svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

เปิดโผหุ้นได้-เสียประโยชน์ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีกลุ่มไหนบ้าง เช็กเลย

06 พฤษภาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แรงงานเฮ ! กระทรวงแรงงานจ่อปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันดีเดย์ 1 ต.ค.นี้ แต่ภาคอุตสาหกรรมไหนที่ได้รับผลกระทบ-อุตสาหกรรมไหนได้รับประโยชน์ และหุ้นตัวไหนที่ยังน่าลงทุนและตัวไหนควรเลี่ยง ตามไปดูกันเลย

กระทรวงแรงงานประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันดีเดย์ 1 ต.ค.นี้  ทุกอาชีพ ทุกกิจการทั่วประเทศ(ปรับขึ้นเฉลี่ย 10%)  ผลกระทบในแต่ละอุตสาหกรรมจะมากน้อยแค่ไหน Nation STORY ได้รวบรวมข้อมูลของฝ่ายวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ประเมินผลดี-ผลเสียต่อภาคธุรกิจจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นตามไปส่องกันเลย

เริ่มจากบล.เอเซียพลัสมองว่า  อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานจำนวนมาก โดย ต้นทุนค่าแรงที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำ จะอยู่ในส่วนของคนงานก่อสร้างที่มีทั้งการจ้าง โดยตรงและการจ้างผ่านผู้รับเหมาช่วง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 20-30% ของต้นทุน ก่อสร้าง โดยเงินที่จ้างผ่านผู้รับเหมาช่วงจะมีการรวมทั้งค่าแรงงานและค่าวัสดุ ก่อสร้างเข้าไปด้วย

ทั้งนี้หากตั้งสมมุติฐานว่าค่าแรงอย่างเดียวคิดเป็นสัดส่วน 50% ของค่าจ้างเหมาช่วง เท่ากับว่าต้นทุนที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำน่าจะมีสัดส่วนประมาณ 10- 15% ของต้นทุนก่อสร้าง ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุก 1% จะกระทบต่อต้นทุน การก่อสร้าง 0.10-0.15% แต่ในทางปฏิบัติ หากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจริง บริษัทรับเหมาก่อสร้างและบริษัทที่รับเหมาช่วงจะแบ่งกันรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไปคนละส่วน

 

เปิดโผหุ้นได้-เสียประโยชน์ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีกลุ่มไหนบ้าง เช็กเลย

อีกทั้งบริษัทรับเหมางานภาครัฐจะมีเงินชดเชยจากค่า K ซึ่งมีเงินเฟ้อเป็น องค์ประกอบในการคำนวณด้วย ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้น ต่ำทุก 1% ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างไม่เกิน 0.1% สำหรับ การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้นจาก 363 บาทเป็น 400 บาท หรือปรับเพิ่มขึ้น 10% จะทำ ให้บริษัทรับเหมามีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงราว 1% จากปัจจุบันที่บริษัทรับเหมาฯ มี GROSS MARGIN เฉลี่ย 6-10% และมี NET PROFIT MARGIN 2-6% ถือว่า ค่อนข้างมีนัยสำคัญต่อผลประกอบการของบริษัทรับเหมาก่อสร้างโดยผู้ที่ได้รับ ผลกระทบมากได้แก่บริษัทรับเหมาที่มีอัตรากำไรต่ำและให้แรงงานสูง อย่าง ITD,NWR

อุตสาหกรรมนิคม  ฝ่ายวิจัยประเมินว่าผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะมี ผลกระทบต่อยอดขายที่ดินนิคมฯ ในวงจำกัด เนื่องจากหากย้อนไปปี 2553 – 2555 ที่มีการปรับขึ้นค่าแรงจาก 215 บาทต่อวัน เป็น 300 บาทต่อวัน (+40%YOY) หาก เปรียบเทียบการขึ้นค่าแรงกับกับยอด PRE-SALE ของ AMATA พบว่า ยอด PRESALE ไม่ได้ลดลง

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาดังกล่าว มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติ บุคคลลลงมาเป็นการชดเชยด้วยในรอบนี้จึงต้องรอติดตามว่าจะมีแนวทางใดเข้ามา ดึงดูดความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนเป็นการชดเชย แม้ค่าแรงจะปรับเพิ่ม แต่ ประเทศไทยยังมีจุดเด่นที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆในประเทศเพื่อบ้าน เช่น โครงสร้าง พื้นฐานที่พร้อมและกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่ดิน เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มขนส่ง (LOGISTICS) มีผลค่อนข้างจำกัดเช่นกัน เนื่องจากเงินเดือนอยู่ในระดับที่สูงกว่า ค่าแรงขั้นต่ำและ COMMISSION ขึ้นกับจำนวนที่ขายได้

เปิดโผหุ้นได้-เสียประโยชน์ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีกลุ่มไหนบ้าง เช็กเลย

อุตสาหกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัย
   แนวโน้มการปรับขึ้นค่าแรงสู่ระดับ 400 บาทต่อวัน ย่อมส่งผลเชิงลบต่อต้นทุนการพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยทุกราย โดยหากพิจารณาโครงสร้างต้นทุนสัดส่วนหลัก 30-40% มาจากต้นทุนที่ดิน ตามด้วยต้นทุนก่อสร้างและแรงงาน 40-50% ที่เหลือเป็นงานโครงสร้างและอื่น ๆ ภายใต้ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปัจจัยอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม หากอิงจากข้อมูลของ ผู้ประกอบการบางรายประเมินต้นทุนการพัฒนาจะเพิ่มขึ้น 10% ย่อมกระทบต่อ ประสิทธิภาพทำกำไร แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการจะสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวได้ ผ่านการส่งผ่านไปยังราคาขายตามต้นทุนใหม่ ซึ่งหมายถึงราคาขายอาจ ต้องปรับขึ้น 5-10% เพื่อรักษามาร์จิ้นไว้ รวมถึงบริหารจัดการต้นทุนอื่น เช่น ใช้ ประโยชน์จากระบบ PRECAST ในการก่อสร้างมากขึ้นเพื่อลดแรงงานคน, ปรับ รูปแบบสินค้า เปลี่ยนวัสดุ ลดขนาดบ้าน ฯลฯ เพื่อไม่ให้กระทบต่อมาร์จิ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพทำกำไรตลอดช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551-2565) พบว่า ผู้ประกอบการยังสามารถรักษา GROSS MARGIN (GP) ใน กรอบ 31-35% และ NORM PROFIT MARGIN กรอบ 12-15% แม้เผชิญกับวัฏจักร เรื่องต้นทุนก่อสร้างและแรงงานที่ปรับขึ้นก็ตาม (ยกเว้นปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด และส่วนใหญ่เน้นขายสต๊อกพร้อมลดราคา ทำให้ GP ปีดังกล่าวลงมาอยู่ที่ 31- 32% ก่อนเห็นการฟื้นตัวขึ้นในปีถัดไป)

ฝ่ายวิจัยประเมินประเด็นการขึ้นค่าจ้างข้างต้น ยังไม่น่ากังวลเท่าปัญหาอื่น โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มกำลัง  ดอกเบี้ย ไทยระดับสูง และการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของแบงค์ ที่เข้ามากระทบต่อกำลังซื้อ และมีผลเชิงลบต่อยอดขายและโอนฯ ซึ่งมีน้ำหนักกดดันต่อการทำกำไรมากกว่า ประเด็นเรื่องค่าแรง

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสนามบิน : อิงข้อมูลปี 2566  

  •  CENTEL  หรือบมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา    มีค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ของพนักงานราว 5 พันล้านบาท หรือราว 25% ของ OPEX (CGS + SG&A)
  •  ERW  หรือ บมจ. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป  มีค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานราว 1.6 พันล้านบาท หรือ 29% ของ OPEX
  •  MINT   หรือ บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลรายได้กว่า 50% มาจากใน EU ผลกระทบจึงจำกัดกว่ากลุ่ม ฯ
     
  •  AOT   หรือ บมจ. ท่าอากาศยานไทย สัดส่วนพนักงานที่รับค่าแรงขั้นต่ำมีไม่สูง โดยผลต่อโรงแรมไทยอย่าง CENTEL และ ERW เนื่องจากมีการปรับขึ้นสู่ 400 บาท ในจังหวัดท่องเที่ยว ตั้งแต่ 13 เม.ย. 67 ผลกระทบจากการปรับในจังหวัดที่เหลือ 400 บาทต่อวันรอบที่เหลือจึงน้อย

    ประกอบกับพนักงานส่วนใหญ่ในธุรกิจโรงแรมได้รับสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ การขึ้นค่าแรง เป็นต้นทุนของทั้งระบบ ภายใต้แนวโน้มการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย คาดเห็นการส่งผ่านต้นทุนส่วนเพิ่มไปยังค่าห้องพัก (ADR) ทั้งอุตสาหกรรมในช่วง ถัดไป อย่างไรก็ดีธุรกิจร้านอาหาร (สัดส่วนราว 58% ของรายได้ปี 2566) การส่งผ่าน ต้นทุนอาจต้องใช้เวลานานกว่าธุรกิจโรงแรม จากภาวะหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ใน ระดับสูง

    กลยุทธ์การลงทุนหุ้นในกลุ่มฯ ยังคงเลือก AOT(FV@B74) ที่ได้รับประโยชน์มากสุดจากการ ฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย ส่วนกลุ่มโรงแรมให้คำแนะนำ NEUTRAL ทั้ง 3 ตัว แม้ MINT(FV@B35) ทิศทางกำไรปกติงวด 2Q67 จะดีกว่ากลุ่มฯ จาก SEASONALITY ใน EU (ไทยเป็น LOW SEASON) แต่ราคาหุ้น OUTPERFORMED ตลาดพอสมควร จากความคาดหวังกับมหกรรมกีฬาใหญ่ในภาคพื้นยุโรป ทั้ง โอลิมปิก ปารีส (26 ก.ค. –11 ส.ค. 67) และฟุตบอลยูโรที่เยอรมนี (14 มิ.ย. –14 ก.ค. 67) น่าจะสะท้อนไปแล้ว

    อย่างไรก็ตามมองกลุ่มโรงแรมไทยไทยทั้ง CENTEL(FV@B46) และ ERW ([email protected]) ที่มีโมเมนตัม QOQ ต่อเนื่อง 3 ไตรมาส หลังผ่าน LOW SEASON ในงวด 2Q และราคาหุ้นปรับตัวขึ้นช้ากว่า มีความน่าสนใจกว่าในเชิงกลยุทธ์

 

อุตสาหกรรมเช่าซื้อ ฝ่ายวิจัยมองสัดส่วนพนักงานที่มีค่าแรงขั้นต่ำไม่สูง ในทางตรง ข้ามคาดหวังแรงส่งจากการขึ้นค่าแรง หนุนกำลังซื้อในประเทศดีขึ้น บวกต่อทั้งการ ได้รับวงเงินสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้ เลือก MTC (FV@ B51) > TIDLOR(FV@B26) > SAWAD ([email protected]) รวมทั้งกลุ่มบัตรเครดิต อย่าง AEONTS


อุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี  ภาพรวมธุรกิจในอุตสาหกรรมพลังงานไม่ได้อิง กับการใช้แรงงาน โดยโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่จะอิงกับราคาพลังงาน, ค่าเสื่อม ราคา เป็นหลัก ในขณะที่ค่าใช้จ่ายพนักงาน (SG&A) ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายใน รูปแบบของเงินเดือน, โบนัส ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงไม่ได้ส่งผลผลกระทบ โดยตรงอย่างมีนัยฯ ต่อโครงสร้างต้นทุน หรือผลการดำเนินงานบริษัทในกลุ่มนี้

อุตสาหกรรมค้าปลีก คาดได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อ เดือน แต่หากพิจารณาเฉพาะหุ้นกลุ่มพาณิชย์ที่เราศึกษา ส่วนใหญ่จะได้รับ ผลกระทบไม่มากนัก เพราะพนักงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับ จำนวนพนักงานทั้งหมด (มีสัดส่วน 10% - 20%) โดยค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการ ปรับขึ้นค่าแรงจะมีสัดส่วนต่ำกว่า 0.5% ของยอดขายของแต่ละราย นอกจากนี้คาด ผลจากค่าแรงที่สูงขึ้นจะชดเชยได้บางส่วนจากยอดขายที่จะเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป ตาม กำลังซื้อที่มีมากขึ้น

อุตสาหกรรมสื่อสาร ผลกระทบต่อการดำเนินงานของหุ้นในกลุ่ม ICT มีน้อยมาก หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะพนักงานส่วนใหญ่จะได้รับ ผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้ งาน AI ช่วยในการดำเนินงานแทนพนักงานระดับต้นด้วย (เช่นงาน CALL CENTER ของบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ)

อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม   คาดได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเล็กน้อย เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่ แล้ว อีกทั้งยังมีการใช้งานเครื่องจักรอัตโนมัติในโรงงาน ซึ่งช่วยในการดำเนินงานแทน พนัก งานระดับต้นอีก

อุตสาหกรรมการแพทย์  หากดูโครงสร้างต้นทุน ค่าธรรมเนียมแพทย์ ต้นทุนยา มี สัดส่วนเกือบ 70% ดังนั้นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกระทบต่อกลุ่มโรงพยาบาลจำกัด เพราะบุคคลากรทางการแพทย์ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว มอง ในทางตรงกันข้ามการขึ้นค่าแรงจะส่งผลเชิงบวกทางอ้อมจากความสามารถในการ บริโภคที่เพิ่มขึ้น

สำหรับประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400บาทต่อวัน หากเกิดขึ้นจริง คาดผลกระทบใน แต่ะละอุตสาหกรรมแตกต่างกันออกไป แต่อยู่ในวงจำกัด(ไม่มีนัยฯมากนัก) ดังนั้นหาก ราคาหุ้นตอบสนองต่อประเด็นนี้มากเกินไป ถือเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นพื้นฐาน แข็งแกร่ง

ขณะที่บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)  ระบุว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เป็นผลบวกต่อกลุ่มค้าปลีก-กลุ่ม ICT แต่เป็นผลลบต่อกลุ่มรับเหมาฯ ยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง

โดยจากการศึกษาผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 67 กับประมาณการกำไรปี 67 บนสมมติฐานขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศเริ่ม 1 ต.ค. 67 พบว่ากลุ่มที่ได้ประโยชน์ คือกลุ่มค้าปลีกที่จะสร้าง Upside ต่อประมาณการกำไรปี 67 เฉลี่ย 0.8% และกลุ่ม ICT เป็นบวก 0.4%

ขณะที่กระทบต่อประมาณการกำไรกลุ่มรับเหมาปี 67 เฉลี่ยลดลง -0.3% กลุ่มบรรจุภัณฑ์ -0.9% กลุ่มยานยนต์ -0.5% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง -0.5% แต่เชื่อผู้ประกอบการจะทยอยปรับตัวทำให้ผลกระทบจะน้อยกว่า

ด้านกลยุทธ์การลงทุนแนะหุ้นได้ประโยชน์จากปรับขึ้นค่าแรง ชอบ ADVANC (บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส) จากการขยายตัวของ ARPU ขณะที่ระยะสั้นได้แรงหนุนจากโอกาสปรับประมาณการกำไรขึ้น หลังงบ 1Q67 ออกมาดีกว่าคาด 20% และ OSP ที่การขึ้นค่าแรงหนุน กำลังซื้อกลุ่มลูกค้า Lower Income ขณะที่คาดกำไรปี 67 ขยายตัวตามยอดขายและอัตรากำไรที่ดีขึ้นจากประโยชน์ต้นทุนค่าไฟและก๊าซธรรมชาติลดลง

 

logoline