svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

บริษัทระดับโลก ขยับตัวยึดหัวหาด IoT

19 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บริษัทไมโครซอฟท์ประกาศ จะให้การสนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Internet of Things (IoT) และ AI ผ่านทางระบบ Microsoft Intelligent IoT เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เทคโนโลยีหลักของอุตสาหกรรม 4.0 โดยไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวโซลูชั่นซอฟต์แวร์ (Software as a Service - SaaS) ที่เรียกว่า "IoT Central"


นอกจากนี้ไมโครซอฟต์จะส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลด้วยการขยายภาพลักษณ์ของ IoT & AI Insider Labs ของไมโครซอฟท์ไปทั่วโลกอีกด้วย
ตลาด IoT ในยุคต่อไปจะใช้กันอย่างแพร่หลายในด้านการเกษตร การผลิต และพลังงาน รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
โดย Microsoft Intelligent IoT ได้ใช้ IoT Hub สำหรับการเชื่อมต่อ ติดตามและควบคุมอุปกรณ์ และใช้ระบบ Data Analytic สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ realtime และอุปกรณ์สำหรับการคาดการณ์พยากรณ์ และวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหมายความว่าบริการ IoT เช่น Machine learning และ AI สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องบนแพลตฟอร์มเดียวในทุกการประยุกต์ใช้งาน
ซึ่ง IoT Central เป็นโซลูชั่น SaaS ตัวแรกในอุตสาหกรรมที่พัฒนาบนพื้นฐานของแพลตฟอร์ม Cloud ที่มีกระบวนการพัฒนาที่เรียบง่าย
โดย IoT Central จะให้บริการกับแพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์ม Service Solution (Platform as a Service (PaaS)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดและช่วยเร่งการพัฒนาตลาด ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของบริษัทและกระบวนการภายใน โดยไม่จำเป็นต้องมีรหัสพิเศษหรือต้องอาศัยความช่วยเหลือระดับมืออาชีพในการใช้โซลูชั่น IoT อีกต่อไป
ตัวอย่างของกรณีการใช้งาน Intelligent IoT ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ ได้แก่
ThyssenKrupp ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตลิฟต์ของประเทศเยอรมันนี และ The Yield ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีการเกษตรในออสเตรเลีย โดย บริษัท ThyssenKrupp ได้ติดตั้งเซ็นเซอร์ในลิฟต์และรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานใน Cloud
และวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยใช้ Machine learning ซึ่งสามารถระบุรูปแบบของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องของลิฟต์และเพื่อคาดการณ์ความผิดพลาดที่จะเกิดในอนาคต ซึ่งทำให้ ThyssenKrupp สามารถเพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้าได้ และช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษา นอกจากนี้ยังคาดหวังว่าจะปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการใช้ Skype อีกด้วย
The Yield ที่เป็นผู้นำในการสร้างสมาร์ทฟาร์ม (Smart farm) โดยใช้เทคโนโลยี IoT ของไมโครซอฟท์
เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากไวรัสจากชายฝั่งแปซิฟิกซึ่งเป็นอันตรายต่อหอยนางรม ที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ
โดย The Yield ได้พัฒนาอัลกอริทึมที่คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำได้โดยการรวบรวมข้อมูลจาก Cloud ที่เป็นข้อมูลสภาพอากาศ และข้อมูลเซ็นเซอร์คุณภาพน้ำจากฟาร์มหอยนางรม โดยมีการให้ข้อมูลกับฟาร์มหอยนางรมและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถดูข้อมูลได้อย่างง่ายดาย และสามารถลดความเสียหายของหอยนางรมที่เกิดจากการเสื่อมคุณภาพของน้ำและเพิ่มผลผลิตได้ถึง 25%
นอกจากนี้ ในประเทศเกาหลี เทคโนโลยี IoT ยังถูกนำมาใช้โดยบริษัทต่างๆ เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ เช่น AirPro ที่เป็นโซลูชั่นแบบฝังตัว และผู้ให้บริการ IoT
อย่าง SGA Embedded ได้ให้บริการ IoT แบบอัจฉริยะซึ่งรวบรวมมลพิษฝุ่นขนาดเล็กทั่วประเทศ และวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยเทคโนโลยี Machine learning ของไมโครซอฟต์เพื่อหาระดับมลพิษของฝุ่นละอองในพื้นที่เฉพาะ โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ต่ำมาก
SGA Embedded ได้ติดตั้งและใช้ AirPro ในโรงเรียนชั้นนำภายใต้คณะกรรมการการศึกษา และอยู่ในระหว่างการร่วมมือกับสำนักงานการศึกษาและเทศบาลต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการการติดตั้ง AirPro ในโรงเรียนถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดีในการใช้เทคโนโลยีไอทีล่าสุดเพื่อสุขภาพเด็ก ในการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก
ในขณะเดียวกันไมโครซอฟท์ ได้สร้างระบบ Microsoft AI และ Research Group
ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรมากกว่า 5,000 คนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น IoT และ AI ด้วยสิทธิบัตรที่มีกว่า 1,142 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI ดังนั้น ไมโครซอฟท์จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีและการวิจัยและพัฒนา
Referencehttp://www.techforkorea.com/2017/04/28/microsoft-accelerates-korean-market-penetration-with-intelligent-iot/


พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณรองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมwww.เศรษฐพงค์.comLINE id : @march4G

logoline