svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

นวัตกรรมจากพลังงานชุมชน

25 ตุลาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โฆษกกระทรวงพลังงาน ได้นำคณะของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน มาเยี่ยมชมแหล่งน้ำมัน และแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ แล้วก็โรงแยกแก๊สพลังเพชร ส่วนหนึ่ง ได้ทราบว่า กระบวนการผลิตน้ำมันดิบในประเทศไทยไปจนถึงกระบวนการในการที่จะกลั่นน้ำมันดิบให้กลายเป็นน้ำมันสำเร็จรูป รวมทั้งการแยกก๊าซจากแก๊สดิบให้กลายเป็นแก๊สหุงต้ม LPG เพราะว่าปลายทาง โดยกระบวนการกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน จะต้องมีการกำกับดูแลเรื่องของการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน ในบางกรณีอาจจะเป็นการชดเชย บางครั้งก็เก็บเงินเข้าเป็นต้น

เพราะฉะนั้นส่วนหนึ่งก็อยากจะพา ให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้านกองทุนนั้นมาเห็นภาพจริงนะครับว่า กระบวนการผลิตน้ำมันก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยเป็นอย่างไร นอกจากนั้นเอง และได้สัมผัสกระบวนการผลิตน้ำมันดิบ และการแยกก๊าซธรรมชาติในประเทศนั้นทำอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่าง เช่น แหล่งก๊าซ แหล่งน้ำมันดิบสิริกิติ์ ก็จะมีผลพลอยได้ที่เป็นรูปแบบของก๊าซธรรมชาติ แล้วก็นำไปใช้ประโยชน์ได้ถึง 4 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 คือ นำก๊าซธรรมชาติมาแยกให้กลายเป็นก๊าซหุงต้ม หรือ แก๊ส LPG ที่เราใช้กัน ส่วนที่ 2 คือ แก๊สธรรมชาติบางส่วนเนี่ยถูกส่งไปที่โรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยส่วนที่ 3 ที่คุ้นเคยกัน ก็คือ นำไปใช้ในการเติมรถยนต์ที่เรียกว่า NGV ส่วนที่ 4 ที่เป็นจุดเด่นเลยของแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ได้จากแหล่งน้ำมันสิริกิติ์คราวนี้ก็คือ นำก๊าซที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะเป็นส่วนน้อยนะครับไปให้ ไปขายให้กับสหกรณ์ชุมชนซึ่งอยู่รอบข้าง เป็น Project ทำให้ชุมชนสามารถที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายนะครับ ได้แก๊สต้นทุนต่ำไปพัฒนาเป็นสินค้า OTOP สินค้า OTOP ของเขาคือ กล้วยทอด แล้วก็ที่สหกรณ์ชุมชนที่หนองตูม เพราะฉะนั้นการที่จะประยุกต์ใช้ก๊าซธรรมชาติที่เรามีอยู่ถึงแม้ว่าเป็นก๊าซ เป็นผลพลอยได้ แต่ว่าประเทศไทยก็มีการพัฒนาที่ทำมา ทำให้ก๊าซผลพลอยได้นั้นเอามาใช้ประโยชน์ได้ถึง 4 รูปแบบ ก็เป็นจุดเด่นของแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ที่นี่ครับ

ถาม : ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
- แนวนโยบายในปี 61 เราวางแผนในการส่งเสริมของกองทุนอย่างไรบ้าง
หลักๆในเรื่องของที่กระทรวงพลังงานจะมี 2 กองทุน กองทุนใหญ่ คือ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนน้อง คือ กองทุนอนุรักษ์พลังงาน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง นโยบายหลักของปี 2561 ก็คือการปรับโครงสร้าง อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมาย ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมียกระดับขึ้นมาเป็นกฎหมายแม่ รวมทั้งมีการเซ็ตระบบการจัดการ การบริหารจัดการที่เป็นระบบที่ดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานก็ชัดเจน มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการประหยัด และการใช้พลังงานทดแทนอย่างคราวนี้เนี่ยในเขตพื้นที่พิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ถึงแม้ว่าจะอยู่ในบริเวณรอบๆแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ ก็พบว่ามีกลุ่มสหกรณ์หลายกลุ่มที่มีความประสงค์ต้องการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน บางส่วนอย่าง เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยตาก กล้วยทอดเนี้ย ต้องใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนเข้ามาช่วยนะครับ เมื่อวานเทคโนโลยีหนึ่งก็คือ นำให้เห็นภาพว่า เอาพาราโบลิค เป็นเต็นท์อบแห้งแสงอาทิตย์ มาแปรรูปอ่ากล้วยตาก ก็ทำให้กล้วยตากนั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้นและสามารถขายได้ วันนี้เช่นกัน ถึงว่าก๊าซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้ แอสโซเซดเทนแก๊สที่จากแหล่งน้ำมันลานกระบือ หรือ แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ที่นี่ จะไม่ใช่พลังงานทดแทน แต่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงพลังงานในการที่จะผลักดันให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีคุณค่า รู้คุณค่า แล้วก็เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะฉะนั้นการต่อท่อแก๊สให้กับชุมชนใช้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง และซึ่งทางบริษัท ปตท.สผ. ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานของแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ก็ทำได้ดี แล้วก็ได้รับรางวัลจนเป็นที่ชื่นชมของต่างประเทศ

- ถือว่าเป็นที่แหล่งตัวอย่างให้กับชุมชนในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ามากขึ้น
ใช่ครับๆ ที่ลานกระบือ แล้วก็พื้นที่รอบๆ แหล่งน้ำมันสิริกิติ์เนี้ย ผมได้รับทราบว่าชุมชนที่อยู่รอบข้าง แล้วก็ผู้ประกอบการเนี้ย เขามีปฏิสัมพันธ์ แล้วก็โครงงานที่ทำงานร่วมกัน โครงการที่หนองตูมเป็นตัวอย่างหนึ่ง ผมได้รับทราบว่าได้รับรางวัลจากต่างประเทศ ว่าเป็นโครงการประเภท CSR พัฒนาชุมชนดีเด่นในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาให้เกิดประโยชน์สูงสุดนง ก็วินๆทั้งสองฝ่าย เพราะว่าผู้ประกอบการก็มองหาคนที่ต้องใช้แก๊สก็มีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันสหกรณ์ก็ต้องการเชื้อเพลิงที่ต้นทุนไม่แพงนัก แล้วก็ลุงทุนควบคู่กัน สามารถต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์สินค้า แทนที่จะเป็นกล้วยเฉยๆ ก็เอามาเป็นกล้วยทอด แล้วก็ได้ต้นทุนที่ต่ำเป็นสินค้า OTOP ของที่นี่ได้

- ที่ผ่านมาเคยมีอุปสรรคเรื่องกลุ่มเกษตรกรที่เขาต้องการใช้แก๊สบ้างรึเปล่า ว่าได้แค่นี้ พื้นที่ใกล้ๆ พื้นที่ใกล้ๆแค่รอบโรงงาน
ยังไม่มีนะครับ แต่ว่ามันมีข้อจำกัดทางเทคนิค เพราะว่าข้อจำกัดทางเทคนิค ก็คือ ปริมาณแก๊สที่พอจะสามารถนำไปใช้ได้นะครับ เพราะว่าระบบที่แหล่งสิริกิติ์เนี้ย ถ้าเป็นแหล่งที่อยู่ไกลๆ เช่น แหล่งประดุงแพ่ว หนองตูม ไม่สามารถที่จะต่อท่อมาเข้าที่ศูนย์รวมที่ลานกระบือได้ ก็ต้องมีระบบจัดการเขาต่างหาก เป็นระบบคล้ายๆดูดซับพลังงาน เพราะฉะนั้นการที่สามารถเอาแก๊สที่เหลือใช้ให้กับชุมชนก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะวินๆครับ แต่ว่าถ้าแก๊สที่อยู่ในระบบเนี่ยเอาไปใช้ประโยชน์อื่น เช่น NGV หรือเอาไปใช้ในระบบผลิตไฟฟ้าเนี่ย ที่ลานกระบือก็มีพร้อมครับ

logoline