svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ม.44 ตัวแปรสำคัญ ที่จะทำให้ คสช. แพ้คดี "เหมืองทอง" ?

03 พฤศจิกายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในที่สุดการสั่งปิดเหมืองทองคำอัครา จากอำนาจ ม.44 ของรัฐบาล คสช. ก็นำมาสู่การฟ้องร้องในชั้นอนุญาโตตุลาการ จากการที่รัฐบาลไทย ผิดข้อตกลงการค้าไทยออสเตรเลีย FTA ที่ผ่านแม้มีการเจรจาระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะตัวแทนรัฐบาล คสช. กับ เหมืองทองอัครา ที่มีบริษัทสัญชาติออสเตรเลีย เป็นเจ้าของ มาโดยตลอด แต่ก็ไม่สามารถหาข้อยุติได้

ยังมีความหวังว่าในชั้นอนุญาโตตุลาการ รัฐบาลไทย โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กับ เหมืองทองคำ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ที่มีบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด สัญชาติออสเตรเลีย จะสามารถไกล่เกลีย และรับเงื่อนไขซึ่งกันและกันได้ แล้วเงื่อนไขของการไล่เกลี่ยคืออะไร ?บริษัทเหมือง มีความต้องการจะดำเนินกิจการเหมืองทองต่อ เนื่องจากคำสั่ง ม.44 ที่สั่งปิดเหมืองไป ทำให้การดำเนินกิจการหยุดชะงัก ทั้งๆที่ยังเหลือเวลาที่ได้รับสัมปทาน อีกเกือบปี และยังมีพื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน ที่ยังขุดสินแร่ออกไปไม่หมด เงื่อนไขการให้เหมืองเปิดดำเนินการต่อจึงน่าจะเป็นเงื่อนไขแรกของการเจรจา แต่ท่ามกลางความไม่ชัดเจน ของผลการศึกษา ผลกระทบด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองทองคำ ที่ยังไร้ข้อสรุปมาจนถึงทุกวันนี้เงื่อนไขที่ 2 น่าจะเป็นค่าเสียเวลา และค่าความเสียหาย หลังจากที่บริษัทเริ่มหยุดกิจการ ตามคำสั่ง ม.44 ที่ออกมาเมื่อปลายปี 2559 ซึ่งคงต้องชดใช้เป็นตัวเงิน ตามกระแสข่าวที่ออกมาสูงถึง 36,000 ล้านบาทหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ "เดชรัต สุขกำเนิด" โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว หลังทราบข่าวว่า บริษัทเหมือง ตัดสินใจฟ้องร้อง รัฐบาลไทย ในชั้นอนุญาโตตุลาการแล้วว่า"ตามข้อตกลง TAFTA รัฐบาลมีอำนาจยุติโครงการได้ แต่ต้องดำเนินการผ่านกระบวนการและขั้นตอนทางกฎหมาย ที่เป็นธรรม (ต่อทุกฝ่าย) และมีข้อมูลหลักฐานและเหตุผลที่เปิดเผยชัดเจนปัญหาก็คือ การยุติโครงการของรัฐบาล คสช. ดันใช้มาตรา 44 ในการยุติโครงการ แต่มาตรา 44 ไม่ได้มีกระบวนการ ขั้นตอน ปรากฎอย่างเปิดเผยและโปร่งใส การให้เหตุผลในคำสั่งของคสช. ก็ให้เหตุผลเพียงสั้นๆ ไม่ได้มีการแนบหรืออ้างหลักฐานทางวิชาการไว้ในคำสั่งดังกล่าวการใช้มาตรา 44 จึงอาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เราแพ้คดี ทั้งๆ ที่ ประเทศเราเองก็มีข้อมูลหลักฐานทางวิชาการอยู่มากมาย ที่น่าเศร้ากว่านั้นก็คือ พลเมืองไทยไม่มีอำนาจใดที่จะคัดค้านการประกาศ มาตรา 44 ไม่ว่าจะเป็นการประกาศในเรื่องใด ได้เลย ไม่เหมือนที่นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิตามข้อตกลงระหว่างประเทศ"นับตั้งแต่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ บริหารประเทศ ก็เหมือนมี ม.44 เป็นดาบอาญาสิทธิ์ กรณีเหมืองทองที่ตอนแรกเป็นความขัดแย้งในชุมชน วันนี้บานปลายใหญ่โต และท้าทายการบริหารประเทศของ คสช. อย่างยิ่ง แล้วมันมาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร ?ทางเดียวที่รัฐบาลไทยจะได้เปรียบ ในกรณีสั่งปิดเหมืองทอง คือต้องมีหลักฐานผลกระทบจากการทำเหมืองที่ชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ ขนาดว่ามีคำสั่งให้ระดมสมอง จากทั้ง 4 กระทรวง คือกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข แต่ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหน ฟันธง ว่าเหมืองกระทบ เกิดจากเหมืองทองหรือไม่ในขณะที่ ทุกครั้ง ที่ นักวิชาการที่ตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในคณะ เผยผลการพิสูจน์ แม้เพียงบางส่วนที่เชื่อได้ว่าผลกระทบเกิดจากเหมืองทองจริงๆ เช่นการพิสูจน์การรั่วซึมของบ่อกากแร่ ก็มักถูกบริษัทเหมืองทอง หาเหตุผลคัดค้าน หักล้างอยู่เสมอเอกสารชี้แจง จากกระทรวงอุตสาหกรรมนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงกรณีบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ยื่นให้ประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศว่า สืบเนื่องจากประชาชนมีการร้องเรียนและคัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำมาเป็นเวลานานว่า อาจทำให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยชุมชนในระยะยาว หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงมีคำสั่งที่ 72/2559 เรื่องการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 ให้ระงับการอนุญาตและการทำเหมืองแร่ทองคำทั้งหมดในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดและจัดให้มีมาตรการเยียวยา แก้ไขผลกระทบด้านต่าง ๆบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด (คิงส์เกต) ประเทศออสเตรเลีย ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ อ้างว่าได้รับผลกระทบจากคำสั่ง คสช. ดังกล่าว จึงได้ยื่นหนังสือขอปรึกษาหารือกับรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560 โดยอาศัยสิทธิตามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement: TAFTA) ซึ่งอนุญาตให้บริษัทเอกชนของประเทศคู่ค้ามีสิทธิยื่นคำขอปรึกษาหารือเพื่อเจรจาได้โดยตรงกับประเทศคู่ภาคี และล่าสุดคิงส์เกตได้ใช้สิทธิดังกล่าว ยื่นให้คิงส์เกตและประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศรัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นต้น เพื่อเจรจาและหาข้อยุติอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคณะกรรมการฯ ดำเนินการเจรจาโดยยึดหลักการคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน รวมทั้งให้ความเป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้อง โดยให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการแร่ทองคำใหม่ และพระราชบัญญัติแร่ฉบับใหม่ ที่รัฐบาลได้ยกร่างขึ้นและมีผลบังคับใช้แล้ว ทั้งนี้ กรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการแร่ทองคำใหม่และพระราชบัญญัติแร่ฉบับใหม่มุ่งหวังให้การทำเหมืองแร่ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเหมืองแร่ทองคำ สนองตอบแนวนโยบายของรัฐในอันที่จะสร้างสมดุลแห่งประโยชน์อันเกิดจากการทำเหมืองทั้งด้านสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้คุ้มค่า และกระจายผลประโยชน์จากการขุดค้นทรัพยากรของชาติให้เป็นธรรม เกื้อหนุนการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งกรอบนโยบายบริหารจัดการแร่ทองคำใหม่และพระราชบัญญัติแร่ฉบับใหม่นี้ จะทำให้การบริหารจัดการ และการกำกับดูแลการดำเนินกิจการเกี่ยวกับแร่ทองคำและแร่อื่น ๆ ของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และรัดกุมมากขึ้นกว่าในอดีตกระทรวงอุตสาหกรรมขอยืนยันว่า ได้ดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาอย่างเคร่งครัด รวมถึงการเตรียมการสำหรับการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศการเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ซึ่งมีลักษณะเป็นการหาข้อยุติโดยคณะบุคคลที่สามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันและยอมรับตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในกระบวนการอนุญาโตตุลาการนี้ ทั้งสองฝ่ายยังสามารถดำเนินการเจรจาเพื่อหาข้อยุติที่ยอมรับร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังไม่ได้ยอมรับข้อเรียกร้องของคิงส์เกตอย่างใดทั้งสิ้นเอกสารชี้แจง จากบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดดเต็ด จำกัด2 พฤศจิกายน 2560 บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด (ASX:KCN) ("คิงส์เกต" หรือ "บริษัท") ได้ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย มีใจความว่า หลังจากใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แล้ว บริษัทฯ ไม่สามารถหาข้อยุติในการเรียกร้องขอความเป็นธรรมกรณีเหมืองแร่ทองคำชาตรีถูกสั่งระงับการประกอบกิจการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนั้น บริษัทฯ จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการกับราชอาณาจักรไทย ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย เพื่อเรียกร้องให้มีการชดเชยค่าเสียหายอันมหาศาลที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน อันเกิดจากมาตรการของรัฐบาลไทยเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าไปกว่านี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการแต่งตั้งบริษัทกฎหมายชั้นนำอย่าง บริษัท คลิฟฟอร์ด ชานซ์ (Clifford Chance) ให้เป็นตัวแทนในการดำเนินคดีแทนบริษัทฯ และ ดร. แอนดริว เบลล์ เอส. ซี (Dr. Andrew Bell S.C.) ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสสำหรับประเด็นทางกฎหมายดังกล่าวกระบวนการทางกฎหมายดังกล่าวอาจจะไม่สามารถกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการได้ และอาจมีค่าใช้จ่ายมหาศาลที่บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบ ทั้งยังไม่สามารถรับประกันผลการพิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ขอแจ้งให้ทราบว่า การเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นยังอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาหารือกันได้เพื่อหาข้อยุติ ภายใต้เงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับข้อตกลง ณ เวลาใดก็ตาม ในระหว่างกระบวนการพิจารณาทางกฎหมายนี้คณะกรรมการ บริษัท คิงส์เกตฯ เล็งเห็นว่า ยังคงมีโอกาสในการได้รับการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากทางราชอาณาจักรไทย และจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างถึงที่สุดต่อไป

logoline