svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

คลองหลวง ทะเลสาบสงขลาเสี่ยงเน่า

03 พฤศจิกายน 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักวิจัยม.สงขลา วิจัยพบปริมาณสารคลอโรฟิลล์เอในคลองหลวง ที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบสงขลา พบสารอาหารมากเกินไป แพลงก์ตอนพืชเพิ่มจำนวนรวดเร็ว กระทบคุณภาพน้ำและสิ่งมีชีวิตอื่น

อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา นายกมลนาวิน อินทนูจิตร บอกว่า ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำบริเวณคลองหลวง ที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบสงขลาตอนล่างกับทะเลสาบสงขลาตอนกลาง พบมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหายูโทรฟิเคชัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสารอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจนและฟอสฟอรัส เป็นเหตุให้แพลงก์ตอนพืชหรือพืชน้ำเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและสิ่งมีชีวิตอื่นในน้ำ และปัญหามลพิษทางน้ำอื่นๆ อย่างรุนแรงในช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน
เนื่องจากคลองหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบสงขลาตอนล่างกับทะเลสาบสงขลาตอนกลาง มีลำคลองสาขาย่อยเชื่อมต่อมากมาย รวมทั้งลักษณะของลำคลองมีความตื้นเขินส่วนใหญ่ จึงเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำขนาดเล็กต่างๆ รวมทั้งพื้นที่รอบๆ ทั้งสองบริเวณมีการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชนในการทำการเกษตร เช่น การทำสวนปาล์มน้ำมัน การทำนา การทำนากุ้ง จึงมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ มากเกินไป เมื่อเข้าสู่ช่วงต้นฤดูฝนน้ำได้มีการชะล้างนำพาตะกอนและธาตุอาหารจากหน้าดินไหลลงสู่คลองหลวง จึงเกิดการสะสมของตะกอนและธาตุอาหารในน้ำมีมาก ทำให้แพลงก์ตอนพืชและพืชน้ำขนาดเล็ก เช่น สา หร่าย และ ตะไคร่น้ำเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จนทำให้สัตว์น้ำตายจำนวนมาก เกิดปัญหาทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ปัญหาน้ำเสีย จนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในน้ำ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของชุมชนและประชาชนริมน้ำ

logoline