svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

มีกฎหมาย...แต่ควบคุมไม่ได้ "ลานเบียร์"

08 มกราคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ลานเบียร์มีขึ้นเป็นประจำในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ บรรยากาศที่มาพร้อมลมหนาว กับเสียงดนตรีสด เย้ายวนให้หลายคนอยากมาดื่มเพื่อเฉลิมฉลอง แต่แสงสีจากลานเบียร์ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ทีมข่าวเดินทางไปสำรวจที่ลานเบียร์ในห้างสรรพสินชื่อดังแห่งหนึ่งย่านบางนา เมื่อมาถึงเราพบว่าที่นี่มีลานเบียร์เพียงเจ้าเดียว และแสดงโลโก้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของตนชัดเจน บริเวณโดยรอบ มีคนทุกช่วงวัยเดินพลุกพล่าน รวมถึงเด็กๆ

ทีมข่าวเข้าไปสำรวจในลานเบียร์ยี่ห้อดังรายนี้ มีการขอดูบัตรประชาชน และไม่อนุญาตให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้า ซึ่งขั้นตอนนี้ถือว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่เมื่อเราเข้ามานั่งด้านใน ก็พบกับสาวเชียร์เบียร์ ราว 8 10 คน ใส่เสื้อ สีเขียว สะท้อนอัตลักษณ์ ของแบรนด์สินค้า

จากการตรวจสอบลงพื้นที่ของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบลานเบียร์หน้าศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้า เข้าข่ายทำผิดกฎหมายแล้วอย่างน้อย 13 แห่ง เช่น ลานเบียร์ย่านปทุมวัน พระราม 9, รามอินทรา, สุขุมวิท และ บางนา เป็นต้น

แม้จะอยู่ใกลจากโรงพยาบาล สถานที่ราชการ วัด และมหาวิทยาลัย แต่ลานเบียร์ย่านปทุมวันแห่งนี้ ก็ยังคงเปิดพื้นที่ให้เอกชนผู้ผลิตเบียร์ยี่ห้อดังต่างๆ เช่าที่หน้าศูนย์การค้า เพื่อเปิดเป็นลานเบียร์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่มาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว มาจนถึงวันนี้

แม้ว่าหลังจากมีพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกมาเมื่อปี 2551 ซึ่งมีข้อกำหนดควบคุมการโฆษณาของสินค้าแอลกอฮอล์ อย่างน้อยที่สุดคือห้ามเห็นตราสินค้า แต่ลานเบียร์ที่นี่ แสดงตราสินค้าให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งผิดกฎหมายเต็มๆ
นอกจากการแสดงโลโก้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะผิดพระราชบัญญัตควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นๆในลานเบียร์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายดังกล่าวด้วย เช่น การจัดโปรโมชั่น และสาวเชียร์เบียร์ แต่กิจกรรมเหล่านี้ถูกละเลยในการบังคับใช้กฎหมายใช่หรือไม่ ยังคงเป็นคำถามแม้ลานเบียร์ จะเป็นสิ่งเป็นผิดกฎหมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ ว่าได้รับความนิยมสูงในช่วงเทศกาล ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สะท้อนปัญหาว่าปัจจุบันแม้มีพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ ลานเบียร์ก็มีแนวโน้วเพิ่มมากขึ้น

ไม่เพียงเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ทั่วประเทศก็มีลานเบียร์ที่ไร้การขออนุญาตจากกรมสรรพสามิตฉวยโอกาสเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีราว 70,000 ลาน หรือเฉลี่ย 1 อำเภอ ต่อ 1 ลานเบียร์ ซึ่งต้องยอมรับว่าการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ไม่ทั่วถึง การเพิ่มจำนวนลานเบียร์ ก็นำมาสู่อุบัติเหตุเมาแล้วขับ

วงเสวนา "มองรอบด้าน...ลานเบียร์กับสังคมไทย" อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นางสาวศรีรัช ลาภใหญ่ ลอยสมุทร ในฐานะเครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดเผย การศึกษาผลกระทบที่เกิดจากลานเบียร์และกลยุทธ์ประเภทดื่มไม่อั้นของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่ปี 2558-ปัจจุบัน ในกลุ่มนักเรียนมัธยมปลาย และนักศึกษามหาวิทยาลัย 2,498 คน พบว่า นักเรียน ม.ปลาย 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34 เคยไปลานเบียร์

ร้อยละ 80.1 ดื่มเดือนละ 2-3 ครั้ง มีพฤติกรรมการดื่มเป็นกลุ่มๆ สังสรรค์อาทิตย์เว้นอาทิตย์ วันเกิด ปีใหม่ และมีความเชื่อว่าดื่มแล้วทำให้สนิทกันมากขึ้น ร้อยละ 37.2 และพบว่าหากดื่มแล้วจะทำให้คลายเครียด

อาจารย์ศรีรัช วิจัยถึงผลกระทบจากการไปเบียร์พบว่าร้อยละ 45.5 เมา ร้อยละ 44.9 เสียเงินมากกว่าที่คิด ร้อยละ 3.4 ทะเลาะวิวาท ร้อยละ 1.7 เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะมอเตอร์ไซต์ และร้อยละ 4.5 ถูกพ่อแม่ต่อว่า

มีกฎหมาย...แต่ควบคุมไม่ได้ "ลานเบียร์"



ผลวิจัยชี้ว่า นักศึกษามหาวิทยาลัย ไปลานเบียร์ในช่วงเทศกาล ติดกันมากกว่า 2 คืน และเป็นลานเบียร์ขนาดใหญ่ เพราะอายุถึง ดื่มมากกว่าเด็กม.ปลาย 3 เท่า ค่าใช้จ่าย 2-3 พันบาท

มีกฎหมาย...แต่ควบคุมไม่ได้ "ลานเบียร์"



รายจ่ายของกลุ่มนี้เท่ากับ 1 ใน 4 ของรายได้ครอบครัว ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ก็มาจากที่บ้าน ดังนั้น ปัญหานี้ ย้ำว่าลานเบียร์เข้าข่ายผิดกฎหมายเรื่องการส่งเสริมการตลาด ถือเป็นการขายตรงที่ผิดชัดเจน

logoline