svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เยน-หยวน-บาท แรลลี่ สวนทางดัชนีค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงหนักมากกว่า 1% ตั้งแต่ต้นปี 2018

12 มกราคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เยน-หยวน-บาท แรลลี่ สวนทางดัชนีค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงหนักมากกว่า 1% ตั้งแต่ต้นปี 2018 ต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่ร่วงลงถึง 10% โดยที่เงินเยนแข็งค่าแตะ 111 เยน ส่วนเงินหยวนแตะที่ 6.49 หยวน ขณะที่เงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในรอบกว่า 3 ปีทะลถ 31.91 บาทในเช้าวันศุกร์ แจ็งค่ามากกว่า 2.02% นับจากปลายปี 2017

ขณะเดียวกัน ประธานาเฟดนิวยอร์กเตือนอาจต้องใช้มาตรการทางการเงินเชิงรุกเพื่อสกัดความร้อนแรงของเศรษฐกิจสหรัฐในระยะไม่กี่ปีข้างหน้า หลังดาวโจนส์พุ่งทะลุ 25,500 และ Nasdaq ยืนเหนือ 7,200


1.  William Dudley ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เริ่มกังวลต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย?ทางการเงินต่างๆ ของสหรัฐที่ทะยานขึ้นอย่างร้อนแรงในปีที่ผ่านมา โดยที่เฟดอาจต้องใช้นโยบายการเงินเชิงรุกเพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Hard Landing

ประธานเฟดนิวยอร์ก กล่าวปาฐกถาที่สมาคมตลาดหลักทรัพย์และการเงิน  (SIFMA) ซึ่งกำลังจะครบเทอมการเป็นกรรมการของเฟดในกลางปีนี้ ว่า เฟดตะต้องโฟกัสโดยที่ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงของการที่เศรษฐกิจร้อนแรงจนเกินไป ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อยังคงเคลื่อนตัวต่ำกว่าเป้าหมาย นี่คือความเสี่ยงที่แท้จริงที่อาจเกิดขึ้นในระยะไม่กี่ปีข้างหน้า


2.  ทั้งนี้ William Dudley บอกว่าเฟดอาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่รวดเร็วขึ้นกว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่ายังเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในระยะสั้น จะมีอัตราเงินเฟ้อที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% ขณะที่มีการคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐจะขยายตัว 2.50-2.75% ซึ่งมาจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นทางด้านการเงิน

อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 นี้ จะยังคงเป็นปีที่ดีสำหรับทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐ แต่เฟดจะต้องจับตานโยบายการเงินในระยะยาวมากขึ้นอย่างระมัดระวัง โดยที่เฟดประกาศไว้เมื่อกลางเดือนธีนวาคม 2017 จะดำเนินการให้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ 3 ครั้ง พร้อมๆ กับการขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปีหน้า


3.  ท่ามกลางการเคลื่องเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นที่ยังคงเกิดนิวไฮต่อเนื่อง หลังดาวโจนส์พุ่งทะลุ 25,500 และ Nasdaq ยืนเหนือ 7,200 เมื่อวันพฤหัสฯ แต่ก็สวนทางดัชนีค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงหนักมากกว่า 1% ตั้งแต่ต้นปี 2018 ต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่ร่วงลงถึง 10% โดยที่ทั้งเยน-หยวน-บาท พากันแรลลี่ 

เงินเยนแข็งค่าแตะ 111 เยน ส่วนเงินหยวนแตะที่ 6.49 หยวน ขณะที่เงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในรอบกว่า 3 ปีทะลถ 31.91 บาทในเช้าวันศุกร์ แข็งค่ามากกว่า 2.02% นับจากปลายปี 2017

โดยที่ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 25,574 พุ่งขึ้น 205.60 จุด หรือ 0.81% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,767 เพิ่มขึ้น 0.7% และ Nasdaq ปิดที่ 7,211 เพิ่มขึ้น 0.81%


4.   โดยที่นักลงทุนในตลาดหุ้นสนใจกับการสิ่งที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดไว้เป็นปริศนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดีๆ ก็ได้กับคิม จองอึน ผู้นำเก่หลีเหนือ เมื่อวันพฤหัสฯ ในการให้สัมภาษณ์กับวอลล์สตรีท เจอร์นัล  โดยระบุว่าเป็นเพราะตนเองมีสายสัมพันธ์กับผู้คนมากมาย จนทพให้ทุกคนพากันเซอร์ไพรส์

ทั้งที่ ประธานาธิบดีทรัมห์เปิดวิวาทะมาตลอดเวลา ถึงกับเรียกประธานาธิบดีคิม จองอึน ว่าเป็นมนุษย์จรวด หรือ Rocket Man หลังจากที่ผู้นำเกาหลีเหนือเปิดศึกด้วยการแสดงความมุ่งมั่นพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ที่สามารถส่งไปโจมตีถึงพื้นแผ่นดินสหรัฐ และพันธมิตรของสหรัฐได้

นอกจากนี้ สหรัฐและแคนาดาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วยเรื่องปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ ที่เมืองแวนคูเวอร์ ในวันที่ 16 มกราคมนี้ โดยเชิญผู้แทนจากกลุ่มประเทศพันธมิตรที่สหรัฐเคยส่งกองกำลังทหารเข้าร่วมกองกำลังของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในสงครามเกาหลีเมื่อทศวรรษ 1950 โดยที่จีนและรัสเซีย ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของเกาหลีเหนือไม่ได้รับเชิญในการประชุมที่จะมีขึ้นในครั้งนี้  


5.  ขณะที่ดอลลาร์เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ โดยร่วงลงแตะ 111 เยนในการซื้อขายเช้านี้ที่ตลาดปริวรรตเงินตราโตเกียว เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์ออกมา โดยที่ดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 111.22-111.23 เยน เพราะต้องระมัดระวังการซื้อขาย จากการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจลดขนาดเม็ดเงินตามโครงการอัดฉัดเงิน QQE หลังจากที่ได้ลดขนาดการซื้อบินด์ระยะยาวของรัฐบาลญี่ปุ่นในช่วงต้นสัปดาห์นี้

รวมทั้งทิศทางของเงินหยวนแข็งค่าแตะ 6.4932 หยวนต่อดอลลาร์เช้าวันศุกร์ เช่นเดียวกันกับทิศทางเงินยูโรที่เคลื่อนไหวในกรอบแข็งค่าแตะ 1.2046-1.2048 ดอลลาร์ 

นอกจากนี้ ยังต้องจับตาทิศทางของเงินบาทที่เคลื่อนไหวในช่วง 5 ปี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2013 เงินบาทอยู่ที่ 28.66 บาทต่อดอลลาร์ ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2014 แตะที่ 31.85 บาท และอ่อนค่าลงอีกที่ 36.17 บาทในเดือนกันยายน 2016 หลังจากนั้นก็เริ่มแข็งค่าต่อเนื่องมาแตะที่ 32.57 บาทในเดือนธรสาคม 2017 

และล่าสุดในวันนี้ที่ 31.91 บาทใกล้เคียงกับช่วงเดือนกรกฎาคม 2014 แตะที่ 31.85 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 91 ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเดือนกันยายน 2017 ที่ 91.85 หลังจากที่เคยแข็งค่ามากที่สุดที่ 103.01 ในเดือนธันวาคม 2016

logoline