svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

11 ตุลาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทุนภูมิพล 2,000 บาทต่อชีวิตรักษาโรคกระเพาะขั้นรุนแรงนักศึกษาคนหนึ่งและที่สำคัญทำให้เห็นคุณค่าของเงินเป็นแรงบันดาลใจมีกำลังใจมานะอุตสาหะ และความเพียรจนประสบผลสำเร็จ

จากเด็กในครอบครัวธรรมดาๆ เรียนจนจบปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำงานไต่เต้าจนก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหาร ของธนาคารไทยพาณิชย์ มีชีวิตที่เรียบง่าย พอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและใช้ประสบการณ์ความสำเร็จในการใช้ชีวิต เป็นแบบอย่างที่ดี "ให้"แก่ผู้อื่นต่อไป


เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้


"ก้อย" กาญจนา คล่องอนันต์ผู้อำนวยการอาวุโสภาค ภาคพัฒนาธุรกิจ Wealth Ralationship Managementธนาคารไทยพาณิชย์ได้รับทุนภูมิพล สมัยเรียนชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.48 สูงสุด ของคณะ

เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

หลังจากได้ทุนภูมิพล "ก้อย" ตั้งใจไว้ว่าจะเรียนให้ได้เกียรตินิยมอันดับ 1เพื่อถวายแด่พระองค์ท่าน และได้นำพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน โดยเฉพาะเรื่องความเพียรมาปฏิบัติสร้างกำลังใจ แรงผลักดันให้ตัวเองดำเนินชีวิตโดยเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา พยายามหาโอกาสให้แก่ตัวเอง เป็นแรงผลักดันทำให้มีวันนี้

เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

"เราเก็บไว้เงินไว้บนหิ้ง มีพระบรมฉายาลักษณ์พระองค์ท่านวางไว้บนพาน พร้อมกับทุนการศึกษาที่ได้รับพระราชทาน ตั้งใจไว้จะไม่ใช้เลย แต่มีเหตุการณ์ที่ต้องใช้ และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ตัวเองรู้จักเก็บออม รู้จักคุณค่าของเงิน ยึดหลักคำสอนของพระองค์ท่านทุกข้อ ตั้งแต่ ขยัน อดทนมานะ วิริยอุตสาหะ ประหยัด อดออม ด้วยการพยายามเรียนหนังสือให้เก่งเพื่อรักษาทุนของมหาวิทยาลัยที่ได้รับทำงานอื่นๆควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น สอนพิเศษภาษาอังกฤษ ทำเทียนหอมขาย ช่วยพี่สาวประดิษฐ์ต่างหู เพ้นท์แก้ว และเป็นประธานหอพักนักศึกษาเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าที่พักของมหาวิทยาลัย"


เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

ก้อย บอกว่า วันที่ 13 ตุลาคม2559 เป็นวันที่เสียใจ และร้องไห้หนักมากที่สุดในชีวิต เมื่อรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคต ซึ่งตอนนี้ก็ยังเศร้าและเสียใจอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น เราก็คงต้องทำหน้าที่ บทบาทความรับผิดชอบของเราให้ดีที่สุด เพราะพระองค์ท่านคงไม่ดีใจหากเราเอาแต่เศร้าโศกจนไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเอง ตอนนี้หลายๆ เรื่องที่เราทำได้ คือการน้อมนำพระราชดำรัสของพระองค์ท่านมาปรับใช้เป็นแนวทางให้แก่ชีวิต

เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

ด้วยความที่เป็นคนขยัน เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาและไม่เกี่ยงงาน ผ่านการทำงานมาหลายตำแหน่ง หลายองค์กร ทุกครั้งที่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ชื่อของ ก้อย จะอยู่อันดับต้นๆเสมอ เมื่อคราวที่องค์กรส่งไปอบรมนักวางแผนการเงินมืออาชีพ จนได้Certified Financial Planner ทั้งๆที่ไม่มีความรู้พื้นฐานมาก่อน ก้อยก็หาได้กังวลไม่ เพราะเธอมี "ความเพียร" หลักคำสอนของพระองค์ท่านเป็นที่ตั้ง

เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

"ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ๆ หาความรู้ใส่ตัวเองอยู่เสมอ และไม่กลัวต่อการทำงานหนัก ขยัน อดทน ซึ่งเป็นสิิ่งที่ทุกองค์กรต้องการ ถ้าเรานำหลักคำสอนของพระองค์ท่านมาใช้ในชีวิตประจำวันจะรู้ว่าไม่มีสิ่งใดที่เราทำไม่ได้เลย ขอเพียงเราใช้ความเพียรและลงมือทำ"


เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้


ปัจจุบัน เธอเป็นนักวางแผนการเงิน มีหน้าที่ให้ความรู้ ทำความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องการเก็บออม การจัดสรรเงิน ได้น้อมนำพระราชดำรัสในการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง การเก็บออม การใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และการแบ่งสรรเงินให้ดี ไม่เป็นหนี้เป็นสินใคร มาสอนให้แก่สถาบัน หน่วยงานต่างๆให้เป็นวิทยาทาน ตั้งใจให้คนฟังและคนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนการเงิน เลยรับเป็นวิทยากรในองค์กรต่างๆรวมถึงมหาวิทยาลัยเพราะตั้งใจว่าจะเผยแพร่ความรู้ที่มีให้มากที่สุด

เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

เธอบอกว่าการวางแผนการเงินต้องแบ่งเงินเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1.กล่องครอบครัว 2.กล่องเก็บออมไว้ใช้ตอนเกษียณอายุ 3.กล่องออมเผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน และ 4.กล่องความฝันรางวัลชีวิต ซึ่งทุกคนทำได้

"การให้ความรู้แก่คนอื่น เป็นการเดินตามรอยพระยุคลบาทที่ตั้งใจว่าจะทำไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพราะเรามีวันนี้ได้เพราะทุนของพระองค์ท่าน และหลักคำสอนของพระองค์ได้นำมาปฏิบัติทุกข้อส่งผลให้มีวันนี้ อยากจะแบ่งปันให้ทุกคน ทุกหน่วยงานที่ต้องการเชื่อว่านักศึกษา บัณฑิตทุนทุกคนระลึกอยู่เสมอว่า ทุนที่ได้ช่วยเหลือชีวิตเราอย่างไร เมื่อเราเป็นผู้รับ เมื่อเรามีโอกาสก็ควรจะเป็นผู้ให้คนอื่นเช่นเดียวกัน ถ้าเรามีมาก หรือพอมีก็ควรแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเช่นกัน"ก้อย กล่าวทิ้งท้าย


เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

ทั้งนี้ ตั้งแต่พ.ศ.2495 เป็นต้นมา "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1แสนบาท ให้แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ตั้งเป็นทุน "ภูมิพล"ขึ้น เพื่อเก็บดอกผลพระราชทานเป็นทุนแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผู้เรียนดี แต่ขัดสนทุนทรัพย์ ทุนนี้จะให้แก่นักศึกษาคนละ 200 บาทต่อเดือนเป็นเวลา1 ปี

เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

นอกจากนั้น ได้พระราชทานทุนการศึกษาให้แก่บัณฑิตที่สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในสาขาวิชาต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นรางวัลแก่นิสิตนักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์เป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมกำลังใจและการศึกษาของนิสิตนักศึกษาให้มีความมานะอุตสาหะต่อการศึกษามากขึ้น และยังได้พระราชทานเป็นรางวัลด้านอื่นๆ อีกด้วย อาทิ การแต่งหนังสือ การแต่งเรียงความ

เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

ต่อมา ได้พระราชทานทุนขยายไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆ ดังในคราวเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรเดิม) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2510 ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 5หมื่นบาท ตั้งเป็นทุนมูลนิธิ "ภูมิพล" และได้ตราระเบียบลงวันที่ 8 มกราคม 2511 แบ่งเป็นทุน 2 ประเภท ได้แก่ (ก) ทุนประเภทช่วยเหลือการศึกษา (ข) ทุนประเภทช่วยเหลือการทำปริญญานิพนธ์หรือการวิจัย

เพราะทุนของ "พ่อ" ช่วยต่อชีวิตจนมีวันนี้

รวมถึงได้พระราชทานทุนมูลนิธิ "ภูมิพล" แก่บัณฑิตที่ได้คะแนนยอดเยี่ยมในสาขาวิชาต่างๆ ไปศึกษาต่อในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งนักศึกษาที่ได้รับพระราชทานทุนนี้หลังจากสำเร็จการศึกษากลับสู่ประเทศไทยแล้ว ได้ออกปฏิบัติงานด้านพัฒนาเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นอย่างมาก (นวองค์บดี "ภูมิพล". กรุงเทพ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2513 หน้า 30)

-----------

ที่มา : www.komchadluek.net/news/edu-health/298716

logoline