svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เรียนอย่างไร? ไม่ให้ตกงาน ในโลกยุคดิจิทัล

25 ธันวาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทุกๆ ปี จะมีบัณฑิตจบใหม่ มากกว่า 300,000 คนและกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จบออกมา กลายเป็นคนว่างงาน ข้อมูลอันน่าตกใจนี้ถูกเปิดเผยโดย ผู้จัดการแผนกสรรหาและว่าจ้าง บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด "คุณ ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์" แล้วทำไมบัณฑิตจบใหม่จำนวนไม่น้อยถึงต้องกลายเป็นคนว่างงาน ?




ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยุคดิจิทัล ทำให้อาชีพของคนยุคใหม่ต้องขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีใหม่และสื่อดิจิทัล มีหลายอาชีพที่คนรุ่นเก่าอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว


คุณ ธีรศักดิ์ บอกว่า ความรู้ที่เรียนมาในหลักสูตรเดิม อาจไม่ตรงกับความต้องการของตลาด และส่วนหนึ่งก็มาจากนักศึกษาที่หาความต้องการของตัวเองไม่พบ เรียนแบบไม่มีเป้าหมายแค่ขอให้จบปริญญา การฝึกทักษะการทำงานน้อยมาก ขณะที่ตลาดงานปัจจุบัน ต้องการคนที่มี soft skill มากขึ้น เช่น ทักษะด้านภาษา การแก้ปัญหาเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


ถ้าจะหาบัณฑิตจบใหม่ที่มีงานทำแน่นอน หรือเกินคาดไปมากกว่านั้น คือมีธุรกิจของตัวเองตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ก็คงหนีไม่พ้นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เพราะที่นี่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก กล้าฉีกกรอบขนบเดิมของระบบการศึกษา เพื่อร่วมกัน "ปั้น" คนยุคใหม่เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล


อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ "อาจารย์เพชร โอสถานุเคราะห์" ในแวดวงการศึกษา เขาเป็นคนหนึ่งที่ตื่นตัว กับความเปลี่ยนแปลงของโลกเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง


อาจารย์เพชร บอกว่า มีอาชีพใหม่เกิดขึ้นทุกวันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล กรอบความคิดเก่าๆ การเรียนรู้แบบเดิมๆ ต้องเปลี่ยนแล้ว สำคัญที่สุดคือนักศึกษาต้องมีอนาคตเป็นตัวตั้ง หมายความว่าคิดให้ได้ก่อน ว่าชีวิตนี้คุณอยากเป็นอะไร อยากทำอาชีพแบบไหน แล้วหาว่าต้องเรียนอะไรจึงจะไปทำอาชีพนั้นได้ แล้วค้นหาต่อว่ามหาวิทยาลัยไหนที่ตอบโจทย์ตรงนี้


"กรอบความคิดดั้งเดิม 2 เรื่องคือ ต้องสอบเอ็นทรานซ์-แอดมิชชั่น เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยรัฐ กับค่านิยมที่มองว่าปริญญาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เรียนอะไรก็ได้ให้จบปริญญา ยังครอบงำพ่อแม่ผู้ปกครองและส่งต่อกรอบคิดเช่นนั้นสู่คนรุ่นลูก ระบบการศึกษาของไทยจึงย่ำอยู่กับที่" อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ระบุ


ในกรอบความคิดแบบเดิม อาจารย์เพชรการันตีว่ามีแต่มหาวิทยาลัยเอกชน อย่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่ตอบโจทย์ที่สุด เพราะพัฒนาหลักสูตรใหม่อยู่เสมอ มีเครื่องมือทันสมัยในทุกสาขาวิชา และจุดที่สำคัญคือคณาจารย์เก่งและไม่ทำตัวเป็นผู้สอนแต่มีบทบาทเป็น โค้ช เป็นคนชี้แนะแนวทาง เป็นคนชี้ทางการเรียนรู้ให้นักศึกษา


มหาวิทยาลัยกรุงเทพมี ecosystem ที่สมบูรณ์มาก ผมมั่นใจว่าธุรกิจหลายสายงานที่เป็นธุรกิจใหม่สำหรับคนรุ่นใหม่ จะเข้ามาเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัย มาแบ่งปันมาช่วยกันปั้นคนรุ่นใหม่ให้เป็นบัณฑิตที่โลกเศรษฐกิจดิจิทัลต้องการ


การปั้นบัณฑิตยุคใหม่ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงใช้ระบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่การป้อนความรู้ให้นักศึกษา ไม่เน้นการสอนเพื่อจดจำ แต่ใช้การสอนในรูปแบบที่มีนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ใช้การระดมความคิด (Discussion) ผ่านตัวอย่างหรือกรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษาฝึกคิด แสดงความเห็น เปิดมุมมองใหม่ ค้นหาในสิ่งที่ตนสนใจและต่อยอดการเรียนรู้ ด้วยการลงมือฝึกปฏิบัติงานจริง


โดยมหาวิทยาลัยทำหน้าที่สนับสนุนทั้งการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัยเพื่อการฝึกปฏิบัติ รวมทั้งมีเครือข่ายพันธมิตรทางการศึกษาเป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำมากมายที่ช่วยให้นักศึกษามีโอกาสได้สัมผัสสนามการทำงานจริง


เรียนอย่างไร? ไม่ให้ตกงาน ในโลกยุคดิจิทัล

เรียนอย่างไร? ไม่ให้ตกงาน ในโลกยุคดิจิทัล




นอกเหนือจากการบ่มเพาะทักษะชำนาญการในสาขาวิชาที่เรียนแล้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพยังได้ฝึกฝนทักษะ soft skill ตั้งแต่เข้ามาเรียนปีหนึ่ง เช่น การทำงานเป็นทีม ความอดทน การคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหา การใช้ภาษาต่างประเทศ การยอมรับความแตกต่างทางความคิดและหาทางออกร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะจำเป็นต่อการทำงานในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล


อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ย้ำว่า คนรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องเดินตามรอยเท้าคนในอดีต สังคมต้องทำให้บัณฑิตคิดให้ได้แบบนี้ ระบบการศึกษาไทยต้องฝึกให้เด็กคิดเองให้เป็น ให้รู้จักคิดนอกกรอบ กล้าเดินในทางที่ไม่มีใครเดินมาก่อน


"อะไรก็ตามที่คุณคิดเองทำเองในวันนี้ และทำด้วยความรู้ความตั้งใจจริงๆ อนาคตของคุณก็คือสิ่งนั้น คุณต้องทำด้วยความรักทำด้วยใจ การเรียนรู้ก็เช่นกัน ต้องเรียนในสิ่งที่ชอบและใช่ ซึ่งบางครั้งมันอาจเป็นสิ่งตรงข้ามกับความคิดของสังคม" อาจารย์เพชร กล่าว

ต่อไปนี้คือ 8 หลักสูตรใหม่ที่โดนใจคนยุคดิจิทัล เปิดสอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ



1.คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ เจาะลึกเรื่องการผลิตภาพยนตร์, ธุรกิจภาพยนตร์และสื่อจอ, การแสดงภาพยนตร์, 3D Animation, Visual Effects, Digital Photography, Sound&Music Production for Digital Media

เรียนอย่างไร? ไม่ให้ตกงาน ในโลกยุคดิจิทัล

เรียนอย่างไร? ไม่ให้ตกงาน ในโลกยุคดิจิทัล

2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ มีศูนย์บ่มเพาะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โมบายแอพพลิเคชั่น ออกแบบเกม และเรียนรู้ร่วมกับบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น GARENA

เรียนอย่างไร? ไม่ให้ตกงาน ในโลกยุคดิจิทัล


3.คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชา Innovative Media Production หลักสูตรนานาชาติ เข้าใจสื่อดิจิทัลหลายแพลตฟอร์ม เรียนรู้การผลิต Content แนวใหม่สำหรับสื่อออนไลน์ เป็นหลักสูตรนานาชาติที่เตรียมพร้อมให้ก้าวไปสู่การเป็น Media Entrepreneur


4.คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (มุ่งเน้นธุรกิจจีน) เป็นหลักสูตรมุ่งสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญธุรกิจจีน การเรียนการสอนเน้นฝึกปฏิบัติจริงและลงมือทำธุรกิจจริงในประเทศจีน

เรียนอย่างไร? ไม่ให้ตกงาน ในโลกยุคดิจิทัล


5.คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน หลักสูตรได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก สมาคมนักวางแผนการเงินไทย และมีความร่วมมือกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรียนจบมีงานทำ 100%


6.คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาดดิจิทัล เป็นมหาวิทยาลัยแรกของไทยที่เปิดสอนด้านการตลาดดิจิทัลโดยตรงในระดับปริญญาตรี ปฏิบัติงานจริงกับภาคธุรกิจ และดิจิทัลเอเยนซีชั้นนำ

เรียนอย่างไร? ไม่ให้ตกงาน ในโลกยุคดิจิทัล


7.คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย Babson มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งด้านการสร้างเจ้าของธุรกิจระดับโลก


และ 8. คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว สาขาวิชา Culinary Arts & Design หลักสูตรนานาชาติปั้นเชฟระดับโลก

เรียนอย่างไร? ไม่ให้ตกงาน ในโลกยุคดิจิทัล

logoline