svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

16 เมษา 17 ปี สังหารหมู่ “อาจารย์-นักศึกษา” มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย

15 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

16 เมษายน 2550 ย้อน 17 ปี เหตุสะเทือนขวัญ สังหารหมู่ “อาจารย์-นักศึกษา” มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค สหรัฐอเมริกา

วันนี้ เมื่อ 17 ปีก่อน เกิดเหตุ "สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคน" ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ก่อเหตุคือ นายโช ซึงฮึย วัย 23 ปี นักศึกษาชาวเกาหลีใต้ในมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค เขากราดยิงหลายนัด มีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 33 คน รวมทั้งมือปืนด้วย และบาดเจ็บอย่างน้อย 29 คน

กราดยิงในสถานศึกษาครั้งร้ายแรงที่สุดในสหรัฐอเมริกา 

เหตุกราดยิงในสถานศึกษาครั้งนี้ นับเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในสหรัฐอเมริกา มากกว่ากรณีที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ ในรัฐโคโลราโด ที่มีผู้เสียชีวิต 15 คน และการสังหารหมู่ที่ มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน ที่มีผู้เสียชีวิต 16 คน รวมผู้ก่อเหตุ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2509 

และเป็นเหตุการณ์ยิงพลเรือนที่ร้ายแรงเป็นอันดับที่สาม ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ รองจากเหตุกราดยิงที่เทศกาลดนตรีในเมืองลาสเวกัส เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ที่มีผู้เสียชีวิต 59 คน และเหตุกราดยิงใน พัลส์ ไนต์คลับ ในเมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 50 คน

ลำดับเหตุการณ์ 

เมื่อเวลาประมาณ 07:15 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีผู้ก่อเหตุซึ่งเป็นชาย ใช้อาวุธปืนบุกเข้าไปยิงภายในบริเวณมหาวิทยาลัยและหอพักนักศึกษา สังหารผู้คนไปทั้งสิ้น รวม 33 รายคนร้ายด้วย

หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สั่งปิดประตูทางเข้าออกทั้งหมด และยกเลิกการเรียนการสอนทั้งหมด ส่วนตัวมือปืนนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า อยู่ในกลุ่มผู้เสียชีวิตด้วย แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ฆ่าตัวตายหรือถูกผู้อื่นฆ่าตาย รวมทั้งสาเหตุที่ก่อเหตุสะเทือนขวัญขึ้นมา นับเป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ในสถานศึกษาครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันก่อนที่จะถึงวันครบรอบเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เมืองโคลัมไบน์ รัฐโคโลราโด เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2542

เมื่อสถานการณ์สงบลง เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน เเละเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า ผู้ก่อเหตุคือนาย โช ซึงฮึย นักศึกษาปีสุดท้าย ที่ใช้ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ Glock ขนาด 9 มม. สองกระบอก พร้อมซองกระสุนสำรอง กราดยิงนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ส่งผลให้เหตุการณ์นี้เป็นการสังหารหมู่ในสถานศึกษาที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในสหรัฐฯ เเม้ว่าการสังหารหมู่ในสถานศึกษาจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในสหรัฐฯ เเต่ก็ไม่มีครั้งใดที่มีจำนวนผู้บาดเจ็บเเละเสียชีวิตมากเท่านี้

แรงจูงใจนักศึกษาผู้ก่อเหตุ

การสืบหาแรงจูงใจของนักศึกษาผู้ก่อเหตุ เริ่มจากการสัมภาษณ์เพื่อนร่วมหอพัก อาจารย์ที่สอนวิชาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เเละบุคคลเเวดล้อมเท่าที่จะหาได้

พบผู้ก่อเหตุมีอาการทางจิต

ผลการค้นพบเเทบจะบ่งชี้ได้ทันทีว่า นักศึกษาคนนี้มีความผิดปกติบางอย่าง เนื่องจากเขาเป็นคนเก็บตัว ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ไม่พูดคุยกับใคร เเละมักเขียนความเรียงที่ระบุถึงความรุนเเรง ต่อต้านสังคม เเละเหยียดนักศึกษาที่ฐานะร่ำรวยเเละเหยียดผู้หญิง จนอาจารย์ผู้สอนต้องเเนะนำให้ไปพบที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต เเละรับประทานยาต้านอาการซึมเศร้า ส่วนเพื่อนๆ เองก็วิตกกังวลว่า เขาจะก่อเหตุรุนเเรงเช่นนี้สักวัน

อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงวัฒนธรรมปืนในสหรัฐและกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงว่าด้วยความรุนแรงจากปืน, กฎหมายควบคุมปืน, ช่องโหว่ในระบบการรักษาสุขภาพจิตในสหรัฐ, สภาวะจิตใจของผู้ก่อเหตุ, ความรับผิดชอบของผู้บริหารเวอร์จิเนียเทก กฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัว, จริยธรรมในการทำข่าว และปัญหาอื่นอีกมากมาย หน่วยงานข่าวที่ออกอากาศบางส่วนของประกาศเจตจำนงในรูปมัลติมีเดียของโชถูกวิจารณ์โดยครอบครัวของเหยื่อ, หน่วยบังคับใช้กฎหมายของรัฐ และสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

logoline