งดการเผาขยะ  กิ่งไม้  จะทำให้ฝุ่นละอองลดลง 

"ถึงเวลา..คนกรุงฯ รับมือ ฝุ่นควันพิษในอากาศ"


นาย กมล พรหมสาขา ณ สกลนคร ตัวแทนกรมอุตุนิยมวิทยา ประเมินว่า  สถานการณ์จะค่อย ๆ คลี่คลาย หลังใกล้สิ้นสุดฤดูหนาว จะทำให้อากาศลอยตัวสู่ชั้นบรรยากาศได้สูงขึ้น หลังจากเกิดปรากฎการณ์สภวาวะอากาศนิ่ง อากาศในพื้นที่กทม.ถูกกด ลอยสูงเพียง 3 กิโลเมตร  ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (15)  อากาศกรุงเทพมหานครจะลอยตัวได้สูงขึ้น  ซึ่งอากาศที่ลอยตัวได้สูงขึ้นโดยเฉพาะในเวลากลางวัน จะส่งผลให้การกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กลดลง

logoline