svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

หุ้นไทยติดกลุ่ม 1 ใน 3 ตลาดหุ้นโลก ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2.5%

13 กุมภาพันธ์ 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดัชนีหุ้นไทยติดกลุ่ม 1 ใน 3 ตลาดหุ้นโลกร่วมกับบราซิล และรัสเซีย ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2.5% นับตั้งแต่ตันปีนี้จาก Thomson Reuters data ชนะดัชนี S&P 500 ซึ่งเป็นตลาดหุ้นสหรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มขึ้น 1.5% ในช่วงเวลาเดียวกัน ท่ามกลางความผันผวนในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา


ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้น 410.03 จุดหรือ 1.7% ที่ระดับ 24.l601 แต่ยังต่ำระดับสูงสุดเมื่อวันที่ 26 มกราคมอยู่ 26,612 ถึง 7.6% ในทิศทางเดียวกับดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,981 เพิ่มขึ้น 107.47 จุด หรือ 1.56% และดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,656 เพิ่มขึ้น 36.45 จุด หรือ 1.39% เมื่อวันจันทร์

นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์จาก Oxford ออกมาเตือนการขาดดุลงบประมาณในปริมาณสูงจากนโยบายของประธานาธืบดีทรัมป์ จะส่งผลให้ภาระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้นอีก 10 ล้านล้านดอลลาร์ จนแตะระดับ 30 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2028 นำไปสู่ภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐที่ย่ำแย่ที่สุดนั้บตั้งแต่เกิด Great Depression


1. ท่ามกลางสัปดาห์ที่ย่ำแย่มากที่สุดของตลาดหุ้นโลก เนื่องจากผลกระทบของการตกต่ำลงในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทที่ทรุดตัวลงถึง 10% จากระดับสูงสุดเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยดาวโจนส์พุ่งขึ้น 410.03 จุดหรือ 1.7% ที่ระดับ 24.l601 แต่ยังต่ำระดับสูงสุดเมื่อวันที่ 26 มกราคมอยู่ 26,612 ถึง 7.6%

ในทิศทางเดียวกับดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,981 เพิ่มขึ้น 107.47 จุด หรือ 1.56% และดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,656 เพิ่มขึ้น 36.45 จุด หรือ 1.39% เมื่อวันจันทร์ต่อเนื่องจากวันศุกร์ที่แล้ว เนื่องจากแรงซื้อที่เข้าตลาดในช่วง 2 วันทำการซื้อขายที่ผ่านมา



2. อย่างไรก็ตาม จาก Thomson Reuters data ชี้ว่า ดัชนีหุ้นไทยยังคงติดกลุ่ม 1 ใน 3 ตลาดหุ้นโลกร่วมกับตลาดหุ้นบราซิล และตลาดหุ้นรัสเซีย ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2.5% นับตั้งแต่ตันปีนี้ ชนะดัชนี S&P 500 ซึ่งเป็นตลาดหุ้นสหรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มขึ้น 1.5% ในช่วงเวลาเดียวกัน ท่ามกลางความผันผวนในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยหุ้นเเชียช่วงเช้าวันอังคารยังคงได้รับผลเชิงบวกจากตลาดหุ้นวอลล์สตรีทช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา นำโดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ปิดการซื้อขายในวันจ้นทร์ ดัชนีนิคเตอิยืนในแดนบวกในวันนี้ที่ 21,633 เพิ่มขึ้น 250.72 จุดหรือ 1.17% ดัชนี SSE Composite ของจีนยืนที่ 3,176 เพิ่มขึ้น 21.98 จุดหรือ 0.70% ดัชนี HSI ฮ่องกงอยู่ที่ 29,850 เพิ่มขึ้น 390.52 จุดหรือ 1.33% ดัชนี KOSPI เกาหลีใต้อยู่ที่ 2,402 เพิ่มขึ้น 17.51 จุดหรือ 0.73% ดัชนี FTSE STI สิงคโปร์อยู่ที่ 3,404 เพิ่มขึ้น 19.09 จุดหรือ 0.56% รวมทั้งดัชนีหุ้นไทยยืนเหนือ 1,801 เพิ่มขึ้น 2.32 จุดหรือ 0.18%



3. แต่ปัจจัยที่กดดันต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้ หลังจากที่อัตราผลตอบแทนการลงทุนบอนด์รัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) อายุ 10 ปี ยังคงอยู่ในระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พุ่งทะลุสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ระดับ 2.88% เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดิ่งตัวลงนับ 1,000 จุดโดยเฉพาะดัขนีดาวโจนส์ที่ดิ่งลง 1,175 จุดในวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ และวันพฤหัสฯที่ 8 กุมภาพันธ์ ดิ่งลง 1,032 จุด

โดยล่าสุดอยู่บอนดฺยีลด์รัฐบาลสหรัฐ 10 ปีอยู่ที่ 2.857% ในช่วงเช้าวันนี้ แต่เป็นการปรับตัวลดลงจากที่พุ่งทะลุ 2.902% เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา ทำให้ตลาดจับตาดูตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมกราคมที่จะประกาศในวันพุธนี้



4. แรงกระตุ้นซื้อหุ้นวอลล์สตรีทจุดกระแสจากมาตรการปฏิรูปภาษี ท่ามกลางมาตรการเสริมในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานช่วง 10 ปีในวงเงิน 1.5 ล้านดอลลาร์ โดยบรรจุไว้ในงบประมาณปี 2019 นี้เป็นจำนวน 200,000 ล้านดอลลาร์ ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมการผลักดันให้เป็นการนำร่องเพื่อระดมเงืนทุนจากภาคเอกชนดเวยการผิดในรูปแบบของกองทุนต่างๆ


แต่ปัญหาหนี้ภาครัฐบาลที่ยังคงเป็นดินพอกหางหมูโดยจะส่งผลให้ภาวะการขาดดุลงบประมาณพุ่งขึ้นภึงปีละ 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2019 รวมถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดการณ์ของเฟดยังคงเป็นที่กังวลต่อนักลงทุนในตลาดหุ้นขณะนี้



5. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จาก Oxford ออกมาเตือนว่า การขาดดุลงบประมาณในปริมาณสูงจากนโยบายของประธานาธืบดีทรัมป์ จะส่งผลให้ภาระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้นอีก 10 ล้านล้านดอลลาร์ จนแตะระดับ 30 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2028


โดยจะเป็นผลให้เกิดภาระงบประมาณขาดดุลที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปีละ 1 ล้านล้านดอลลาร์ในระยะ 5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย ในที่สุดผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐอย่างย่ำแย่ที่สุดในอนาคต นับตั้งแต่เกิดภาวะตกต่ำที่เรียกว่า Great Depression

logoline