svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ดีแทคร่วมประชาพิจารณ์ดันประมูลคลื่นความถี่เพื่ออนาคตและนโยบาย "ประเทศไทย 4.0"

18 ธันวาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

18 ธันวาคม 2560 ดีแทคเข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศการประมูลคลื่นความถี่ซี่งจัดโดย กสทช. พร้อมแสดงจุดยืนต่อแนวทางการประมูลคลื่นความถี่ที่จะนำมาสู่ประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาเพื่ออนาคตของประเทศ และส่งผลให้คนไทยได้ใช้งานคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่จะกำหนดอนาคตของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การแข่งขันยุค 5G และเป็นการแสดงความพร้อมร่วมกับรัฐบาลที่กำลังผลักดันนโยบาย "ประเทศไทย 4.0

นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า "ดีแทคเสนอให้ปรับปรุงเงื่อนไขการประมูลที่สำคัญบางประการจากร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 900 MHz (890-895 MHz/935-940 MHz) และย่าน 1800 MHz (1740-1785 MHz/1835-1880 MHz) ของ กสทช. เพื่อที่จะสามารถจัดสรรคลื่นความถี่ที่กำลังหมดสัมปทานในเดือนกันยายน 2561 มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การประมูลคลื่นความถี่ในครั้งนี้นับเป็นการเริ่มมิติใหม่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ที่ผู้ประกอบการทุกรายได้ก้าวจากยุคสัมปทานไปสู่ใบอนุญาตและแข่งขันบนกฎเกณฑ์กำกับดูแลเดียวกัน"

ที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ขาดแคลนคลื่นความถี่ จากการเติบโตของการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือและพฤติกรรมการใช้งานที่ก้าวสู่ดิจิทัล ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งภาครัฐที่กำลังผลักดันนโยบาย "ประเทศไทย 4.0" การขาดแคลนคลื่นความถี่ได้ส่งผลกระทบให้ประเทศไทยให้บริการ 4G ด้วยคุณภาพที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ทั่วโลก ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีจำนวนเสาโทรคมนาคมและสถานีฐานมากกว่า

ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาการขาดแคลนคลื่นความถี่ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ดีแทค จึงสนับสนุนการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่กำลังจะว่างลงทั้งหมดจำนวน 2x45 MHz มาจัดประมูล เพื่อนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดตอบสนองความต้องการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่เนื่องจากความต้องการใช้คลื่นความถี่ของผู้เข้าประมูลแต่ละรายมีไม่เท่ากันซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น  ปริมาณคลื่นความถี่ และย่านความถี่ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน  ความพร้อมทางการเงิน  แผนการให้บริการ  ดังนั้น ดีแทค จึงเห็นว่า กสทช. ควรมีการจัดขนาดชุดคลื่นความถี่เป็นขนาดเล็กลงเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เข้าประมูลแต่ละราย ซึ่งอาจมีความต้องการปริมาณคลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน แต่ในขณะเดียวกัน ควรกำหนดเพดานการถือครองคลื่นสูงสุดให้เหมาะสมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประมูลทุกรายสามารถแข่งขันในการประมูลเพื่อถือครองคลื่นสูงสุดได้โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไข N-1

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการประมูลคลื่นความถี่

ยกเลิกข้อกำหนดกรณีผู้เข้าร่วมประมูลมีจำนวนเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาต หรือ N-1 โดยนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ทีมีอยู่จำนวน 2x45 MHz ออกประมูลในคราวเดียวกันทั้งหมด เพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขาดแคลนคลื่นความถี่ที่ประเทศไทยประสบอยู่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ N-1 เป็นกลไกการสร้างความขาดแคลนคลื่นความถี่เทียม  (Artificial Spectrum Scarcity) ที่จะส่งผลด้านลบมากกว่าผลดี        

กำหนดชุดคลื่นความถี่เป็น 9 ชุด ขนาด 2x5 MHz  และกำหนดเพดานการถือครองคลื่นความถี่สูงสุดในย่าน 1800 MHz ทั้งหมด ไม่เกิน 2x30 MHz (Band-Specific Cap)  ซึ่งจะทำให้ตอบเสนอความต้องการของผู้เข้าประมูลแต่ละรายได้ดีกว่าการกำหนดชุดคลื่นความถี่ขนาด 2x15 MHz เพียงขนาดเดียว และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการประมูลคลื่น  โดยไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไข N-1 

กำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลในระดับที่จูงใจ และให้กลไกการแข่งขันเสนอราคาเป็นตัวกำหนดราคาคลื่นความถี่ที่เหมาะสม ไม่ควรนำราคาชนะการประมูลในปี 2558 ที่สูงผิดปกติมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลในครั้งนี้ ราคาที่สูงเกินควรจะมีความเสี่ยงที่ กสทช. ไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ได้ทั้งหมด หรือ หากจัดสรรได้ก็จะเป็นภาระต้นทุนของผู้ชนะการประมูลในการลงทุนขยายโครงข่ายและลดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่จะกระทบต่อผู้บริโภคอีกทอดหนึ่งต่อไป

เพื่อที่ประเทศไทยจะสามารถก้าวทันประเทศต่างๆในการนำคลื่นความถี่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการการใช้งานดาต้า จึงควรมีแผนการจัดสรรคลื่นความถี่แต่ละย่านความถี่ (Spectrum roadmap) ที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ต้องการใช้ความถี่ได้วางแผนการเข้าประมูลแต่ละย่านความถี่ เพื่อนำไปใช้งานตามแผนการลงทุน แผนธุรกิจ และใช้ในการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
#  #  #  #  #  #  #  #  #  #  #  #

ข้อมูลอ้างอิงการใช้งาน 4G

ข้อมูลรายงานจาก OpenSignal (https://opensignal.com/reports/2017/06/state-of-lte) ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานระดับโลกในการวิเคราะห์ด้านโทรคมนาคม ได้ทำการทดสอบเปรียบเทียบคุณภาพความเร็วของบริการ 4G จาก ทั่วโลก พบว่าประเทศไทยมีคุณภาพความเร็ว 4G ที่ให้บริการเฉลี่ยอยู่ในอันดับรั้งท้าย คือ 66 จาก 76 ประเทศทั่วโลก  โดยตามหลังประเทศในภูมิภาคเดียวกัน คือ มาเลเซีย และกัมพูชา ซึ่งอยู่อันดับที่ 62 และ 65 ตามลำดับ

logoline