svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ซีกโลกเหนือหนาวกว่าดาวอังคาร สัญญาณอากาศแปรปรวนถึง..ไทย

09 มกราคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ซีกโลกเหนือหนาวสุดขั้ว หนาวยิ่งกว่าดาวอังคาร นี่คือสัญญาณอากาศแปรปรวนทั่วโลก นักวิชาการ หวั่น ไทยเผชิญความเสี่ยงภัยพิบัติจากสภาพอากาศโดยเฉพาะพายุหนักขึ้น

 อากาศที่หนาวสุดขั้วทางซีกโลกเหนือ จนถูกเรียกว่า "ระเบิดสภาพอากาศ" (บอมบ์ไซโคลน) หรือ บอมโบ เจเนซิส (Bombogenesis) ที่ทำให้สหรัฐอเมริกา แคนาดา  หนาวแบบโหดร้าย 
ปลายสัปดาห์ก่อน ต่อเนื่องจนถึงสัปดาห์นี้ ความหนาวยะเยือก จนอุณหภูมิติดลบ 40 องศา คร่าชีวิตชาวอเมริกันกว่า  20 ราย อีกกว่า 60 ล้านคน ได้รับผลกระทบ ถือเป็นสภาพอากาศเลวร้ายในรอบ 100 ปี 
นี่เป็นเพียงพายุหิมะฤดูหนาวลูกแรกของปี2561 ซึ่งปกติฤดูหนาวจัดจะอยู่ในช่วงกุมภาพันธ์  
" บอมบ์ไซโคลน " เกิดจากอากาศเย็น กับ อากาศอุ่น ปะทะกัน ก่อนรวมตัวเป็นมวลอากาศหนาวยะเยือกฉับพลัน มวลความกดอากาศลดลงรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง จนเกิดพายุหิมะ 
กระแสลมรุนแรงคล้ายพายุเฮอร์ริเคน  สัญญาณความหนาว เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนปีใหม่  อุณหภูมิทางตะวันออกเฉียงเหนือสหรัฐ ฯ ดำดิ่งฮวบต่ำกว่าจุด "เยือกแข็ง"   ติดลบสูงสุด -40 ถึง -50  
หนาวกว่าพื้นผิวดาวอังคาร ที่อุณหภูมิติดลบสูงสุด 18 องศา
นี่เป็นอีกหนึ่งผลพวงจาก  " สภาวะโลกร้อน "  จากการวิเคราะห์ของ ศาสตราจารย์ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานสถาบันโลกร้อนศึกษาประเทศไทย


หิมะขาวโพลนที่ปกคลุมหลายสิบฟุตทั่วทั้งเมืองนิวยอร์ก แมนฮัตตัน อีกหลายรัฐของอเมริกา รวมถึงประเทศ แคนาดา ที่ทำให้เห็นภาพน้ำตกไนแอการา กลายเป็นน้ำแข็ง  ไม่เว้นแม้แต่ที่ ฟลอริดา เมืองแห่งแสงแดด สภาพอากาศคล้ายในไทย เกิดหิมะตก ครั้งแรกในรอบ 30 ปี  
สอดคล้องกับ  ศราวุธ ศรีชนะ คนไทยที่อาศัยในแคนนาดา ที่บอกเล่าว่าว่า สภาพอากาศในปีนี้ ผิดแปลกจากปีก่อนๆ 



ประธานสถานบันโลกร้อน มองว่า ปรากฎการณ์หนาวสุดขั้ว นี่คือสัญญาณเตือนความแปรปรวรอากาศของโลก  ความแปรปรวนสภาพอากาศในไทย  ที่เริ่มเห็นสัญยาณตั้งแต่ปีก่อน พายุที่มากกว่าปกติ อาจเป็นปัจจัยทำให้ไทยเสี่ยงเผชิญกับพายุเพิ่มขึ้น  
ซึ่งจากการติดตามสภาพอากาศและจากนี้ไป 1-2 ปี ผมมีความเป็นห่วงเรื่องของพายุ พายุไม่ใช่ไม่เคยผ่านประเทศไทย พายุที่เคยผ่านแต่ละครั้งก็ทำให้บ้านเรานี่อ่วม โดยเฉพาะกรุงเทพ ที่เผชิญพายุ จากความแปรปรวนของอากาศ 
ส่วนความผิดปกติที่เกิดขึ้น พายุ " บอละเวน"  ที่เกิดขึ้นช่วงต้นเดือนมกราคม ปี2561 ในมหาแปซิฟิก ซึ่งปกติพายุไม่ค่อยเกิดในเดือนมกราคม จากสถิติปีที่เป็น ลานีญ่า พายุจะเยอะ ผลกระทบจากลักษณะอากาศแปรปรวนจึงทำให้ห่วงเรื่องพายุ" ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ กล่าว
 ประธานสถาบันโลกร้อนศึกษาประเทศไทย มองว่า ความหนาวเย็นในไทยไม่ค่อยห่วง แต่ห่วงเรื่องความเปรปรวนของอากาศที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบพายุ 
จึงต้องเตรียมรับมือกับอากาศที่แปรปรวน จากการศึกษาข้อมูลของนักศึกษาปริญญาโท พบว่า ปัจจุบัน ลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  และ ลมตะวันตกเฉียงใต้   ตลอด20 ปีที่ผ่านมา ทวีความรุนแรงขึ้น 2 เท่า ลมประจำฤดูทั้ง 2 ด้าน เป็นตัวที่บอกว่าสภาพอากาศบ้านเราทำไมแปรปรวน  ทำให้คลื่นสูงทางภาคใต้ จาก 2 เมตร เป็น 4 เมตร
สิ่งที่เกิดขึ้นกับซีกโลกเหนือ  เป็นสัญญาณที่โลกกำลังเตือนว่า " สภาวะโลกร้อน" เป็นสิ่งที่ไม่ควรเพิกเฉย เพราะมัน คือ หายนะภัยทางสภาพอากาศ ที่กำลังทวีความรุนแรงในอนาคต

logoline