svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

เปิดไอเดียคนรุ่นใหม่ผลิต "คราฟต์เบียร์รสชาติเชียงใหม่" บุกตลาดเบียร์ไทย

19 มิถุนายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ธุรกิจคราฟต์เบียร์รสชาติไทย ภายใต้อุ้งมือการผลิตของผู้ผลิตเบียร์สัญชาติไทย ที่มีมากกว่า 10 แบรนด์ กำลังฟีเวอร์ในกลุ่มคอคราฟต์เบียร์ที่ต้องการความต่างของรสชาติ แม้ว่าจะมีสัดส่วนในตลาดเบียร์ทั้งระบบของประเทศไทยเพียงร้อยละ 1 แต่การขับเคลื่อนกลับมีความโดดเด่นอย่างน่าจับตามองไม่น่อย เช่นเดียวกับ "Chiang Mai Beer"คราฟต์เบียร์รสชาติเชียงใหม่ที่กำเนิดขึ้นมาจากฝีมือกลุ่มคนรุ่นใหม่ชาวเชียงใหม่ ด้วยการหยิบเอาเสน่ห์อัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่มาผสมผสานกับวัตถุดิบในท้องถิ่น บ่มเพาะกลายเป็นคราฟต์เบียร์ ครองตำแหน่งสินค้าโลคอลแบรนด์ที่คนต่างแดนต่างถามหา

นายศักดิ์สิทธิ์ สงวนผล ผู้บริหาร บริษัท Moutain brewer จำกัด ผู้ก่อตั้ง Chiang Mai Beer เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจคราฟต์เบียร์ว่า เมื่อครั้งที่ไปเรียนปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกากับหุ้นส่วน พบว่าเป็นแหล่งผลิตเบียร์ที่มีหลากหลายมาก โดยเฉพาะคราฟต์เบียร์ จึงได้ตั้งใจศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง และทำลองซื้อชุดทำเบียร์มาผลิตลองผิดลองถูกตั้งแต่ปี 2554 ก็พบว่ามีช่องทางที่จะสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองได้ โดยเขียนโรดแมปจะทำคราฟต์เบียร์ท้องถิ่น ที่ใช้วัตถุดิบของท้องถิ่นที่บ่งบอกเอกลักษณ์

เปิดไอเดียคนรุ่นใหม่ผลิต "คราฟต์เบียร์รสชาติเชียงใหม่" บุกตลาดเบียร์ไทย


ต่อมาเมื่อกลับมาประเทศไทย ก็เดินหน้าผลิตเบียร์ขายในกลุ่มของเพื่อนที่ต้องการนำไปใช้ในงานสัมมนา งานแต่งงาน และงานเลี้ยงต่างๆ ในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ภายใต้ยี่ห้อ Chiang Mai Beer แต่ก็มีข้อจำกัดของการผลิตที่กฎหมายยังไม่รองรับ จึงได้หาข้อมูลที่จะผลิตเบียร์ในประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งปี 2557 พบข้อมูลว่าในแขวงสะหวันเขต ส.ป.ป.ลาว มีโรงงานผลิตเบียร์ท้องถิ่น จึงได้ว่าจ้างให้โรงงานแห่งนี้ผลิตเบียร์ให้กับทางบริษัทฯ

เปิดไอเดียคนรุ่นใหม่ผลิต "คราฟต์เบียร์รสชาติเชียงใหม่" บุกตลาดเบียร์ไทย


"ในต่างประเทศการทำโรงงานผลิตเบียร์ท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่ในประเทศไทยยังดำเนินการไม่ได้ ฉะนั้นการตั้งฐานการผลิตนอกประเทศเป็นสิ่งที่จะช่วยผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นมาได้ และกว่าที่จะได้แหล่งผลิตก็พบกับอุปสรรคหลายอย่าง ตอนนั้นจำได้ว่าต้องใช้เวลาเป็นปีเจรจากับทางโรงงานผลิตเบียร์ของส.ป.ป.ลาว เริ่มต้นตั้งแต่ติดต่อขอเข้าไปดูโรงงาน กว่าที่ทางเจ้าของโรงงานผลิตเบียร์สะหวันเขต จะตอบตกลง ก็ไม่ได้ง่ายๆ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ผมและหุ้นส่วนต้องเดินหน้า" นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว

เปิดไอเดียคนรุ่นใหม่ผลิต "คราฟต์เบียร์รสชาติเชียงใหม่" บุกตลาดเบียร์ไทย


ด้วยพื้นฐานหุ้นส่วน 3 คนที่ก่อตั้งมาด้วยกัน เป็นคอเบียร์และศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน รวมถึงลงมือปฎิบัติค้นหาสูตรที่ใช่มาตลอด 7-8 ปี เริ่มตั้งแต่ทดลองหมักและชิมกันเองก่อน ต่อมาค่อยๆพัฒนาสูตรเบียร์จากถังละ 20 ลิตรไปจนถึงถัง 10,000 ลิตรขึ้นไป บนพื้นฐานการผลิตเบียร์ที่ได้มาตรฐาน และการใช้เทคนิคที่บางอย่างต้องเรียนรู้กันหน้างาน เพราะเชื่อว่าตลาดคราฟต์เบียร์ไม่หยุดเพียงเท่านี้ และในยุคต่อไปนี้ธุรกิจจะหนีไม่ผล คำว่า Ecosystem ซึ่งทุกอย่างต้องเชื่อมโยงกันหมดอย่างเกื้อกูลกัน ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้จัดจำหน่าย
"ตอนนี้ Chiang Mai Beer เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสปป.ลาว แต่รสชาติเป็นการถ่ายทอดความเป็นเชียงใหม่ ที่เลือกเอาข้าวสาลีพันธุ์ฝางจากผืนนาเชียงใหม่ และกำลังมีแผนที่จะนำผลไม้พื้นถิ่น และกาแฟมาเพิ่มสีสันให้กับสินค้า โดยตอนนี้ทั้งคนไทย และคนต่างชาติที่มาเชียงใหม่อายุ 25-35 ปีให้ความนิยม และมีกำลังซื้อ ซึ่งตอนนี้คนไทยที่ผลิตออกมาขายอย่างถูกต้องตามกฎหมายมีประมาณ 10 แบรนด์ ยังไม่รวมกับที่ผลิตกันเองอีกกว่า 100ราย แสดงให้เห็นว่า ตลาดยังขขยายได้อีก "นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว
นายชาญ ชวาลภาฤทธิ์ ผู้บริหาร บริษัท Moutain brewer จำกัด ผู้ก่อตั้ง Chiang Mai Beer กล่าวว่า คราฟต์เบียร์ผลิตในประเทศไทยไม่ได้ ก็ต้องหาที่ผลิตในต่างประเทศ ภายใต้สูตรเบียร์ที่เราคิดค้นไว้ โดยต้องใช้เม็ดเงินหลักล้านบาทในการลงทุน และในเดือนธันวาคม ปี 2558 เบียร์ล็อตแรกที่ผลิตอย่างเป็นทางการก็ได้มีการนำเข้าจากสปป.ลาวเข้ามายังประเทศไทย ผ่านทางด่านพรมแดนจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งก็เป็นเรื่องใหม่ในการนำเข้าเบียร์จากลาวมายังประเทศไทย

เปิดไอเดียคนรุ่นใหม่ผลิต "คราฟต์เบียร์รสชาติเชียงใหม่" บุกตลาดเบียร์ไทย


ในการทำเบียร์มีการทดลองสูตรอย่างต่อเนื่อง แต่การที่จะสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ไม่ได้อยู่ที่หน้าตาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องขึ้นอยู่กับรสชาติที่จะตอบโจทย์การเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ โดยขณะนี้มีสินค้า 2 ชนิด คือ รถแดง ไอพีเอ ถือเป็นมาดบิตเตอร์เอลอังกฤษ สร้างเอกลักษณ์ด้วยคาราเมลมอลต์ ฮอปปี้ปานกลาง รสชาติจะขมเพียงเล็กน้อย และเชียงใหม่ ไวเซ่น ถือว่าเป็นเฮเฟอไวเซ่นไทย หอมนวลกลิ่นข้าวสาลีพันธุ์ฝางจากผืนนาเชียงใหม่ หวานฉ่ำอย่างผลไม้สุก
ทั้งนี้ การดีไซน์ฉลากจะเน้นให้เห็นถึงการเป็นผลิตภัณฑ์ของจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการหยิบยกเอารถสี่ล้อแดง และผืนนามานำเสนอให้เข้าถึงลูกค้า โดยขณะนี้ราคาขายอยู่ที่ขวดละ 150 บาท โดยเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ปลายปี 2559 เป็นต้นมา โดยล๊อตแรกผลิตทั้งหมด 30,000 ลิตร ทยอยกระจายสินค้าจำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ และในกรุงเทพฯ ตามร้านอาหาร, บาร์ และห้างสรรพสินค้า โดยราคาอาจจะสูง เพราะเป็นสินค้านำเข้า และภาษียังอยู่ในระดับสูง ในสัดส่วนร้อยละ 48 จากราคาขายส่ง

เปิดไอเดียคนรุ่นใหม่ผลิต "คราฟต์เบียร์รสชาติเชียงใหม่" บุกตลาดเบียร์ไทย


"ปัจจุบันนี้ถือว่ามีความลงตัวในการเริ่มต้นทำธุรกิจ และพร้อมพัฒนาสูตรอย่างต่อเนื่องที่มีีความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้าท้องถิ่นมากขึ้น โดยยังต้องพึ่งพาการใช้ฐานผลิตจากต่างประเทศ แต่ในอนาคตยังมีความหวังว่าจะกลับเข้ามาตั้งโรงงานผลิตคราฟต์เบียร์ในจังหวัดเชียงใหม่ หากว่าภาครัฐเปิดโอกาสให้ขับเคลื่อนธุรกิจคราฟต์เบียร์แจ้งเกิดในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย" นายชาญ กล่าว

เปิดไอเดียคนรุ่นใหม่ผลิต "คราฟต์เบียร์รสชาติเชียงใหม่" บุกตลาดเบียร์ไทย

logoline