svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จีนประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลออกระลอกใหม่

01 มกราคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จีนประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลออกระลอกใหม่ ห้ามชาวจีนเบิกถอนเงินสดจากเครื่อง ATM นอกประเทศเกินวงเงิน 100,000 หยวน หรือ 15,000 ดอลลาร์ต่อปี เพื่อlปกป้องเงินฝากในประเทศที่มีมากถึง 22 ล้านล้านดอลลาร์ และสกัดพฤติกรรมการฟอกเงิน


หลังจากที่พบว่า มีแนวโน้มที่นักลงทุนในประเทศมีพฤติกรรมการฟอกเงินโดยโยกเงินหยวนออกไปลงทุนนอกประเทศ โดยหันไปลงทุนใน Bitcoin เพื่อใช้เป็นช่องทางนำเงินออกนอกประเทศ เนื่องจากในปั 2017 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ราคา Bitcoin พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 1,900% จากราคา 800 ดอลลาร์ ทะยานสูงถึง 19,586 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนปีที่แล้วก่อนดิ่งลงสู 13,000 ดอลลาร์ช่วงส่งท้ายปี


1. มองย้อนกลับไปเมื่อเดือนกันยายน 2015 หลังจากเปิดการตกต่ำของตลาดหุ้นจีน ซึ่งส่งผลให้ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ดิ่งลงมากว่าครึ่งหนึ่งในปีถัดมาจากระดับที่อยู่สูงกว่าดัชนีที่ 5,000 สู่ระดับต่ำที่ 2,700 ก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 3,300ในวันนี้ แต่นักลงทุนกลับมุ่งเก็งกำไรนำเงินออกไปลงทุนใน Bitcoin จนถูกจับตามองเกี่ยวกับพฤติกรรมการฟอกเงินในปัจจุบันนี้

ทางการจีนประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุนไหลออกระลอกใหม่ ห้ามชาวจีนเบิกถอนเงินสดจากเครื่อง ATM นอกประเทศเกินวงเงิน 100,000 หยวน หรือ 15,000 ดอลลาร์ต่อปี เพื่อปกป้องเงินฝากในประเทศที่มีมากถึง 22 ล้านล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันที่กำหนดให้เบิกถอน ATM นอกประเทศได้ไม่เกินวันละ 10,000 หยวนต่อบัตร 1 ใบ



2. โดยในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา จีนต้องประสบปัญหาเงินทุนไหลออกรุนแรง ส่งผลให้เงินหยวนอ่อนค่าอย่างรุนแรง และเงินสำรองระหว่างประเทศลดฮวบลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทางการจีนออกมาตรการเพื่อควบคุมเงินทุนไหลออกครอบคลุมหลายช่องทางมากขึ้น รวมทั้งพยายามเพิ่มมาตรการดึงดูดการลงทุนในประเทศ หวังจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของเงินทุนไหลออกให้ลดลงได้

โดยที่เงินหยวนดิ่งฮวบลงเมื่อเทียบเงินดอลลาร์จนเกือบหลุดระดับ 7.0 หยวนต่อดอลลาร์ในตลาดออฟชอร์ และปิดที่ 6.9 หยวนต่อดอลลาร์ในช่วงต้นปี 2016 ก่อนที่จะค่อยๆ ไต่ขึ้นมา เพราะมาตรการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคารกลางจีนเพื่อสร้างเสถียรภาพของเงินหยวน


3. ภาวะเงินทุนไหลออกส่งสัญญาณขึ้นในปี 2012 และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี 2016 ที่จีนต้องประสบกับการกระแสเงินทุนไหลออกมากถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่เป็นทางการลดลงจาก 4 ล้านล้านดอลลาร์ ลมาอยู่ที่ระดับ 3 ล้านดอลลาร์

โดยประเมินได้จากสาเหตุหลักๆ คือ การเก็งกำไรเงินหยวนในทิศทางที่อ่อนค่าลง หลังจากจีนประกาศขยายกรอบการเคลื่อนไหวของเงินหยวนจาก 1% เป็น 2% ตั้งแต่กลางปี 2014 และปรับลดค่าเงินหยวนลง 1.9% ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2015 ทำให้มีเงินหยวนอ่อนค่าต่อเนื่อง และมีอัตราการเร่งตัวของเงินทุนไหลออกของเงินหยวน สวนทางกับการกู้เงินและพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากภายนอกประเทศ เนื่องจากเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และวิกฤติตลาดหุ้นจีนผันผวนสูงตั้งแต่ช่วงกลางปี 2015


4. ขณะที่เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวต่ำหว่าระดบ 7.5% จากนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อลดสัดส่วนการลงทุนซึ่งเดิมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จนเกิดภาวะการลงทุนที่มากเกินไป ซึ่งนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์และฟองสบู่ในตลาดหุ้น

โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวต่อเนื่องไปจนถึงปี 2021 สะท้อนการเก็งกำไรในตลาดการเงินที่ลดลง จากปัจจุบันที่จีดีพีจีนมีการขยายตัวที่ 6.7-6,8% ในขณะนี้

ล่าสุด เงินหยนวนเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 6.5068 หยวนต่อดอลลาร์ในวันที่ 1 มกราคม 2018 เป็นทิศทางที่แข็งค่าจ่อเนื่องจากช่วง 2 ปีก่อน ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นทั่วประเทศจีนมีสูลค่าสูงถึง 40 ล้านล้านดอลลาร์



5. นอกจากนี้ ปัจจัยสุดท้ายที่สนับสนุนให้เอกชนและรัฐวิสาหกิจออกไปลงทุนต่างประเทศ เช่น การอนุญาตให้สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่บริษัทในต่างประเทศในรูปสกุลเงินหยวนได้ หรือการอนุญาตให้รัฐวิสาหกิจไปลงทุนในตลาดทุนต่างประเทศได้ ตามโครงการ Qualified Domestic Institution Investor (QDII) จนถึงปี 2035

และตามยุทธศาสตร์ฟื้นฟูเส้นทางสายไหมใหม่ที่คาดว่าจะใช้เงินลงทุนมากกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ในเส้นทางยูเรเซียที่เชื่อม 3 ทวีปจากอเชีนตะวันตก ผ่านตะวันออกกลาง-แอฟริกา สู่ยุโรป

logoline