svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

จดสิทธิบัตรแล้ว! นาฬิกาดิจิตอลบอกเวลาละหมาดประจำมัสยิดของไทย

16 กันยายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สำหรับชาวมุสลิมเป็นที่รู้กันว่า บิหลั่น หรือ ผู้ทำหน้าที่อาซฺานจะรอฟังเสียงแจ้งเตือนเมื่อเข้าเวลาละหมาดทุกเวลาจากนาฬิกานี้ วันนี้จะพาเพื่อนๆ รู้จักประวัติที่มาของนาฬิกานี้ เมื่อสัก 30 ปีที่แล้ว คิดว่าหลายคนอาจเคยเห็นแผงนาฬิกาดิจิตอลแสดงเวลาละหมาดตามมัสยิดต่างๆ นั้นเป็นผลงานคนมุสลิมที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านครัว ซึ่งเขาได้ออกแบบนาฬิกาดิจิทัลที่เพิ่งเริ่มเข้ามาใช้ในประเทศไทยยุคแรกๆ โดยต่อยอดไอเดียมาจากแผงนาฬิกาแสดงเวลาละหมาด 5 เวลาแบบเข็มเรือนกลมๆ สมัยนั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริจาคให้หลายมัสยิด

เขาเล่าให้ผมฟังว่า "ทุกครั้งที่เห็นแผงนาฬิกาแสดงเวลาละหมาดที่มัสยิด ก็มักเอะใจสงสัยว่า เวลาที่แสดง ตรงกับเวลาละหมาดจริงหรือเปล่า ผู้ดูแลได้หมุนเข็มให้ตรงตามปฏิทินเวลาละหมาดทุกวันหรือไม่ หลายครั้งก็ต้องแอบตรวจสอบกับปฏิทิน ประกอบกับการแสดงเวลาด้วยนาฬิกาแบบเข็มไม่สามารถแยกกลางคืนกลางวันได้ทำให้การสื่อเวลาละหมาด เช่น ละหมาดซุบฮิ เป็นตี 5 หรือ 5 โมงเย็น จึงมีความคิดว่า เราอยู่ในสมัยนาฬิกาดิจิตอลแล้วทำไมไม่นำมาใช้"

จดสิทธิบัตรแล้ว! นาฬิกาดิจิตอลบอกเวลาละหมาดประจำมัสยิดของไทย


ขณะนั้นเขาไม่มีความรู้เรื่องการคำนวณเวลาละหมาด เลยเวลาผ่านไป 3-4 ปี ก็ไปได้โปรแกรมการคำนวณเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตกของเครื่องคิดเลขแบบที่โปรแกรมได้ จึงเป็นที่มาของการเริ่มศึกษาการคำนวณเวลาละหมาดด้วยตนเองจนสามารถคำนวณเวลาละหมาดได้เกือบหมด ติดอยู่ที่เวลาละหมาดอัสริซึ่งยากมาก (สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนดาราศาสตร์)

จดสิทธิบัตรแล้ว! นาฬิกาดิจิตอลบอกเวลาละหมาดประจำมัสยิดของไทย


ตามข้อกำหนดของเวลาละหมาดอัสริ ระบุว่า จะเข้าเวลาละหมาดเมื่อความยาวของเงาเท่ากับความยาวของวัตถุ เขาก็มะงุมมะงาหรากับเรื่องนี้อยู่หลายปี (2-3 ปี) จนกระทั่งชมรมมุสลิมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้เชิญ อ.สมชัย เรืองทอง มาบรรยายเรื่องดาราศาสตร์กับเวลาละหมาด จึงได้รับความรู้จากอาจารย์จนสามารถคำนวณเวลาละหมาดได้ครบ

จดสิทธิบัตรแล้ว! นาฬิกาดิจิตอลบอกเวลาละหมาดประจำมัสยิดของไทย


หลังจากนั้นได้เริ่มออกแบบนาฬิกาชนิดดิจิตอล โดยทดลองใช้เองที่บ้านอยู่พักหนึ่ง ต่อมาได้ปรึกษาหารือกับอิหม่ามสาธิต (มัสยิดบ้านตึกดิน) และได้ออกแบบนาฬิกาแสดงเวลาละหมาดเป็นรูปแบบเฉพาะ ติดตั้งใช้งานเป็นมัสยิดแรกเมื่อ 15 ธ.ค. 2537 ต่อมาจึงทำนาฬิกาตามรูปแบบที่เห็นเหมือนทุกวันนี้ ติดตั้งครั้งแรกที่ทั้ง 3 มัสยิดของบ้านครัว เมื่อ 15 เม.ย. 2539 และทยอยติดตั้งใช้งานตามมัสยิดต่างๆ จนถึงปัจจุบัน ประมาณ 260 เรือนทั่วประเทศไทย

จดสิทธิบัตรแล้ว! นาฬิกาดิจิตอลบอกเวลาละหมาดประจำมัสยิดของไทย


เขาบอกกับผมว่า "เคยคิดจะใช้ GPS ดึงเวลาจากดาวเทียมเพื่อจะได้ไม่ต้องตั้งเวลา เนื่องจากนาฬิกาประเภทนี้จะเดินเร็วหรือช้าประมาณวันละ 1 วินาที คิดเป็นประมาณ 2 เดือน 1 นาที แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายสูงอยู่ แต่ละมัสยิดจึงควรมีผู้ดูแลตั้งเวลาเทียบเวลาจากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือเป็นประจำ"

จดสิทธิบัตรแล้ว! นาฬิกาดิจิตอลบอกเวลาละหมาดประจำมัสยิดของไทย


เขาทิ้งท้ายว่า "มีความคิดจะปรับขนาดตัวเลขและแผงให้ใหญ่ขึ้นเพื่อแสดงผลได้อย่างชัดเจน"

จดสิทธิบัตรแล้ว! นาฬิกาดิจิตอลบอกเวลาละหมาดประจำมัสยิดของไทย


จนถึงวันนี้เขายังประกอบนาฬิกาตามสั่งอยู่ที่บ้านครัว (เกาะกอย) ราคานาฬิกายุคแรกๆ มีค่าใช้จ่าย 6,000 บาทต่อเรือน ปัจจุบัน (เริ่มตั้งแต่ปี 2560) มีราคาปรับเพิ่มเป็น 7,000 บาท
เจ้าของผลงานคนบ้านครัว :คุณธวัช (อับดุลวาฮับ) สุมานะนันท์ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านครัววิทยาอดีตพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)http://oknation.nationtv.tv/blog/wootthinan/2017/09/16/entry-1สอบถามโทร : 081-622-0025

จดสิทธิบัตรแล้ว! นาฬิกาดิจิตอลบอกเวลาละหมาดประจำมัสยิดของไทย

logoline